วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

สมุนไพร 5 ชนิดพิชิตความดันโลหิตสูง


                 ประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนประชากรที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบจากปี 2544 และปี 2555 พบว่าอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน จะมีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มจาก 156, 442 ราย เป็น 1,009,385 ราย ซึ่งถือว่ามีอัตราการเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่าและในปีต่อๆ มามีประชากรที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นสูงมาก ดังนั้นการดูแลและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เราควรใส่ใจ ซึ่งเราสามารถดูแลและป้องกันง่ายๆหลายวิธีเช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือรับประทานพืชหรือสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ซึ่งหาได้ง่ายตามท้องตลาด ตัวอย่างชนิดพืชสมุนไพรที่หาง่ายๆในบ้านเราดังนี้

ฟ้าทะลายโจร
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
ชื่อสามัญ :   Kariyat , The Creat
วงศ์ :   ACANTHACEAE
ชื่ออื่น :  น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ) ชวงซิมน้อยเจ๊กเกี้ยงฮี่โข่วเซ่า (จีน)
                  จากการทำวิจัยเกี่ยวกับฟ้าทลายโจรของ ดร.นุชนาถ รังคดิลก  นันทนิจ ผลพนา และรศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (CGI) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา พบว่า สารสกัดฟ้าทะลายโจรมีสารกลุ่ม Lactone เช่น  สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) นีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (Neoandrographolide) ดิออกซีแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxyandrographolide) และดิออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (14-Deoxy-11,12-didehydroandrographolide) เป็นต้น  ซึ่งมีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตทำให้หลอดเลือดขยายตัวและลดอัตราการเต้นของหัวใจ
ขนาดและวิธีการใช้
1.ใช้ใบฟ้าทะลายโจรสด 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำนาน 10-15 นาที
2. ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง


ใบบัวบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Centella asiatica (L.) Urban
ชื่อสามัญ :    Asiatic Pennywort, Tiger Herbal
วงศ์ :   Umbelliferae
ชื่ออื่น : “บัวบก” “ผักหนอก”   “ผักแว่น”  “ เตียกำเช้า
          จากงานวิจัยสมุนไพรบัวบก ของ จันทรพร ทองเอกแกว ภาควิชาวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่า สารสกัดที่อยู่ในใบบัวบกคือสารกลุมไตรเทอปนอยดไกลโคไซด (Triterpenoid glycoside) ซึ่งมีฤทธิ์ในการควบคุมระดับความดันโลหิต ทำให้หลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น ช่วยลดความเครียดซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ความดันโลหิตสูง
ขนาดและวิธีการใช้
แนะนำให้รับประทานเป็นน้ำจะรับประทานง่าย
1.นำใบบัวบกมาล้างให้สะอาด แช่น้ำยาล้างผักแล้วล้างน้ำสะอาดใส่ตะแกรง
2.นำใบบัวบกที่ล้างสะอาดแล้วใส่ที่ปั่น ใส่น้ำสะอาดที่ใช้ดื่มลงไปพอท่วมใบบัวบกปั่นให้ละเอียด 
3.กรองกากใบบัวบกด้วยผ้าขาวบาง บีบน้ำใบบัวบกใส่ภาชนะ
4.กรอกน้ำใบบัวบกที่กรองแล้วลงในขวดเปล่าที่ล้างสะอาด ใส่น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี 1-2 ช้อนโต๊ะ ไม่ควรหวานมาก เขย่าให้น้ำตาลละลายในน้ำใบบัวบกตั้งทิ้งไว้
5.นำน้ำใบบัวบกที่บรรจุขวดดังกล่าวใส่ตู้เย็น ควรดื่มให้หมดใน 2-3 วัน ไม่ควรเก็บไว้นาน

กระเจี๊ยบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hibiscus sabdariffa  L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ :  Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ  กระเจี๊ยบเปรี้ย  ผักเก็งเค็ง  ส้มเก็งเค็ง  ส้มตะเลงเครง
          จากงานวิจัยการพัฒนายาเม็ดจากสารสกัดกระเจี๊ยบแดงเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของ รศ.ดร.อรุณพร อิฐรัตน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่ากระเจี๊ยบแดงสามารถปรับความดันในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในระยะปานกลาง คือต่ำกว่า 160 มิลลิเมตรปรอทให้อยู่ในระดับปกติ
ขนาดและวิธีการใช้
1.นำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้ง
2.บดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา  (หนัก 3 กรัม)
3.ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง


ใบกะเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum sanctum
ชื่อสามัญ :  Holy basil, Sacred basil  
วงศ์ :  LABIATAE
ชื่ออื่น :  กะเพราแดง กะเพราขาว (ภาคกลาง) ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อดำ (เชียงใหม่-ภาคเหนือ) ห่อตูปลู ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่อ่องสอน)
          จากงานวิจัยกะเพรากับการต้านอนุมูลอิสระของสุกัญญา เขียวสะอาด กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ พบว่ากะเพราเป็นแหล่งของวิตามินซีเบต้าแคโรทีน และสารประกอบฟีนอลิกรวมถึงสารฟลาโวนอยด์หลายชนิด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าสารเหล่านี้มีบทบาทสําคัญในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสารอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโลความดันโลหิตสูง
ขนาดและวิธีการใช้
1. นำใบกระเพรา ไปตากแห้งประมาณ 1-2 วัน
2. นำใบกระเพรามาป่นเป็นผง นำผงใบกระเพรามาทำชาจำนวน 1 ช้อนชาน้ำร้อนปริมาณ 1 ถ้วยดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร 5 – 10 นาที
3. กินสดๆ เป็นผัก ในการรับประทานอาหาร วันละ 2 ใน 3 มื้อ มื้อละ 5 – 10 ยอด ต่อเนื่องกัน 
4. แคปซูลกระเพรา ควรรับประทานวันละ 2.5 กรัมต่อวัน หรือน้ำมันกระเพรา 2-5 หยด ต่อวัน

ข้อควรปฏิบัติ ควรบริโภคต่อเนื่องกัน อย่างน้อย 1 เดือนจึงจะเห็นผล
ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้กะเพรา ในคนท้องและหญิงให้นมบุตร

กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Allium sativum L.
ชื่อสามัญ :   Common Garlic , Allium ,Garlic ,
 วงศ์ :   Alliaceae
ชื่ออื่น :  กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียมหอมเทียม (ภาคใต้)
          อาจารย์คาริน รีด อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอเดเลด ออสเตรเลีย ค้นพบว่า สารAllicinที่สกัดได้จากกระเทียมมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แต่แนะนำให้เป็นหัวกระเทียมแก่เนื่องจากกระเทียมแก่มีฤทธิ์ที่แรงกว่า
ขนาดและวิธีการใช้
การรับประทานสำหรับความดันโลหิตสูง
1.กระเทียมสกัด Garlic extracts 600-1200 mg แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
2.กระเทียมผงซึ่งมี 1.3% alliin
3.กระเทียมเก่า Aged garlic extracts 600 mg to 7.2 grams ต่อวัน
4.กระเทียมเก่าจะมี 0.03% alliin.กระเทียมสด Fresh garlic 4 grams (ประมาณ 1 หัว) วันละครั้ง กระเทียมสดจะมีสาร alliin. 1%

สมุนไพรลดความดันโลหิตสูงทั้งชนิดเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของไทยสามารถหาได้ง่ายและมีสรรพคุณทางยาอีกหลายๆอย่างเช่น ขับลม แก้ท้องเสีย แก้วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามควรรับประทานอย่างระมัดระวังและควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะเริ่มนำสมุนไพรเหล่านี้มาช่วยในการลดความดันโลหิต

แหล่งอ้างอิง
าริน รีด.2558.สมุนไพรไทยกับโรคความดันสูง(ออนไลน์).แหล่งที่มา: http://www.thaihealth.or.th.31 มีนาคม 2559
จันทรพร ทองเอกแกว.2556.บัวบกสมุนไพรมากคุณประโยชน(ออนไลน์).
แหล่งที่มาhttp://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2014031915393365.pdf.31มีนาคม 2559
นุชนาถ รังคดิลก,นันทนิจ ผลพนาและจุฑามาศ สัตยวิวัฒน์.2559.ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata)(ออนไลน์).
แหล่งที่มา: http://www.eht.sc.mahidol.ac.th/article/1818.31 มีนาคม 2559
ปีติ พูนไชยศรี.2554.น้ำสมุนไพร.........ใบบัวบก (ออนไลน์).
แหล่งที่มา: http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book542/health.html.23 มีนาคม 2559
มปป.2557.กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือดกระเจี๊ยบแดง(ออนไลน์).แหล่งที่มา: http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_01.htm.23 มีนาคม 2559 
สุกัญญา เขียวสะอาด.2555.กะเพรากับการต้านอนุมูลอิสระ(ออนไลน์).แหล่งที่มา: www.Tci-thaijo.org%2Findex.php%2Fscience_kmitl%2Farticle%2Fdownload%2F19845%2F17354&usg=AFQjCNHYAN1V6WAUYg8eM_VIgbw6ivjvow&sig2=N7DO394P88o0WrzJkaFFWA.31 มีนาคม 2559
อรุณพร อิฐรัตน์.2556.ยำเม็ดกระเจี๊ยบแดงใช้สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน(ออนไลน์).
แหล่งที่มาhttps://www4.tu.ac.th/images/images/pdf/research/p19.pdf.31มีนาคม 2559
gidanan ganghair.2558.สมุนไพรไทยกับโรคความดันสูง(ออนไลน์).แหล่งที่มา: http://www.thaihealth.or.th.23 มีนาคม 2559  

นางสาวชัชฎาภรณ์  อิกำเหนิด 5701210859 Section. A เลขที่ 34

3 ความคิดเห็น: