วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ช้อนสำหรับผู้ป่วยพากินสัน




                             ช้อนสำหรับผู้ป่วยพากินสัน 

           Liftware Spoon

                     spoons


        สำหรับโรคพาร์กินสันเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ คนไทยเรียก สั่นสันนิบาต หรือ สันนิบาตลูกนก โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่รู้จักกันครั้งแรกในวงการแพทย์ในปี พ.ศ. 2360 โดยนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ชาวอังกฤษ เป็นผู้รายงานโรคพาร์กินสันเป็นคนแรก 

     โรคพาร์กินสันเกิดจากการเสียสมดุลของสารโดปามีนในสมอง เซลล์สมองส่วนที่สร้างโดปามีนตายไปมากกว่าร้อยละ 80 โดปามีนเป็นสารเคมีในสมอง ทำหน้าที่ควบคุมระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสมองขาดโดปามีน จึงเกิดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติขึ้น
                                                              

     tremor_illustration 400 pixels
  
                 ด้วยความก้าวไกลของเทคโนโลยี ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คนปกติอย่างเราๆใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้นแล้ว ก็ยังมีเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการสั่นเกร็ง ซึ่งจะทำให้ร่างกายบางส่วน (โดยเฉพาะมือ) สั่นจนไม่สามารถควบคุมได้ให้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขอีกด้วย
  
              Lift Labs ผู้ผลิต Liftware Spoon ช้อนสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน ซึ่งจะช่วยให้การตักอาหารเข้าปากของผู้ป่วยนั้นไม่สั่นอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า “Active Cancellation of Tremor” ซึ่งเป็นการนำเอาเทคโนโลยี Noise Cancellation หรือการลดเสียงรบกวนในหูฟังมาขยายให้ใหญ่ขึ้น เพื่อลดการสั่นของช้อน ผ่านฮาร์ดแวร์ที่อยู่ตรงปลายช้อน

                                                              


            2013-08-24-02
โดยเมื่อตัวช้อนเกิดอาการสั่นจากมือของผู้ป่วย ระบบจะทำการดันช้อนไปยังทิศทางตรงข้ามเพื่อลดแรงสั่นนั่นเอง โดยจากการทดลอง Liftware Spoon ช่วยลดอาการสั่นได้มากถึง 70% เลยทีเดียว แถมยังมีการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยบนแอพพลิเคชั่นสำหรับ iOS และ Android อีกด้วย
  ช้อนอัจฉริยะจากกูเกิล เพื่อผู้ป่วยพาร์กินสันมาแล้ว


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตุ๊กตาดุ๊กดิ๊ก
เอกสารอ้างอิง

พญ.จิราวดี จัตุฑะศรี  .(2558).ช้อนสำหรับผู้ป่วยพากินสัน .

     http://www.bangkokhospital.com/download/living360-07.pdf สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559


ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิพนธ์ พวงวรินทร์ . (2558) . โรคพาร์กินสัน  .http://kanchanapisek.or.th/kp6/Ebook/BOOK34/pdf/book34_8.pdf . สิบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559

    joker-master.(2558).Liftware Spoon ช้อนสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันลดการสั่นได้ถึง 70% นวัตกรรมที่น่ายกย่อง.https://www.appdisqus.com/2013/09/26/liftware-spoon.html.สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2559



