วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

ไม้นวดลดปวดกล้ามเนื้อ


ที่มาของนวัตกรรม
โรคปวดกล้ามเนื้อหลังเป็นโรคเรื้อรังที่ก่อให้เกิดความไม่สุขสบาย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง  วิธีการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังมีหลายวิธี เช่น เปลี่ยนท่านอน ประคบด้วยความร้อน รับประทานยาแก้ปวดหลัง ใช้คลื่นความร้อนกระตุ้นเส้นประสาท นวดกดจุด เป็นต้น การบรรเทาอาการปวดโดยการนวดด้วยมือ หรือที่เรียกว่าหัตถบำบัด มีข้อจำกัดคือ แรงของผู้นวดไม่สม่ำเสมอ และเกิดความเมื่อยล้า ดังนั้นทางกลุ่มนักศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
         
     จึงได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ไม้นวดลดปวดกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยนวดบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังซึ่งสามารถกำหนดลงจุดนวดและเพิ่มแรงตามความต้องการได้

     นวัตกรรมนี้ประดิษฐ์จาก เมล็ดมะค่า ซึ่งเมล็ดมะค่ามีสรรพคุณ คือ ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง เป็นยาขับพยาธิ และทำให้ริดสีดวงทวารแห้ง
ดอกและผล
ผลและเมล็ด

ประโยชน์ของไม้นวดลดปวดกล้ามเนื้อ


        การใช้ไม้นวดจากเมล็ดมะค่าจะช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังและไหล่ได้เป็นอย่างดี



วิธีการนวด

  1. นวดตามแนวของกล้ามเนื้อหลังและไหล่ 2 ข้าง
  2นวดแต่ละจุดโดยการค่อยๆ เพิ่มแรงกดจนเริ่มรู้สึกปวดและให้นวดวนไปมาขึ้น-ลง ต่อเนื่องกัน ทั้งหมด 3 รอบ ตามหลังและไหล่ทั้ง 2 ข้าง
  3. เมื่อนวดครบทั้งหมด 3 รอบแล้ว ให้เอามือจับบริเวณที่นวดว่ากล้ามเนื้อเคลื่อนไหวตัวได้ดีหรือไม่
  4. ถ้านวดแล้วกล้ามเนื้อยังหดเกร็งอยู่ควรนวดต่อไปเรื่อยๆ จนกว่ากล้ามเนื้อค่อยๆ คลายตัว

            นวัตกรรมนี้ได้นำไปทดลองใช้กับผู้ที่มารับบริการในคลินิกแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัยแบบเฉพาะเจาะจงและสมัครใจร่วมทดสอบสิ่งประดิษฐ์ที่มีอาการปวดหลัง จำนวน  20 คน พบว่าระดับความปวดกล้ามเนื้อก่อนการทดลองใช้สิ่งประดิษฐ์อยู่ในระดับปานกลาง หลังการใช้สิ่งประดิษฐ์ระดับความปวดลดลงอยู่ในระดับเล็กน้อยร้อยละ  80 และไม่ปวดเลยอยู่ในระดับร้อยละ 80

ข้อห้ามและข้อควรระวังสำหรับการนวด

   1. ในผู้ที่มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดหรือมีเลือดออกง่ายเพราะจะทำให้เกิดเลือดออกซ้ำตรงบริเวณที่นวด
   2. บริเวณที่มีความผิดปกติของระบบหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดขอด หรือ เส้นเลือดอุดตัน
   3. บริเวณที่มีแผลทียังไม่แห้งสนิทเพราะจะทำให้แผลแยกได้รวมถึงอาจมีการติดเชื้อโรคที่แผล
   4. บริเวณที่มีการอักเสบเพราะจะทำให้อักเสบมากขึ้น
   5. บริเวณกระดูกหักที่ยังติดไม่ดี ถ้านวดแรงเกินไปอาจทำให้มีการหักซ้ำได้
   6. บริเวณที่เป็นมะเร็ง เพราะเซลล์มะเร็งอาจกระจายไปยังอวัยวะอื่นได้
   7. ห้ามนวดในคนที่มีไข้มากกว่าหรือเท่ากับ 38.5  °C



ข้อดีของการนวด

1.      ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้หายปวดเมื่อย
2.      ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนคล่อง
3.      ข้อต่อกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวคล่องขึ้น ยืดอายุการใช้งาน
4.      อารมณ์และจิตใจ ทำให้ผ่อนคลาย รู้สึกอบอุ่น

ข้อเสียของการนวด

1.      เกิดอาการบวมแดงมากกว่าเดิมในกรณีมีบาดแผลหรือเกิดอุบัติเหตุเจ็บป่วยมา 
2.      อาจทำให้เกิดหลอดเลือดแตก หรืออักเสบ
3.      ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนหลังจากการนวด เช่น โรคความดัน


เอกสารอ้างอิง 

ฟรินน์(2553).มะค่าแต้ สรรพคุณและประโยชน์ของต้นมะค่าแต้ 9 ข้อ. ค้นหาเมื่อเมษายน 2559.จาก  http://frynn.com/มะค่าแต้/

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น(2555)ไม้นวดเมล็ดมะค่า. ค้นหาเมื่อ22 มีนาคม 2559.

Health Beauty. (2558). รวมวิธีแก้อาการปวดหลัง ปวดหลังเรื้อรัง อย่างได้ผล เลือกใช้ได้ตามความพอใจ. ค้นหาเมื่อ 27 มีนาคม 2559. จาก 


Sudarat  Homhual. (2553)มะค่าโมงค้นหาเมื่อ 22 มีนาคม 2559. จาก  

Uastravel(2556)ประโยชน์ของการนวดเพื่อสุขภาพ. ค้นหาเมื่อ 27 มีนาคม 2559. จาก  http://xn--22c9bqhn6b2ce5ci6npa.blogspot.com/2013/01/blog-post_20.html




               จัดทำโดย

นางสาว วรัทยา  ตาดี 5701210453 เลขที่ 17 Sec A

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น