ที่มา
: http://www.appleblossomfamilies.com/blog/wp-content/uploads/2013/03/2013appleblossomfamilies040-10.jpg
การคลอดลูกมีทั้งแบบปกติและแบบผิดปกติ ซึ่งการคลอดแบบปกติ เป็นการคลอดเองโดยวิธีธรรมชาติผ่านทางช่องคลอด ส่วนการคลอดแบบผิดปกติเป็นการคลอดที่นอกเหนือจากวิธีธรรมชาติ เช่น การผ่าตัด เป็นต้น ในต่างประเทศนิยมคลอดลูกในน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นการคลอดแบบธรรมชาติโดยมีน้ำเป็นตัวช่วยในการคลอด แต่การคลอดแบบนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในประเทศไทย
ที่มา : http://www.appleblossomfamilies.com/blog/wp-content/uploads/2013/03/2013appleblossomfamilies040-9.jpg
การคลอดลูกในน้ำมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
1. เตรียมความพร้อมของร่างกายโดยการนวดบริเวณไขสันหลังและอุ้งเชิงกราน
2.
เตรียมน้ำอุ่นอุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียล
และคอยวัดอุณหภูมิของน้ำให้คงที่อยู่เสมอ
3.
นำผ้าขนหนูผืนเล็กวางบนศีรษะของมารดา เพื่อปรับอุณหภูมิเหนือน้ำกับอุณหภูมิใต้น้ำให้เท่ากัน
4. การคลอด
มี 4 ระยะดังนี้
1. ระยะที่ 1
ของการคลอด (First stage of labour)
นับตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์เริ่มมีการเจ็บครรภ์จริง
(True labour pain) คือมีการหดตัวของมดลูกทุกๆ 10
นาที อย่างสม่ำเสมอ
ผู้ทำคลอดก็จะตรวจประเมินการขยายของปากมดลูกเป็นระยะๆ
จนมีการเปิดขยายของปากมดลูก จนหมด 10 เซนติเมตร
2. ระยะที่ 2 ของการคลอด (Second
stage of labour)
เริ่มนับตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์มีการเปิดขยายของปากมดลูก
10 เซนติเมตร จนถึงระยะที่ทารกคลอด ผู้ทำคลอดก็จะเริ่มเชียร์ให้มารดาเบ่งคลอด
และเมื่อหัวทารกมาตุงที่ปากช่องคลอดก็จะมีการตัดฝีเย็บเพื่อช่วยขยายปากช่องคลอด
3. ระยะที่ 3 ของการคลอด (Third
stage of labour)
เริ่มตั้งแต่หลังจากทารกคลอดจนถึงรกคลอด
4. ระยะที่ 4 ของการคลอด (Fourth
stage of labour)
เป็นระยะหลังการคลอดรกแล้ว
เป็นระยะที่มีความสำคัญ มารดาต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการตกเลือดหลังคลอดมักเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงเวลานี้
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=7lChCms37lY
ข้อจำกัดของการคลอดลูกในน้ำ
- มารดาอายุน้อยกว่า 17 ปี และ อายุมากกว่า 35 ปี
- มารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือเป็นโรคเบาหวาน
- มารดาที่ตั้งครรภ์แฝด
- มารดามีภาวะติดเชื้อ
- ทารกในครรภ์ไม่กลับหัว
- ทารกยังไม่ครบกำหนดคลอด
- ทารกที่มีขนาดตัวใหญ่
คลอดลูกในน้ำดีอย่างไร?
- ช่วยให้ปากมดลูกเปิดเร็ว เนื่องจากมีแรงดันน้ำช่วยลดแรงโน้มถ่วง
- ช่วยลดความเจ็บปวดของมารดาจากการคลอดลูก
- น้ำอุ่นจะช่วยกระตุ้นให้ฮอร์โมนทำให้มดลูกหดตัวเร็วขึ้น
- น้ำอุ่นจะช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นโดรฟิน (สารแห่งความสุข) สามารถลดระดับความเจ็บปวดได้
- หากมีการนวด การเปิดเพลง หรือกลิ่นอโรมา จะช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย
- ช่วยลดความดันโลหิตของมารดา ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี
- มารดาสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
- ลูกสามารถปรับตัวได้เร็วต่ออุณหภูมิและสภาพแวดล้อมภายนอก เนื่องจากคล้ายคลึงกับการอยู่ในน้ำคร่ำของครรภ์มารดา
ข้อเสียของการคลอดในน้ำ
อ้างอิง
แม่รักลูก. (2556). การคลอดลูกในน้ำดีอย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 24
มีนาคม 2559
จาก http://www.maerakluke.com/การคลอดลูกในน้ำ-ดีอย่างไร/
MGR Online. (2552). ตามติด “Modern
Mom ทัวร์ห้องคลอด” สัมผัสบรรยากาศคลอดในน้ำ. สืบค้นเมื่อวันที่ 24
มีนาคม 2559 จาก http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000094267
Momypedia. (2558). คลอดลูกในน้ำปลอดภัย...ยกกำลัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2559
จาก www.momypedia.com/momy-article-3-6-1528/คลอดลูกในน้ำปลอดภัยยกกำลัง/
Nivin Todd. (2014). The Basics of Water Birth.
Retrieved March 24, 2016. From
http://www.webmd.com/baby/guide/water-birth
Thaimom. (2555). เคล็ดลับการคลอดลูกในน้ำ.
สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2559
จาก
http://www.thaimom.net/เคล็ดลับการคลอดลูกในน้ำ/
จัดทำโดย
นายวัชรกร ณ เชียงใหม่ 5701210996 Sec A เลขที่ 41
ดีมากเลยค่ะ ได้รับความรู้มากจริงๆค่ะ .
ตอบลบเนื้อหาสาระดีมากเลยคะ เป็นความรู้ใหม่ที่ยังไม่เคยได้เจอ
ตอบลบมีประโยชน์มากค่ะ
ตอบลบขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
ตอบลบความรู้ใหม่ น่าสนใจดีคะ
ตอบลบไม่เคยยรุ้เรยนะนี่ มีประโยชน์จิงๆ
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์มากๆค่ะ
ตอบลบ