HIV แก้ได้ด้วย CRISPR/Cas9



CRISPR/Cas9 เป็นเทคนิคล่าสุดในการยับยั้งยีนที่ไม่ต้องการหรือดัดแปลงไปคล้ายกับการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ และการผสมข้ามสายพันธุ์ของดีเอ็นเอส่วนที่คล้ายกัน (homologous recombination) โดยใช้โมเลกุลอาร์เอนเอ (RNA) ในการกำหนดดีเอ็นเอเป้าหมาย แล้วทำการตัดต่อให้เป็นลำดับพันธุกรรมใหม่เพื่อนำเข้าไปในจีโนมเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ
CRISPR ย่อมาจาก Clustered Regularly Interspaced Short Palindromic Repeats ซึ่งเป็นตำแหน่งของนิวคลีโอไทด์ที่จัดเรียงตัวแบบพิเศษ โดยแบ่งเป็นสองบริเวณ บริเวณแรกเป็นนิวคลีโอไทด์ที่มีขนาดสั้นๆ เป็นบริเวณอนุรักษ์  (conserve) ที่มีการเรียงตัวซ้าๆ กัน เรียกว่า direct repeat ลำดับนิวคลีโอไทด์มีลักษณะเป็น palindrome ทำให้สาย RNA ที่ถอดรหัสจากบริเวณของ direct repeat สามารถจับกันเองเป็นโครงสร้างทุติยภูมิในลักษณะของ hairpin loop ได้ บริเวณที่สองเป็นนิวคลีโอไทด์ที่มีความหลากหลาย (variable) ไม่ซ้ำกัน เรียกว่า spacer โดย spacer มีลักษณะคือ repeat—spacer—repeat พบว่าแบคทีเรียมีกลไกที่นำเอาชิ้นส่วน DNA บางส่วนของฟาจหรือ พลาสมิดเข้าไปแทรกอยู่ในบริเวณ direct repeat โดยชิ้นส่วน DNA ที่นำเข้าไปเปรียบได้กับเป็นหน่วยความจำ (memory card) ที่แบคทีเรียใช้จดจำชนิดของฟาจที่เคยบุกรุกเข้ามา เมื่อมีการบุกรุกของฟาจหรือได้รับพลาสมิดชนิดเดิมกลับเข้ามา กลไกของ CRISPR จะสร้าง CRISPR–RNA (crRNA) ออกมาและไปทำลายฟาจหรือพลาสมิดนั้นอย่างจำเพาะ ซึ่งกลไกลดังกล่าวคล้ายกับ RNAi ที่พบใน eukaryotic cells

กลไกการทำงานของ CRISPR นั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนแรกเรียกว่า “adaptation” หรือ “immunization” เป็นกระบวนการนำชิ้นส่วน DNA ของฟาจหรือพลาสมิดเข้าสู่ในบริเวณ CRISPR กระบวนการนี้อาศัยโปรตีน Cas 1 และ 2 โดยโปรตีน Cas จะเป็นตัวรับรู้ลำดับนิวคลีโอไทด์ที่จำเพาะของฟาจ เรียกว่า Protospacer Associated Motif (PAM) ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณ protospacer ที่จะถูกตัดและนำเข้าไปต่อใน CRISPR ทางด้านปลายของ  leader เสมอ ดังนั้นลำดับของ spacer ที่พบจึงสามารถบ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของการได้รับ spacer นั้นได้ ขั้นตอนที่สอง คือ “CRISPR expression” เป็นการแสดงออกของ CRISPR โดยลำดับนิวคลีโอไทด์ทั้งหมดของ CRISPR จะถูกถอดรหัส (transcription) เป็น RNA เรียกว่า pre-crRNA จากนั้น pre-crRNA จะถูกโปรตีน Cas บางตัวที่มีคุณสมบัติเป็นเอนไซม์ endoribonucleases ที่จำเพาะตัดให้เป็น small CRISPR RNA เรียกว่า crRNA ซึ่งส่วน crRNA จะเป็นบริเวณ spacer ที่มีความจำเพาะกับ DNA ของฟาจ crRNA จับกับโปรตีน Cas และนำพาโปรตีน Cas  เข้าไปจับกับ DNA ของฟาจ และตัดทำลายสาย DNA ของฟาจนั้น เรียกขั้นตอนสุดท้ายนี้ ว่า “CRISPR interference” เนื่องจาก crRNA ทำหน้าที่เป็น silencing RNA จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า prokaryotic silencing RNA (psiRNA)
เชื้อ HIV เป็น RNA virus ซึ่งมีเอนไซม์ reverse transcriptase (RNA dependent DNA polymerase) ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลง RNA ให้เป็น DNA ซึ่งทำให้ไวรัสสามารถสร้าง DNA ได้ เมื่อได้ DNA แล้ว viral DNA นี้จะเข้า incorporate กับ host DNA ได้ “provirus” จากนั้น DNA นี้ก็จะ transcription ได้ออกมาเป็น mRNA ซึ่งก็จะ translation ออกมาเป็น protein ที่จำเป็นของไวรัสต่อไป protein ที่สร้างขึ้นมานี้จะยังไม่สามารถใช้การได้จะต้องถูกตัดแต่งก่อนด้วยเอนไซม์ protease จึงได้ functional protein ที่สมบูรณ์ จากนั้นไวรัสก็จะ assembly และออกไปจากเซลล์ต่อไป
จากเชื้อไวรัสดังกล่าว จึงทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคนิค CRISPR-Cas9 มากำจัด DNA HIV-1 จากกลุ่มยีน T cell ในเซลล์มนุษย์ โดยทำการถอดรหัสเป็น RNA เรียกว่า pre-crRNA แล้วตัดให้เป็น crRNA ที่มีความจำเพาะกับ DNA ของฟาจเพื่อเข้าไปจับและทำลายสาย DNA ของฟาจนั้น เมื่อเซลล์เหล่านี้ได้สัมผัสกับไวรัสที่ถูกกำจัด DNA HIV-1 ออกไปแล้ว เซลล์เหล่านั้นก็ได้รับการป้องกันจากการกลับไปติดเชื้อใหม่ได้

อ้างอิง
Ph.D student candidate. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559. CRISPR-Cas system : Bacterial adaptive
         immunity system. สืบค้นจาก http://noobnim.in.th/crispr-cas-system/.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559. นักวิทยาศาสตร์ตัดเชื้อ HIV ออกจากเซลล์ภูมิคุ้มกัน
        มนุษย์ผ่านเทคนิคใหม่. สืบค้นจาก http://www.vcharkarn.com/vnews/504595.
วิรัตน์ ทองรอด. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559. ยารักษา โรคเอดส์ - AIDS Treatment. สืบค้นจาก    
สุชาติ อุดมโสภกิจ. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559. การปรับแต่งจีโนม (GENOME EDITING) เพื่อการ
        บำบัดรักษา. สืบค้นจาก http://horizon.sti.or.th/node/36.


                                                                                   จัดทำโดย  นางสาวธัญพิชชา  วิชาเจริญ
                                                                                      5701211085 Sec.A

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

ไม้นวดลดปวดกล้ามเนื้อ


ที่มาของนวัตกรรม
โรคปวดกล้ามเนื้อหลังเป็นโรคเรื้อรังที่ก่อให้เกิดความไม่สุขสบาย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง  วิธีการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังมีหลายวิธี เช่น เปลี่ยนท่านอน ประคบด้วยความร้อน รับประทานยาแก้ปวดหลัง ใช้คลื่นความร้อนกระตุ้นเส้นประสาท นวดกดจุด เป็นต้น การบรรเทาอาการปวดโดยการนวดด้วยมือ หรือที่เรียกว่าหัตถบำบัด มีข้อจำกัดคือ แรงของผู้นวดไม่สม่ำเสมอ และเกิดความเมื่อยล้า ดังนั้นทางกลุ่มนักศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
         
     จึงได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ไม้นวดลดปวดกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยนวดบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังซึ่งสามารถกำหนดลงจุดนวดและเพิ่มแรงตามความต้องการได้

     นวัตกรรมนี้ประดิษฐ์จาก เมล็ดมะค่า ซึ่งเมล็ดมะค่ามีสรรพคุณ คือ ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง เป็นยาขับพยาธิ และทำให้ริดสีดวงทวารแห้ง
ดอกและผล
ผลและเมล็ด

ประโยชน์ของไม้นวดลดปวดกล้ามเนื้อ


        การใช้ไม้นวดจากเมล็ดมะค่าจะช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังและไหล่ได้เป็นอย่างดี



วิธีการนวด

  1. นวดตามแนวของกล้ามเนื้อหลังและไหล่ 2 ข้าง
  2นวดแต่ละจุดโดยการค่อยๆ เพิ่มแรงกดจนเริ่มรู้สึกปวดและให้นวดวนไปมาขึ้น-ลง ต่อเนื่องกัน ทั้งหมด 3 รอบ ตามหลังและไหล่ทั้ง 2 ข้าง
  3. เมื่อนวดครบทั้งหมด 3 รอบแล้ว ให้เอามือจับบริเวณที่นวดว่ากล้ามเนื้อเคลื่อนไหวตัวได้ดีหรือไม่
  4. ถ้านวดแล้วกล้ามเนื้อยังหดเกร็งอยู่ควรนวดต่อไปเรื่อยๆ จนกว่ากล้ามเนื้อค่อยๆ คลายตัว

            นวัตกรรมนี้ได้นำไปทดลองใช้กับผู้ที่มารับบริการในคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัยแบบเฉพาะเจาะจงและสมัครใจร่วมทดสอบสิ่งประดิษฐ์ที่มีอาการปวดหลัง จำนวน  20 คน พบว่าระดับความปวดกล้ามเนื้อก่อนการทดลองใช้สิ่งประดิษฐ์อยู่ในระดับปานกลาง หลังการใช้สิ่งประดิษฐ์ระดับความปวดลดลงอยู่ในระดับเล็กน้อยร้อยละ  80 และไม่ปวดเลยอยู่ในระดับร้อยละ 80

ข้อห้ามและข้อควรระวังสำหรับการนวด

   1. ในผู้ที่มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดหรือมีเลือดออกง่ายเพราะจะทำให้เกิดเลือดออกซ้ำตรงบริเวณที่นวด
   2. บริเวณที่มีความผิดปกติของระบบหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดขอด หรือ เส้นเลือดอุดตัน
   3. บริเวณที่มีแผลทียังไม่แห้งสนิทเพราะจะทำให้แผลแยกได้รวมถึงอาจมีการติดเชื้อโรคที่แผล
   4. บริเวณที่มีการอักเสบเพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้น
   5. บริเวณกระดูกหักที่ยังติดไม่ดี ถ้านวดแรงเกินไปอาจทำให้มีการหักซ้ำได้
   6. บริเวณที่เป็นมะเร็ง เพราะเซลล์มะเร็งอาจกระจายไปยังอวัยวะอื่นได้
   7. ห้ามนวดในคนที่มีไข้มากกว่าหรือเท่ากับ 38.5  °C



ข้อดีของการนวด

1.      ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้หายปวดเมื่อย
2.      ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนคล่อง
3.      ข้อต่อกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวคล่องขึ้น ยืดอายุการใช้งาน
4.      อารมณ์และจิตใจ ทำให้ผ่อนคลาย รู้สึกอบอุ่น

ข้อเสียของการนวด

1.      เกิดอาการบวมแดงมากกว่าเดิมในกรณีมีบาดแผลหรือเกิดอุบัติเหตุเจ็บป่วยมา 
2.      อาจทำให้เกิดหลอดเลือดแตก หรืออักเสบ
3.      ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนหลังจากการนวด เช่น โรคความดัน


เอกสารอ้างอิง 

ฟรินน์(2553).มะค่าแต้ สรรพคุณและประโยชน์ของต้นมะค่าแต้ 9 ข้อ. ค้นหาเมื่อเมษายน 2559.จาก  http://frynn.com/มะค่าแต้/

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น(2555)ไม้นวดเมล็ดมะค่า. ค้นหาเมื่อ22 มีนาคม 2559.

