รู้ทันก่อนจะสาย ตรวจมะเร็งเต้านมง่ายๆ ด้วยตนเอง
BREAST CANCER : มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด (มีเพียงร้อยละ10 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดเต้านม)
แต่จะคลำพบก้อนที่เต้านม สังเกตถ้าก้อนที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะแข็งและขรุขระ
หรืออาจเป็นก้อนเรียบๆ อาการอื่น ๆ อาจพบผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม
หรือมีรูปร่างของเต้านมผิดไปจากเดิม หรืออาจมีแผลที่หัวนมและรอบหัวนม
หรือมีน้ำเหลืองหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม บางรายคลำพบก้อนบริเวณรักแร้ และนานๆ
ครั้งจะพบมะเร็งเต้านมที่มีอาการบวมแดงคล้ายการอักเสบที่เต้านม
การตรวจประเมินมะเร็งเต้านม
การตรวจประเมินเบื้องต้นเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะต้นๆ
ซึ่งจะส่งผลให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จสูง
โดยการตรวจประเมินมะเร็งเต้านมเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้
- การคลำเต้านมด้วยตนเอง
- การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม(mammogram) แนะนำให้ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปเข้ารับการตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปี
- การตรวจด้วยอัลตราซาวด์และ MRI จะใช้ในกรณีที่ผลของแมมโมแกรมตรวจพบความผิดปกติและต้องการตรวจหาเพื่อให้แน่ชัดยิ่งขึ้น
วิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดในการตรวจประเมินมะเร็งเต้านม คือ
การคลำเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 90
ของเนื้องอกในเต้านมของสตรีถูกพบครั้งแรกด้วยตนเอง การตรวจเต้านม ด้วยตนเอง
จึงเป็นเรื่องจำเป็นและควรทำ ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยสาว เวลาที่เหมาะแก่การตรวจคือ
หลังหมดประจำเดือน 7-10 วัน เพราะเป็นระยะที่เต้านมไม่บวมและนิ่ม
ทำให้ตรวจง่ายหากพบสิ่งผิดปกติ หรือ สงสัยให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
วิธีการคลำตรวจมะเร็งเต้านม
ทุกท่าจะต้องบิดลำตัวไปทั้งทางซ้ายและขวาสังเกตรูปร่าง
ลักษณะ ความผิดปกติของผิวหนังรอยบุ๋ม
รอยนูนของเต้านมหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆของเต้านมทั้ง 2 ข้าง
วิธีการตรวจ 3 ท่า
1. ท่ายืนหน้ากระจก
- ถอดเสื้อและยกทรงออก ยืนส่องกระจกดูเต้านมแต่ละข้าง สังเกตการเปลี่ยนแปลงลักษณะของรูปร่าง ขนาดหรือสีของหัวนม สังเกตดูระดับของหัวนมแต่ละข้างว่าเท่ากันหรือไม่ มีปื้นหรือผื่นบนหัวนมหรือไม่ มีผิวหนังบุ๋มลงหรือไม่
- ยกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ
หันด้านข้างส่องกระจกดูทีละข้าง สังเกตเต้านมทั้งหมดที่เห็น ว่ามีอะไรผิดปกติ
เหมือนในข้อ 1 หรือไม่
- หันหน้าตรงเข้ากระจกอีกครั้ง เอามือจับสะโพกทั้งสองข้างและกดสะโพกไว้แรงๆจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่หน้าอกแข็งเกร็งขึ้นมา สังเกตความผิดปกติอีกครั้ง
- โน้มตัวโค้งไปข้างหน้า ให้หน้าอกสองข้างห้อยดิ่งลง สังเกตดูว่ามีรอยบุ๋ม หรือโป่งพองของผิวหนังที่เต้านมหรือไม่ สังเกตดูรูปร่างของเต้านมและสังเกตว่ามีรอยบุ๋มที่หัวนมทั้งสองข้างหรือไม่
2. ท่านอน
- นอนบนเตียงหรือพื้นสบายๆ และเอามือขวาไว้ใต้ศีรษะ ท่านี้จะทำให้เนื้อเต้านมถูกดึงออกจากกลางหน้าอก ทำให้คลำสำรวจได้ดีขึ้น พร้อมกับมองสำรวจเต้านมด้านขวาอีกครั้ง
- ใช้มือซ้ายคลำเต้านมด้านขวาอย่างแรงและลึกพอสมควร โดยใช้รูปแบบการคลำแบบใดก็ได้ใน 3 แบบต่อไปนี้
- คลำแบบดาวกระจาย
ให้จินตนาการ เต้านมเป็นช่วงๆ ตามเข็มนาฬิกา และเริ่มต้นคลำจาก 12 นาฬิกาไปที่ 1, 2, 3 นาฬิกาเรื่อยๆ จนครบพื้นที่เต้านม
- คลำแบบขึ้นและลง
จินตนาการว่า
เต้านมเป็นลูกคลื่นในทะเล คลำเต้านมขึ้นและลงตามยอดคลื่น
อย่าลืมใช้นิ้วมือคลำเป็นวงกลมเล็กๆ ไปพร้อมๆ กันด้วย
· ยืนขึ้นและใช้มือคลำตามวิธีดังข้อ 2 อีกครั้ง ถ้าเต้านมมีขนาดใหญ่ให้ใช้มืออีกข้างช่วย ประคองเนื้อเต้านมไว้ด้านล่าง
· ใช้นิ้วมือบีบหัวนม
