มหัศจรรย์อัลตร้าซาวด์
iU22 ระบบอัลตร้าซาวด์อัจฉริยะ ที่จะเปลี่ยนโลกของการอัลตร้าซาวด์แบบเดิมๆ โดย iU22 เป็นระบบอัลตราซาวด์แบบ state of
the art คือ ระบบอัลตร้าซาวนด์ที่ได้รับการพัฒนาให้แตกต่างจากระบบอัลตร้าซาวด์แบบเดิม โดย iU22 มีความก้าวหน้าและล้ำสมัย ช่วยให้การอัลตร้าซาวด์มีความละเอียดมากกว่าระบบเดิม
สามารถทำการวินิจฉัยที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ความก้าวหน้าหลังได้รับการพัฒนาของ
iU22 มีดังนี้
Vascular Imaging (การถ่ายภาพหลอดเลือด)การถ่ายภาพหลอดเลือดซึ่งช่วยให้สามารถเห็นรูปแบบ
และสามารถแยกออกได้ชัดเจนระหว่างการไหลเวียนของเลือดในสภาวะปกติภายในหลอดเลือด กับรูปแบบการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ
ซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน
Laminar Flow (การไหลเวียนเลือด)สามารถถ่ายภาพการไหลเวียนเลือดภายในหลอดเลือดแดงได้โดยตรง ร่วมกับการถ่ายรายละเอียดของผนังหลอดเลือดร่วมด้วย
แม้กระทั่งเป็นรายละเอียดของถุงหุ้มข้อไหล่อักเสบยึดติด ก็สามารถตรวจพบได้
Musculoskeletal (กล้ามเนื้อและกระดูก)
ถ่ายภาพโครงสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก
ด้วยความถี่ 17MHz ซึ่งแสดงถึงรายละเอียดของโครงสร้างผิวได้อย่างชัดเจน
SonoCTSonoCT เป็นเทคนิคการถ่ายภาพที่สามารถลบทั้งระยะขอบ
ซีสต์ และเอ็นออกจากภาพเพื่อให้การวินิจฉัยที่ง่ายขึ้น
Widescan และ panorama ช่วยให้การถ่ายภาพมีความครอบคลุมทั้งจุดสำคัญที่ต้องการถ่ายภาพ
และบริเวณรอบๆ
3D and 4D Imaging (ภาพถ่าย 3มิติ และ 4มิติ)
จอภาพ 17 นิ้ว ที่มาพร้อมกับการดูภาพแบบเรียลไทม์ 3มิติ และ 4มิติ ได้ครั้งแรกในห้องปฏิบัติการ
สามารถดูการเคลื่อนไหว และโครงสร้างรอบๆของภาพถ่ายได้
วีดิโอแสดงภาพอัลตร้าซาวด์
ข้อแนะนำในการเตรียมตัวก่อนตรวจ Ultrasound
การเตรียมตัวเพื่อตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)
- งดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีไขมันอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง
การเตรียมตัวเพื่อตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen)
- ทานอาหารได้ตามปกติ
- ก่อนตรวจ 1 ชั่วโมงให้ดื่มน้ำเปล่าประมาณ 1 ขวด และกลั้นปัสสาวะไว้
- รอปวดปัสสาวะเต็มที่ (จะตรวจขณะที่กระเพาะปัสสาวะขยายตัวเต็มที่)
การเตรียมตัวเพื่อตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (Ultrasound KUB System)
- ทานอาหารได้ตามปกติ
- ก่อนตรวจ 1 ชั่วโมงให้ดื่มน้ำเปล่าประมาณ 1 ขวด และกลั้นปัสสาวะไว้
- การตรวจต้องตวรจขณะที่ปวดปัสสาวะมากพอสมควร เพื่อจะได้เห็นกระเพาะปัสสาวะชัดเจน
ข้อดี
1. ปลอดภัยจากรังสี
2. มีความรวดเร็วในการตรวจ และสะดวก
3. ไม่เจ็บปวดระหว่างการตรวจ4. สามารถตรวจได้หลายระนาบ5. มีระบบสีในภาพเพื่อแสดงการเคลื่อนไหวของระบบต่างๆให้ดูเสมือนจริง
ข้อเสีย
ข้อมูลที่ได้จากภาพอัลตร้าซาวด์นั้นสามารถช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยโรคได้มากขึ้น แต่ก็ต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยด้านอื่นๆมาประกอบการวินิจฉัยโรคร่วมด้วย
อ้างอิง
จันทิมา เอื้อตรงจิตต์. 2553. “คู่มือการส่งตรวจ Ultrasound หน่วยรังสีวินิจฉัย
ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.med.cmu.ac.th/dept/radiology/general/Ultrasound.pdf (18 มีนาคม 2559).
โรงพยาบาลพญาไท. 2556. “Ultrasound
IU22 (Intelligent Ultrasound).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/2/31/313/TH (18 มีนาคม
2559).
Community Hospital Anderson. 2559. “Ultrasound.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.communityanderson.com/imaging/ultrasound.asp (18 มีนาคม 2559).
Hamilton Radiology. 2557.
“iU22 Intelligent Ultrasound System.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://hamiltonradiology.co.nz/AboutUs/IntelligentUltrasound.aspx (18 มีนาคม 2559).
Milford Regional. “Intelligent Ultrasound System The Sound Wave of the Future.” [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา http://www.milfordregional.org/care-treatment/diagnostic-imaging/ultrasound/intelligent/ (18 มีนาคม 2559).
จัดทำโดยนางสาว กมลทิพย์ นันทะปารียอง รหัส 5701210927 sec.A เลขที่ 38
ข้อมูลน่าสนใจมากเลยค่ะ
ตอบลบเป็นบล้อคที่ให้ความรู้ได้น่าสนใจดีค่ะ
ตอบลบเป็นความรู้ใหม่ที่ดีมากๆคะ
ตอบลบเป็นความรู้ใหม่ที่น่าสนใจมากครับ
ตอบลบความรู้ใหม่เลยนะคะเนี่ย ดีมากๆค่ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะมีประโยชน์มาก
ตอบลบ