Health Beauty. (2558). รวมวิธีแก้อาการปวดหลัง ปวดหลังเรื้อรัง อย่างได้ผล เลือกใช้ได้ตามความพอใจ. ค้นหาเมื่อ 27 มีนาคม 2559. จาก 


Sudarat  Homhual. (2553)มะค่าโมงค้นหาเมื่อ 22 มีนาคม 2559. จาก  

Uastravel(2556)ประโยชน์ของการนวดเพื่อสุขภาพ. ค้นหาเมื่อ 27 มีนาคม 2559. จาก  http://xn--22c9bqhn6b2ce5ci6npa.blogspot.com/2013/01/blog-post_20.html




               จัดทำโดย

นางสาว วรัทยา  ตาดี 5701210453 เลขที่ 17 Sec A

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

เปลี่ยนความกลัวให้กลายเป็นความกล้าในการเจาะเลือดด้วยเครื่อง Vein Viewer (สแกนหาเส้นเลือด)



เปลี่ยนความกลัวให้กลายเป็นความกล้าในการเจาะเลือดด้วยเครื่อง Vein Viewer (สแกนหาเส้นเลือด)

ในอดีต-ปัจจุบัน การเจาะเลือดยังใช้สายรัดแขน (Tourniquets) เหนือบริเวณที่ข้อศอก 2-3 นิ้ว เพื่อหาตำแหน่งที่จะเจาะเลือด วิธีนี้อาศัยความชำนาญและประสบการณ์ของผู้เจาะ หากผู้เจาะไม่ชำนาญหรือขาดประสบการณ์จะทำให้ผู้ป่วยเจ็บหลายตำแหน่ง สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ดิ้นและร้องไห้ก็ทำให้การเจาะเลือดเป็นไปอย่างลำบาก ส่วนผู้สูงอายุบางรายเส้นเลือดหายาก หากมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยในการค้นหา / สแกนหาเส้นเลือดได้ก็จะประหยัดเวลา และลดการเจาะเลือดหลายครั้งได้ ดังนั้น Memphis-based company Christie Medical Holdings จึงคิดค้นเครื่องสแกนหาเส้นเลือดขึ้นมา โดยดัดแปลงและมีการใช้งานคล้ายเครื่อง X- ray ที่ใช้ในทางการแพทย์



เครื่องสแกนนี้รูปทรงสี่เหลี่ยมมีด้ามจับ ใช้รังสีอินฟาเรด (แสงสีเขียว) ในการสแกนหาเส้นเลือดโดยไม่ต้องปรับตั้งค่าเครื่องสแกน สามารถใช้ได้นานประมาณ ชั่วโมงโดยไม่ต้องชาร์ตแบตเตอร์รี่ เครื่องจะไม่สัมผัสกับผิวหนังของผู้ป่วย สามารถหาเส้นเลือดที่อยู่ลึกได้โดยสามารถปรับระดับในการค้นหาได้ 3 ระดับ


การใช้เครื่อง Vein Viewer

        เครื่อง Vein Viewer มีหลักการใช้งานคล้ายกับเครื่อง X-ray เมื่อยิงแสงอินฟาเรดซึ่งมีความยาวคลื่น 785 nm. ลงบนผิวหนัง จะมีแสง Near-infrared ซึ่งมีความยาวคลื่น 642 nm (แสงสีเขียว) ทำการตรวจจับกับ Hemoglobin ที่มีออกซิเจนอยู่ จากนั้นระบบจับภาพและตรวจรับภาพจะส่งข้อมูลไปยังระบบประมวลผล เเสงสีเขียวจะฉายให้เห็นภาพของเส้นเลือดซึ่งจะเป็นแบบ Real-time สามารถส่องให้เห็นเส้นเลือดที่มีความลึกได้ถึง 7mm. จากพื้นผิว ซึ่งทำให้เห็นเส้นเลือดได้อย่างชัดเจนก่อนที่จะแทงเข็ม





ข้อดี

1.สามารถใช้หาเส้นเลือดในผู้ป่วยเส้นเลือดเล็ก เส้นเลือดลึก
2.ประหยัดเวลาในการหาเส้นเลือด (สามารถใช้ในผู้ป่วยฉุกเฉินได้)
3.ลดการเจาะเลือดหลายครั้งในรายที่หาเส้นเลือดอยู่ลึก เส้นเลือดมีขนาดเล็ก
4.มีความแม่นยำในการเจาะเลือด
5.ลดความวิตกกังวลในรายที่กลัวการเจาะเลือด

