วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

ตัดเย็บริดสีดวงอัตโนมัติ ปลอดภัย ไร้แผลภายนอก ด้วยเครื่อง PPH (Procedure for Prolapse and Hemorrhoid)


ริดสีดวงทวาร เกิดจากการที่หลอดเลือดดำหรือเนื้อเยื่อรอบทวารมีความดันสูงทำให้หลอดเลือดมีการโป่งพองออก โดยเฉพาะเมื่อเวลาเบ่งอุจาระ โรคนี้มักเกิดกับผู้ที่มีลักษณะนิสัยการถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง  ไม่ออกกำลังกาย ทำให้ลำไส้ขยับตัวน้อย รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย มีการเพิ่มของความดันภายในช่องท้องเป็นเวลานาน หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีครอบครัวเป็นโรคริดสีดวงทวาร ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไป โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน เส้นเลือดบริเวณทวารหนักไม่มีลิ้น รวมทั้งคนที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

การรักษาริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงทวารสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการดูแลตนเองตนเอง ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว อาจให้ยาระบายเมื่อมีอาการท้องผูก รักษาอาการท้องเสีย และการได้รับยาระงับอาการ ได้แก่ ยาสอดทวารหนัก ยาขี้ผึ้งทาทวารหนัก และยารับประทาน แต่ไม่ควรใช้เป็นเวลานานเพราะจะทำให้ร่างกายขับถ่ายเองไม่ได้
นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ การฉีดยาเข้าไปในตำแหน่งที่เลือดออก เพื่อทำให้หัวของริดสีดวงยุบลง ซึ่งมักจะทำในริดสีดวงทวารระยะที่ 1 ซึ่งหัวริดสีดวงจะอยู่ภายในรูทวารหนักและมักมีเลือดออก    การใช้ยางรัด (rubber band ligation) รัดที่โคนหรือหัวของริดสีดวงที่โผล่ออกมา เพื่อให้หัวของริดสีดวงฝ่อและหลุดออกไปได้เอง วิธีนี้จะทำในผู้ที่มีริดสีดวงในระยะที่ 2 ซึ่งหัวริดสีดวงที่อยู่ภายในจะโผล่ออกมาเมื่อถ่ายอุจจาระและหดกลับเองได้
การจี้ริดสีดวงทวารด้วยอินฟาเรด  (infrared photocoagulation) หรือการจี้ริดสีดวงทวารด้วย bipolar coagulation โดยใช้กระแสไฟจี้ติ่งเนื้อให้ไหม้แล้วหลุดออกมาเอง การจี้ทั้ง 2 วิธีนี้สามารถทำได้ในผู้ที่มีริดสีดวงในระยะที่ 1 และ 2 ส่วนวิธีการสุดท้ายคือ การผ่าตัดริดสีดวง (Hemorrhoidectomy) ซึ่งมักทำในผู้ที่มีริดสีดวงในระยะที่ 3 และ 4 หรือเมื่อมีลิ่มเลือดหรือมีการขาดเลือดของริดสีดวงทวาร โดยริดสีดวงระยะที่ 3 จะมีลักษณะหัวริดสีดวงยื่นออกมาหลังถ่ายอุจจาระจะต้องใช้มือดันกลับเข้าไปในทวารหนัก ส่วนระยะที่ 4 หัวริดสีดวงยื่นออกมาใหญ่มากเกินกว่าจะหดกลับได้เอง


ที่มาของเครื่องตัดเย็บอัตโนมัติ (Procedure for Prolapse and Hemorrhoid : PPH)

การผ่าตัดริดสีดวง ระยะที่3และ4สามารถใช้วิธีการผ่าตัดทั่วไป โดยการดึงริดสีดวงกลับเข้าไปในข้างในรูทวาร หรือตัดติ่งเนื้อทิ้ง วิธีนี้จะทำให้มีแผล และเจ็บปวดเมื่อนั่งทับ อาจแสบเมื่อเบ่งถ่ายอุจจาระ ในปัจจุบันจึงมีการนำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการผ่าตัด นั่นก็คือ เครื่องผ่าตัดอัตโนมัติ (Procedure for Prolapse and Hemorrhoid, PPH) ทำงานโดยตัดติ่งเนื้อทวารหนักส่วนเกินและเย็บดึงส่วนที่เหลือขึ้นไปในทวารหนัก โดยผ่าตัดบนเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้เจ็บปวดน้อยลง ลดภาวะแทรกซ้อน และลดระยะเวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาล 

