นิ่วเกิดได้อย่างไร.......
เกิดได้จากการตกตะกอนของสารต่างๆ ในไตมากกว่าปกติ เมื่อนานเข้าจึงรวมตัวกันเป็นก้อนซึ่งก็ คือนิ่วนั่นเอง ดังนั้นก้อนนิ่วจึงสามารถโตขึ้นได้เรื่อยๆ เมื่อยังไม่มีการรักษา หรือเกิดได้ซ้ำอีกหลังการรักษา ถ้าดูแลรักษาควบคุมปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุได้ไม่ดีพอ ซึ่งโดยทั่วไปการตกตะกอนมักเกิดในกรวยไตเพราะเป็นตำแหน่งเก็บกักปัสสาวะจากไตก่อนปล่อยลงสู่ท่อไต แต่บางครั้งอาจเกิดในตัวเนื้อเยื่อไตได้ ซึ่งการตกตะกอนมากเกินปกติของสารดังกล่าวในปัสสาวะมีสาเหตุได้จาก
- การกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง (เช่น นม เนย กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย ใบโหระพา ใบชะพลู สะเดา ยอดแค) การ กินอาหารที่มีสารออกซาเลตสูง (เช่น ช็อกโกแลต โกโก้ น้ำชา มันเทศ หน่อไม้ ใบชะพลู ผักโขม ผักเสม็ด ผักกระโดน) การกินวิตามินซีปริมาณมาก (ซึ่งจะช่วยดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย และช่วยสร้างสารออกซาเลต) หรือการกินอาหารที่มีกรดยูริกสูง (เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่ว สาหร่าย หน่อไม้ ฯลฯ) ในปริมาณมากเกินไป ร่วมกับการดื่มน้ำน้อย หรืออยู่ในที่ร้อน (ร่างกายเสียเหงื่อ ทำให้ขาดน้ำ) ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นของสารเหล่านี้ จนตกผลึกกลายเป็นก้อนนิ่วได้
- จากการอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อไตและ/หรือของกรวยไต ส่งผลให้เกิดการตายของเซลล์และแบคทีเรีย ซึ่งจะ สะสมเป็นแกนให้สารดังกล่าวตกตะกอนต่อเนื่องจึงเกิดเป็นก้อนนิ่วขึ้น
- มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะเช่น มีก้อนเนื้อหรือทางเดินปัสสาวะตีบแคบจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากการอักเสบ หรือจากความผิดปกติแต่กำเนิด ปัสสาวะจึงกักคั่งค้างในไต สารต่างๆ ดังกล่าวจึงตกตะกอนจับตัวกันเป็นก้อนนิ่วได้ง่าย
- มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะเช่น มีก้อนเนื้อหรือทางเดินปัสสาวะตีบแคบจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากการอักเสบ หรือจากความผิดปกติแต่กำเนิด ปัสสาวะจึงกักคั่งค้างในไต สารต่างๆ ดังกล่าวจึงตกตะกอนจับตัวกันเป็นก้อนนิ่วได้ง่าย
การรักษานิ่วมี
4 วิธี
1.
การทานยาละลายนิ่ว เหมาะสำหรับนิ่วชนิดยูริค
สามารถละลายได้โดยให้ทานยาที่ทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง
สำหรับนิ่วที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบไม่มียาละลายนิ่ว โดยถ้านิ่วมีขนาดเล็กกว่า 0.5 ซ.ม. มีโอกาสหลุดเองได้ โดยการดื่มน้ำเพิ่มหรือให้ยาขับปัสสาวะช่วย
2.
การใช้เครื่องสลายนิ่ว (ESWL หรือ extracorporeal
shockwave lithotripsy) เป็นการใช้เครื่องมือที่มีต้นกำเนิดพลังงานจากภายนอกร่างกายส่งคลื่นพลังเข้าไปกระแทกนิ่วให้แตกเป็นชิ้นเล็ก
ๆ และให้ร่างกายเป็นผู้ขับเศษนิ่วออกมาเอง การรักษานิ่วโดยใช้เครื่อง ESWL นี้ ผู้ป่วยควรจะเป็นนิ่วที่ไตหรือท่อไตส่วนต้น และมีขนาดของนิ่วน้อยกว่า 2 ซ.ม.
รวมทั้งต้องมีการทำงานของไตข้างนั้นพอที่จะมีปัสสาวะขับเอาเศษนิ่วที่สลายแตกแล้วให้หลุดออกมานอกร่างกายได้
ยกเว้นนิ่วบางชนิดที่แข็งมากไม่สามารถยิงสลายให้แตกโดยวิธี ESWL ได้
3.
