''TailGait" วิเคราะห์การเดิน
ความสำคัญ
การวิเคราะห์การเดิน เป็นการประเมินคุณภาพการเดินและการทรงตัวระหว่างการเดิน ที่มีความสำคัญมากต่อการตรวจวินิจฉัย การวางแผนการรักษาฟื้นฟู
และติดตามผลของการรักษา ผู้ป่วยที่มีปัญหาการเดินทุกรายทุกกลุ่มโรค ตั้งแต่ผู้ป่วยเด็กสมองพิการ
ผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเส้นเลือดสมอง ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองและไขสันหลัง
และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมต่างๆ ทั้งนี้
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ
ผศ.นพ.ภาริส วงศ์แพทย์ อาจารย์พิเศษโรงพยาบาลรามาธิบดีและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
จึงได้ร่วมกันวิจัย ออกแบบ และพัฒนาผลงานชิ้นนี้เพื่อตอบโจทย์การวิเคราะห์การเดิน
TailGait เป็นระบบวิเคราะห์การเดินแบบโมดูล่าร์ฯ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
1. ตัวตรวจจับการเคลื่อนไหวของลำตัว
ติดตั้งอยู่ที่สายคาดเอวด้านหลัง
2. ตัวตรวจวัดความเร็วและความเร่งของร่างกายขณะเดิน
3. ตัวตรวจจับเวลาการก้าวเดิน
ติดตั้งอยู่ที่บริเวณรองเท้าทั้งสองข้าง
การนำไปใช้
ผู้ป่วยสามารถสวมใส่พร้อมใช้งานได้ภายใน 5 นาที ข้อมูลต่างๆจะถูกเก็บไว้ภายในแผ่นบันทึกข้อมูลเพื่อทำการประมวลผล ผลงานชิ้นนี้ได้มีการนำไปใช้จริงในผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองและไขสันหลัง
ของโรงพยาบาล 2 แห่งคือ โรงพยาบาลรามาธิบดี
และโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ ผลที่ออกมาคือ แพทย์สามารถวินิจฉัย รักษา และติดตามปัญหาการเดินของผู้ป่วย ที่มีการบาดเจ็บที่สมองและไขสันหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ยังได้รับการยอมรับและนำไปใช้กับสถานพยาบาลของรัฐได้เพิ่มขึ้น
ช่วยรัฐในการประหยัดงบประมาณ
และผู้ป่วยสามารถใช้บริการได้สะดวกขึ้นโดยไม่ต้องเดินทางไกล
ข้อดี
- วัดผลได้อย่างแม่นยำ และเที่ยงตรง
- สามารถเก็บข้อมูลการเดินภาคสนามได้
- ประหยัดและใช้งานง่าย
- มีใช้ในสถานพยาบาลของรัฐในจังหวัดต่างๆ โดยที่ผู้สูงอายุไม่ต้องเดินทางไกล
- ช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับการเดินได้ง่ายขึ้น
ข้อเสีย
- ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ในตัวเครื่อง
อ้างอิง
กานต์ดา บุญเถื่อน.
(2556). วิทยาศาสตร์ยกระดับชีวิต.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2559, จาก
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/533159
ปราการเกียรติ ยังคง. (2559). ระบบวิเคราะห์การเดิน.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2559, จากhttp://www.dailynews.co.th/article/207147
สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร.
(2558). การฟื้นฟูสุขภาพ.
ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2559, จาก
https://kmanamai.wordpress.com
ASTV ผู้จัดการออนไลน์. (2556).
มจธ.พัฒนาระบบช่วยแพทย์วิเคราะห์การเดินของผู้ป่วย. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2559, จาก http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000157267
จัดทำโดย
นางสาวนวพร วงค์คม
5701211016
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น