ส่วนประกอบของเครื่อง PPH  ประกอบด้วย


1. เครื่องมือตัดเย็บหัวริดสีดวง 33mm Haemorrhoidal Circular Stapler
2. เครื่องมือที่ใช้ในการร้อยด้าย Suture Threader
3. เครื่อง
มือสอด-ถ่างทวารหนัก Circular Anal Dilator
4. เครื่อง
มือช่วยเย็บ Purse String Anoscope


การทำงานของเครื่องตัดเย็บอัตโนมัติ


1. ใส่เครื่องมือสอดถ่างเข้าไปทางทวารหนักโดยดันติ่งของริดสีดวงกลับเข้าไปในทวารหนักประมาณ 4 เซนติเมตร
2. ใส่เครื่องมือช่วยเย็บเข้าไปตรงกลางของเครื่องสอดถ่างเพื่อดันริดสีดวงอีกด้าน
3. ใช้ด้ายร้อยริดสีดวงอีกด้านแล้วทำอีกข้างเหมือนกันจะได้ด้ายโยงกันทั้งสองข้างและมีปลายด้ายยาวออกมาด้านนอก
4. นำเครื่องช่วยเย็บออก
5. ใส่เครื่องมือตัดเย็บหัวริดสีดวงเข้าไปและหมุนให้หัวของเครื่องตัดเย็บเลยขึ้นไปบนเส้นด้าย
6. ดึงด้ายด้านนอกให้ตึงแล้วติ่งของริดสีดวงข้างในจะเข้าหากัน
7. หมุนหัวเครื่องตัดเย็บริดสีดวงลงมาให้ตัดติ่งของริดสีดวง แล้วนำเครื่องมือออก



ข้อดีของการใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ
1. ตัดริดสีดวงออกได้หมดและทำให้ทวารหนักโล่ง
2. ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบปกติ เพราะตัดในตำแหน่งที่สูงกว่าแนวเส้นประสาทรับความรู้สึกทำให้เจ็บปวดน้อยลง และใช้เวลาน้อยกว่าผ่าตัดปกติ
3. ไม่มีแผลภายนอก ไม่ต้องดูแลแผล และหลังผ่าตัดไม่ต้องแช่ก้นด้วยน้ำอุ่น
4. พักรักษาตัวในโรงพยาบาลไม่นาน ประมาณ 1-2 วัน และกลับบ้านได้เร็วขึ้น
ข้อจำกัดของการใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ
1. รูทวารหนักต้องกว้างพอที่จะใส่เครื่องมือได้
2. ผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อบางกว่า 1.0 มิลลิเมตรหรือหนากว่า 1.5 มิลลิเมตร ไม่สามารถใส่เครื่องตัดเย็บอัตโนมัติได้ เพราะเครื่องมือมีขนาดเดียว
ข้อเสียของการใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ
         1. ถ้าผ่าตัดโดนกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก จะทำให้มีอาการปวดและกลั้นอุจจาระไม่ได้
2. ค่าใช้จ่ายสูง


แหล่งอ้างอิง
เดลินิวส์.  (2010).  เครื่องตัดเย็บริดสีดวงอัตโนมัติ.  สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559
        จาก http://m.dailynews.co.th/
ธเนศ พัวพรพงษ์(ม.ป.ป.).  ริดสีดวงทวารสืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559จาก www.thaiclinic.com

นรสรา วิทยาพิพัฒน์.  (2012).  ผ่าตัดริดสีดวงทวารแบบใหม่ ปลอดภัยไม่ใช้ มีดผ่าตัดแบบเดิม.

        สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559 จาก http://www.phyathai.com/

สยามธุรกิจ.  (2009).  ‘PPH’ นวัตกรรมผ่าตัดสมัยใหม่.  สืบค้นเมื่อ24 มีนาคม 2559,  
        จาก http://www.siamturakij.com

อาณัติ วณิชชากร.  (2016).  การรักษาริดสีดวงแบบใหม่ ปลอดภัย โดยใช้เครื่องตัดเย็บอัตโนมัติ. 

        สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559จาก http://www.mccormick.in.th/

Siamhealth.  (ม.ป.ป.).  ริดสีดวงทวาร Haemorrhoids.  สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559,  
        จาก http://www.siamhealth.net

Siamhealth.  (ม.ป.ป.).  การรักษาโรคริดสีดวงทวาร.  สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2559
        จาก http://www.siamhealth.net


  {จัดทำโดย นางสาวศิริพร แก้วกำเนิด}  


วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

หูฟังกระตุ้นโดปามีน


หูฟังกระตุ้นโดปามีน 

Dopamine Headphone







  • ทำไมต้องมีหูฟังกระตุ้นโดปามีน

         บริษัท  Nervana ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  มีความสนใจที่จะเจาะตลาดใหม่  โดยมุ่งเป้าไปที่ด้านสุขภาพ  และมีประโยชน์ต่อวงการแพทย์  ตลาดอิเล็กทรอนิกส์โดยวาง concept ไว้ว่า  จะผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ง่ายต่อการใช้  ช่วยให้มีความรู้สึกมีความสุขและบำบัดโรคได้อีกด้วยจึงได้คิดค้นอุปกรณ์  อิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อว่า “หูฟังโดปามีน” ถือว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ในด้านสุขภาพ



หูฟังกระตุ้นโดปามีน คือ  หูฟังที่กระตุ้นการหลั่งสารโดปามีนซึ่งสารนี้จะถูกกระตุ้น เมือมีความสุขร่าเริง   กระปี้   กระเป่า โดยมีกลไกการทำงานคือ  หูฟังจะปล่อยคลื่นไฟฟ้าระดับต่ำไปกระตุ้นเส้นประสาท  vagus nerve   หรือเส้นประสาทสมองเส้นที่ 10 ให้หลั่งสาร  dopamine  ออกมาในขณะที่ผู้ใช้กำลังฟังเพลงอยู่  ซึ่งคลื่นไฟฟ้าระดับต่ำนี้เกิดจาก  nirvana generator  ที่เชื่อมต่อกับ  smartphone  และต่อกับหูฟังเข้าไปโดยจะมีแอมเบียท์โหมดที่ใช้เสียงที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นตัวกระตุ้น






ประโยชน์ของหูฟังกระตุ้นปามีน
  • 1.  สามารถใช้ในการบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรคลมชัก
  • 2.  กระตุ้นสมองให้หลั่งสารโดปามีนทำให้มีอารมณ์คึกคัก ร่าเริง ว่องไว  มีสมาธิ
  • 3.  เพิ่มการหลั่ง growth hormone ซึ่งเป็นฮอร์โมนของการเจริญเติบโต




ข้อเสียของหูฟังโดปามีน


  1.          เนื่องจากถ้าได้รับการกระตุ้นจากหูฟังมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการกระตือรือร้นมากกว่าปกติ
  2.     ถ้าฟังมากเกินไปจะมีโดปามีนในสมองมากเกินไป จะทำให้มีอาการ คลุ้มคลั่งหรือมีอาการทางจิตได้


ข้อจำกัดในการใช้ 
                       : ควรใช้ภายใต้ความระมัดระวัง  ไม่ให้เกินระดับที่เครื่องnirvana generator กำหนด    
   
                       : ควรจำกัดเวลาในการฟัง







แหล่งอ้างอิ

นสพ.ไทยรัฐ. (12 กุมภาพันธ์ 2558).แจ่มไปอีก! Nervana headphone  หูฟังทำให้มีสุข.radio.bectero.com/news

นสพ.มติชนรายวัน.(17 กุมภาพันธ์ 2559 ).ริษัทมะกันทำหูฟังกระตุ้นโดปามีน สร้างอารมณ์คึกคัก.www.prachachat.net/news.

BEC CREW.(16 FREBRUARY 2016).This is start up gets you high on Dopamine,No exercise required/Nervana.com.2016

MICHELLE GESLANI.(23 FEBRUARY 2016).Dopamine_releasing headphones will get you high/Nervana.via.futurism.2016.nerdist.com

    Justine Alford.( 24 FEBRUARY 2016).These newheadphone./ceonfsound.net/
these-new-headphone.



จัดทำโดย

นางสาว จิรัชญา ดอนชัย

 5701211030  Sec B เลขที่ 23


ผ้าปิดตาหนูน้อย


ผ้าปิดตาหนูน้อย

ที่มา
ผ้าปิดตาหนูน้อย เป็นการพัฒนาต่อยอดจากผ้าปิดตาทารกที่ได้รับการรักษาภาวะตัวเหลืองโดยการส่องไฟ  โดยใช้ผ้าสำลีเย็บขนาดพอเหมาะสำหรับปิดตาทารกและสอดแผ่นฟิล์มเอ็กซเรย์ไว้ด้านใน โดยใช้สายอิลาสติกที่เป็นขอบหมวกคลุมผมที่ใช้ในห้องคลอด/ห้องผ่าตัด นำมาเย็บติดเป็นสายรัดรอบศีรษะทารก แทนสาย mask ทำให้มีขนาดพอเหมาะกับศีรษะทารก และทารกไม่เจ็บไม่มีรอยแดง

ขั้นตอนการทำ
1. เลือกใช้ผ้าห่อตัวทารกนาโนทำผ้าปิดตาทารก เนื่องจากมีคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดี ดูดซับน้ำ
แห้งเร็ว อ่อนนุ่ม ยืดหยุ่นได้ดี ไม่ระคายเคือง หาง่ายราคาไม่แพง


2. ที่คาดศีรษะ เลือกใช้ EZ NET เนื่องจากมีความยืดหยุ่นได้ดี ไม่ลื่น



3. เย็บบริเวณผ้าปิดตาและที่คาดศีรษะ กะขนาดพอเหมาะกับศีรษะทารก คือขนาด Size S,M,L




Size S = รอบศีรษะ 30 cm


 Size M = รอบศีรษะ 32 cm



Size L = รอบศีรษะ 32 cm


4. ใช้กระดาษแข็งสอดใส่ด้านใน โดยต้องทดสอบว่าไม่มีแสงผ่านได้ทั้ง 2 ข้าง 


ข้อดี
v ลดการระคายเคืองและรอยแดงบริเวณรอบดวงตาเด็กทารกที่ได้รับการส่องไฟ
v ลดความวิตกกังวลและเกิดความพึงพอใจแก่ญาติ
v ทารกไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการส่องไฟ
v สะดวกในการใช้งาน
v เลื่อนหลุดน้อย
v ใช้ได้กับศีรษะเด็กทุกขนาด
v เป็นการใช้วัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาปรับปรุงให้เป็นวัสดุที่ใช้ได้ใหม่ ลดขยะ และลดภาวะโลกร้อน
v ขั้นตอนในการทำไม่ยุ่งยาก/ทำได้เอง ต้นทุนต่ำ

ข้อเสีย
v ยังมีการเลื่อนหลุดอยู่บ้าง ในทารกที่บริเวณด้านหลังของศีรษะโหนกมากๆ

อ้างอิง
งานการพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรมพิเศษ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. (2556). นวัตกรรมดวงตาสดใสจากการส่องไฟ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.hospital.tu.ac.th/PlanTUHosWeb/data/Project%20CQI/CQI_2556/56_021.pdf. 11 มีนาคม 2559
ผลงานเด่น/นวัตกรรม งานห้องคลอด โรงพยาบาลบ้านเขว้า. (2557). การประดิษฐ์ผ้าปิดตาทารกเพื่อการส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลืองโดยใช้ประโยชน์จากวัสดุที่ใช้แล้ว. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://cpho.moph.go.th/wp/?p=20536. 11 มีนาคม 2559
ห้องคลอด โรงพยาบาลประทาย. (2557). แว่นตาสดใส. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://file.siam2web.com/pratry2552/files%5Bdocument%5D/2014612_52862.pdf. 11 มีนาคม 2559
หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม. (...). การปรับปรุงคุณภาพผ้าปิดตาป้องกันตาจากแสงในทารกแรกเกิดที่ไดรับการสองไฟเพื่อการรักษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.nkp-hospital.go.th/institute/1-3/work.php. 11 มีนาคม 2559

จัดทำโดย  นางสาวกันตา  พุ่มตระกูล