ข้อเสีย
1.เครื่องมีราคาแพง
2.เครื่องมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถพกพาได้






แหล่งอ้างอิง:


สถาบันพลาสติกแห่งประเทศไทย. (2013-2014). นวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์ ‘Vein Viewer’ เราจะไม่ทนเจ็บกับการควานหาเส้นเลือดอีกต่อไป.สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2559. จาก http://medicaldevices.oie.go.th/Article.aspx?aid=3018.

สถาบันพยาบาลเจตนิน. (2013). เจาะเลือดเรื่องง่ายทำได้ครั้งเดียว. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2559. http://www.jetanin.com/th/service/technology_detail/18.




ผู้จัดทำ
นางสาวอริญา ศรีนวน
รหัสนักศึกษา 5701210576 เลขที่24

Sec.A




วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นไฟฟ้า



ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในหัวใจหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่ ความผิดปกติแต่กำเนิดหรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบความผิดปกติของร่างกายที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายผิดปกติ ยาและสารบางชนิด เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน คาเฟอีนที่อยู่ในชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม หรือความเครียดและความวิตกกังวล ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว หรือ Atrial Fibrillation (AF) เป็นต้น


การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ


การใช้ยาควบคุมจังหวะของหัวใจ ช่วยลดความถี่และความรุนแรงได้ แต่ไม่ช่วยให้หายขาด  เช่น ยาแอสไพรินซึ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดจำเป็นต้องกินต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ยาในกลุ่มนี้คือ warfarin หรือ Coumadin ถ้าระดับยาสูงเกินไปอาจทำให้เกิดเลือดออกในอวัยวะต่างๆได้ ยากลุ่ม beta-receptor blockers ผู้ป่วยที่ใช้ยาบางรายอาจมีอาการอ่อนแรงหรือความรู้สึกทางเพศลดลง เป็นต้น
การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) เป็นการฝังเครื่องมือเล็กๆ ไว้ใต้ผิวหนังบริเวณกระดูกไหปลาร้า เพื่อตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจ และสอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจเพื่อควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้นตามอัตราที่กำหนด ความเสี่ยงในการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะค คือ การใส่และวางสายในห้องหัวใจอาจทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ส่วนใหญ่ ไม่รุนแรงและเป็นเพียงชั่วคราวระยะสั้นระหว่างการวางสายนำสัญญาณ ในผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงหัวใจโตหัวใจล้มเหลว โอกาสเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะมีมากขึ้นเล็กน้อย
การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator) เป็นการฝังเครื่องมือคล้ายกับเครื่องกระตุ้นหัวใจ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ (ventricular fibrillation) ซึ่งอาจอันตรายต่อชีวิต โดยเมื่อหัวใจเต้นช้า เครื่องมือจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นหัวใจ แต่เมื่อหัวใจเต้นเร็ว เครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้าในระดับที่เหมาะสมเพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นปกติทันทีต้องทำการผ่าตัดฝังเครื่องและสายเข้าในตัวคน  
       ข้อเสียของการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจคือ แม้จะเป็นการผ่าตัดเล็ก อาศัยยาชาเฉพาะที่และยานอนหลับหรือยาสลบอ่อนๆ แต่การผ่าตัดอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ เช่น ปัญหาเลือดออก การติดเชื้อ โดยเฉพาะสิ่งที่ใส่เข้าไปเป็นสิ่งแปลกปลอมต่างจากธรรมชาติ แพทย์จึงต้องให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว อาจมีอาการหัวใจล้มเหลวมากขึ้น หรือหัวใจเต้นผิดปกติระหว่างการใส่สายขั้วไฟฟ้าเข้าไปในหัวใจ สายที่ใส่นี้กว่าจะเข้าที่ต้องใช้เวลา รอให้เกิดพังพืดขึ้นมาหุ้มยึดไว้ ดังนั้นในระยะแรกที่ใส่สายจึงอาจเลื่อนหลุดจากตำแหน่ง ทำให้การทำงานของเครื่องผิดพลาดได้ อาจต้องผ่าตัดซ้ำเพื่อเลื่อนตำแหน่งสายให้เหมาะสม 


               ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จึงได้นำวิธีการรักษาแนวทางใหม่ที่เรียกว่า CFAE Ablation (Complex Fractionated Atrial Electrogram) หรือ การจี้ไฟฟ้าหัวใจบริเวณที่มี complex fractionated atrial electrogram มาใช้ในการรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเต้นพริ้ว โดย นพ.กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก  ริม ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา และอายุรแพทย์โรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยากระแสไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ พร้อมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจได้รักษาผู้มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้



 ในการจี้ไฟฟ้าหัวใจบริเวณที่มี complex fractionated Atrial Electrogram หรือ CFAE ablation นำเทคโนโลยี 3 – Dimension electroanatomical mapping มาใช้ในการจำลองภาพ 3 มิติของหัวใจ และใช้ระบบแสดงภาพของ CARTO และ CARTO-SOUND ซึ่งเป็นระบบอัลตราซาวนด์ในการสร้างภาพกราฟฟิค 3 มิติ ทำให้แพทย์เห็นโครงสร้างของหัวใจและตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติได้อย่างชัดเจน ในการจี้จะต้องใส่สายสวนชนิดพิเศษเข้าไปจี้จุดกำเนิดคลื่นหัวใจที่ซับซ้อนหรือวงจรการเต้นผิดปกติในห้องหัวใจ โดยใช้คลื่นวิทยุจี้ทำลายจุดกำเนิดนั้นๆ มีผลให้การนำไฟฟ้าที่ผิดปกติขาดจากกัน 
การจี้ไฟฟ้าหัวใจบริเวณที่มี complex fractionated Atrial Electrogram หรือ CFAE ablation จะใช้ในการรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดปกติ (SVT) หัวใจสั่นพริ้ว (AF) Flutter หัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ (VT) ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายที่สุดและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตกะทันหันได้ อีกทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงในการรักษาและช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น 



ข้อดี
ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและสามารถทำลายวงจรไฟฟ้าที่ผิดปกติภายในหัวใจให้หายขาดได้อย่างถาวรได้โดยไม่ต้องกินยา


ข้อเสีย

ตำแหน่งของความผิดปกติอาจมีได้หลายตำแหน่ง ถ้าหากยังตรวจไม่พบอาจต้องจี้รักษาครั้งที่สอง




อ้างอิง

ฐานเศรษฐกิจ.(2558). ‘CFAE Ablation’ รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะเทคนิคใหม่ที่รพ.บำรุงราษฎร์.  [ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก http://www.thansettakij.com/2015/09/10/10701.สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559
ไทยรัฐออนไลน์.(2559). นวัตกรรมใหม่ "คลื่นไฟฟ้าจี้หัวใจ" รักษาภาวะเต้นผิดจังหวะแม่นยำ. [ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก : http://www.thairath.co.th/content/135751สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2559
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (ม.ป.ป.). ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ. [ออนไลน์]. 
       เข้าถึงได้จาก : https://www.bumrungrad.com/th/arrhythmia-treatment- center-bangkok-thailand/arrhythmia. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (ม.ป.ป.). Cardiac Electrophysiology Lab (EP Lab). [ออนไลน์]. 
       เข้าถึงได้จาก : https://www.bumrungrad.com/th/arrhythmia-treatment-center-bangkok-thailand/procedures/cardiac-electrophysiology-ep-lab. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559
สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม. (ม.ป.ป.). นวัตกรรมการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ.[ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokhospital.com/pacific-rim/index_th.php? Treatment-Options. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2559



จัดทำโดย นางสาวพลอยไอริณ แก้วมีศรี