การรักษาโดยการส่องกล้อง ได้แก่
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะจะส่องกล้องผ่านรูท่อปัสสาวะเข้าไปขบนิ่ว
และนิ่วในท่อไตจะส่องกล้องเข้าไปในรูท่อไตเข้าไปคล้องหรือกรอนิ่วในท่อไตออกมา
ซึ่งทั้ง 2
วิธีเป็นการส่องกล้องเข้าไปในรูท่อปัสสาวะหรือรูท่อไตที่มีอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้วจึงไม่มีรอยแผลผ่าตัด
4.
การเจาะผ่านผิวหนังส่องกล้องกรอนิ่วในไต (PCNL หรือ Percutaneous Nephrolithotomy) เป็นวิธีการรักษานิ่วในไตที่พัฒนามาเพื่อเลี่ยงการผ่าตัดโดยาใช้วิธีเจาะรูเล็ก
ๆ ขนาดนิ้วชี้ทะลุจากผิวหนังเข้าไปในกรวยไต และใช้กล้องส่องตามเข้าไปจนพบก้อนนิ่ว
จากนั้นจะใช้เครื่องมือเข้าไปกรอนิ่วให้แตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
และดูดหรือคีบนิ่วออกมา
ทำไมต้องเลือก PCNL มีข้อดีอย่างไร
เป็นวิธีการรักษานิ่วในไตที่
ผู้ป่วยจะได้รับการรักษา โดยวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดนิ่วสูงเทียบเท่าการผ่าตัดเปิด
แต่ได้รับบาดเจ็บจากการรักษาน้อยกว่ามาก
PCNL ทำอย่างไร
โดยขั้นตอนในการส่องกล้องเพื่อเข้าไปเอานิ่วออกจากไตนั้น
ศัลยแพทย์จะพิจารณาลือกตำแหน่งที่เหมาะสม ที่จะทำการส่องกล้องโดยอาศัยเครื่องมือFluoroscope ในการกำหนดพิกัด แล้วเจาะรูขนาดเล็กประมาณ
1 เซนติเมตร ซึ่งขนาดเล็กเท่ารูกุญแจ (Key-hole Surgery) เพื่อเป็นช่องทางที่จะส่องกล้อง Nephroscope เข้าสู่ภายในไต เมื่อพบก้อนนิ่วแล้ว
ศัลยแพทย์จะทำให้นิ่วนั้นแตกออกเป็นก้อนขนาดเล็กโดยอาศัยเครื่องมือ Lithoclast Lithotripsy แล้วคีบเอานิ่วออกจากร่างกายผ่านทางรูเดียวกัน
การเตรียมตัวก่อนทำ PCNL
- งดยาละลายลิ่มเลือด
เช่น Warfarin
และยาต้าน platelet ตามระยะ เวลที่แพทย์ระบุ
- งดอาหารและน้ำทางปาก 6 ชั่วโมงก่อนเวลารักษา
การปฏิบัติตัวหลังทำ PCNL
- ตรวจสอบตำแหน่งและลักษณะสายระบาย
เพื่อหาภาวะเลื่อน หักพับ หรือไม่
- ทำแผลทางเข้าสายที่ผิวหนังและบริเวณที่เย็บตรึงสายวันละครั้ง
การดูแลไม่ให้กลับเป็นนิ่วซ้ำ
- ดื่มน้ำสะอาดมากๆ อย่างน้อยวันละ
2 ลิตรหรือตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ
- ไม่กลั้นปัสสาวะนาน
พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ
- จำกัดอาหารที่มีสารออกซาเลต
กรดยูริค และสารซีสตีนสูง เช่น ผักชีฝรั่ง ใบชะพลู หัวไชเช้า
- กินวิตามิน ซี ดี
และแคลเซียมเฉพาะตามคำแนะนำของแพทย์
อ้างอิง
พวงทอง ไกรพิบูลย์. (2015). นิ่วในไต. 26/03/2559
http://haamor.com/th/นิ่วในไต/#article102
http://haamor.com/th/นิ่วในไต/#article102
วรพงษ์ เลิศวีระศิริกุล. (2012). PCNL นวัตกรรมใหม่รักษานิ่วในไต. 26/03/2559,/ http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/21/547/th
โรงพยาบาลพระราม9. (2012). การรักษาโรคนิ่วแบบใหม่
เจาะผ่านผิวหนังส่องกล้องกรอนิ่วในไต (PCNL) . 26/03/2559,/ https://www.praram9.com/knowledge_detail.php?id=99
จัดทำโดย
นายภาณุพงศ์ นันชัย
จัดทำโดย
นายภาณุพงศ์ นันชัย
มีประโยชน์มากเลยค่ะ อ่านเข้าใจง่ายมากเลย
ตอบลบมีประโยชน์มากเลยค่ะ อ่านเข้าใจง่ายมากเลย
ตอบลบ