เพื่อดูว่ามีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนมทั้งสองข้างหรือไม่
3. ขณะอาบน้ำ
ยกแขนข้างซ้ายขึ้นแล้วใช้ปลายนิ้วมือด้านขวาวางราบลงบนเต้านมข้างซ้าย บริเวณส่วนนอกและเหนือสุดของเต้านม จากนั้นเริ่มคลำโดยคลึงเบาๆ เป็นวงกลมเล็กๆ ช้าๆ รอบเต้านม แล้วค่อยๆ เขยิบเข้ามาเป็นวงแคบสู่บริเวณหัวนม และควรคลำระหว่างบริเวณเต้านมกับรักแร้ด้วยสังเกตว่ามีก้อนเนื้อหรือเนื้อที่แข็งเป็นไตผิดปกติหรือไม่ จากนั้นค่อยๆ บีบหัวนมเบาๆ เพื่อดูว่ามีของเหลว เช่น น้ำเหลืองหรือน้ำเลือดออกมาหรือไม่ แล้วทำการตรวจซ้ำด้วยวิธีแบบเดียวกันบนเต้านมข้างขวา
วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
ข้อสังเกต
ก้อนที่บริเวณเต้านมไม่ใช่มะเร็งทั้งหมด บางก้อนอาจเป็นซีสท์ (Cyst) หรือถุงน้ำ
บางชนิดเป็นแค่เนื้องอกธรรมดา และที่สำคัญที่สุดคือ
ก้อนเนื้อบางก้อนแม้จะเจ็บหรือไม่เจ็บก็อาจเป็นมะเร็งได้
ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีความพยายามที่จะหาความผิดปกติอะไรเป็นพิเศษ
เพียงแค่คอยสังเกตและจดจำว่า ลักษณะเต้านมของเป็นอย่างไร
เพื่อที่จะได้ทราบทันทีว่ามีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นกับเต้านมในวันข้างหน้า
ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และหากพบก้อนเนื้อหรือสิ่งผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์
เพื่อทำการวินิจฉัยด้วยเครื่องมือที่ละเอียดและชัดเจนกว่า
เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที
อ้างอิง
แคท. (2014). วิธีการตรวจมะเร็งเต้านม. สืบค้น 26 มีนาคม, 2559, จาก girlysociety เว็ป
ไซต์: http://www.girlysociety.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=572488
แป้ม, (2546). วิธีการตรวจมะเร็งเต้านม. สืบเมื่อ 26 มีนาคม, 2559, จาก Formumandme เว็ป
ไซต์: http://www.formumandme.com/article.php?a=295
รศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์. (2553). เมื่อไหร่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง.
สืบค้น 26 มีนาคม,
2559, จาก siriraj e public library เว็ปไซต์: http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-
pl/articledetail.asp?id=771
Newmyshop. (n.d.). การตรวจเต้านมด้วยตนเอง.
สืบค้น 26 มีนาคม,
2559,จากnewmyshopเว็ปไซต์:http://www.newmyshop.com/newmyshop
/index.php?pagecontent&contentid=1204
G&A. (n.d.). วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง.
สืบค้น 26 มีนาคม, 2559, จาก
ฟ้าใสวัยทอง เว็ป
ไซต์: http://www.waithong.com/consumer/bse/bse_method.html
นางสาวอนงค์พร ศรีเที่ยง
5701210668 Sec A
ขอบคุณข้อมูลดีๆครับ
ตอบลบเป็นประโยชน์สำหรับผู้หญิงแบบเราๆมากเลยค่ะ
ตอบลบเนื้อหาดีมากมากเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูดีๆน่ะค่ะ
ตอบลบจากข้อมูลข้างต้นให้ความรู้และประโยชน์หลากหลายแก่ผู้หญิงมากเลยคะ
ตอบลบเนื้อหาเข้าใจง่ายมากๆ เลยครับ
ตอบลบเป็นประโยชน์มากครับ
ตอบลบดีงามปลากระป๋องมากๆเลยครับ ได้ความรู้เต็มๆ><
ตอบลบเนื้อหามีประโยชน์มากเลยค่ะ
ตอบลบได้ความรู้เยอะเลย ����
ตอบลบเพิ่งจะเข้าใจวิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองก็หลังจากที่อ่านบล็อกนี้แหละค่ะ ขอบคุณมากๆ นะคะ
ตอบลบเพิ่งจะเข้าใจวิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองก็หลังจากที่อ่านบล็อกนี้แหละค่ะ ขอบคุณมากๆ นะคะ
ตอบลบเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้หญิงควรรู้ไว้ มีประโยน์มากค่ะ
ตอบลบเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้หญิงควรรู้ไว้ มีประโยน์มากค่ะ
ตอบลบเนื้อหาและข้อมูลดี มีสาระและมีประโยชน์แก่ผู้หญิงเรามากเพราะตอนนี้มะเร็งเต้านมเป็นภัยอันตรายที่เราควรให้ความสำคัญ
ตอบลบเนื้อหามีประโยชน์และสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง
ตอบลบเนื้อหามีประโยชน์มากเลยค่ะ เหมาะสำหรับการตรวจด้วยตัวเอง เข้าใจง่ายดีค่ะ
ตอบลบมีประโยชน์มากค่ะ สามารถนำไปตรวจได้ด้วยตัวเอง
ตอบลบ