วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

Cryonics แช่ร่าง เทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อรักษาโรคร้าย

Cryonics แช่ร่าง เทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อรักษาโรคร้าย
          ไครโอนิกส์ (Cryonics) คือ กระบวนการ หรือ วิธีการในการแช่แข็งร่างของสิ่งมีชีวิตที่เสียชีวิตไปแล้ว เป็นการคงสภาพเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกายได้เป็นระยะเวลานาน คำว่า ‘ไครโอ’ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ว่า kryos หมายถึง เย็นจัด หรือ หนาวมาก ส่วนคำว่า ไครโอนิกส์ (Cryonics) เป็นคำในภาษาอังกฤษ ที่เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) คือการทำความเย็นที่สามารถลดอุณหภูมิได้ถึง -150°C (-238°F)  

อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการในการแช่แข็ง
1. ชุดเครื่องมือที่ทำหน้าที่กำจัดเลือดออกจากร่างกาย
2. Dewar tank ที่บรรจุด้วยไนโตรเจนเหลว ถังไนโตรเจนประกอบไปด้วย “สารต้านการเยือกแข็งสำหรับมนุษย์” ซึ่งก็คือสารเคมีผสมไกลคอล เช่น เอทิลีนไกลคอล หรือโพรไพลีนไกลคอล หรือไดเมทิลซัลฟอกไซด์ เพื่อให้อวัยวะสามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำได้โดยไม่เกิดผลึกน้ำแข็งซึ่งจะทำลายเซลล์เมื่อเซลล์คืนสภาพ ซึ่งเรียกกระบวนการต้านการเยือกแข็งนี้ว่า vitrification ซึ่งเป็นคงไว้ในสภาพไร้การเคลื่อนไหว ไม่ได้เป็นการแช่แข็งศพ    


                    วิธีการหรือกระบวนการในการแช่แข็ง คือ เริ่มต้นจากการใส่ชุดเครื่องมือที่มีหน้าที่กำจัดเลือดออกจากร่างกายในร่างที่พึ่งเสียชีวิต เลือดที่ออกจะถูกแทนที่ด้วยของเหลวที่ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเย็นลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้การเสื่อมของเซลล์เกิดขึ้นน้อยที่สุดในระหว่างการขนส่งร่างไปยังสถานที่ที่ใช้สำหรับเก็บร่าง และขั้นสุดท้ายนำไปแช่ในกระบวนการแช่แข็ง (cryopreservation) คือการนำร่างไปแช่ในถังที่บรรจุไนโตรเจนเหลวโดยการคว่ำศีรษะลง ไนโตรเจนเหลวนี้จะแช่แข็งร่างกายไว้ที่อุณหภูมิประมาณ -196 °และคอยเติมไนโตรเจนเหลวเป็นบางครั้ง สำหรับสถานที่เก็บรักษาร่างกายมนุษย์แบบไครโอนิกส์นี้มี 2 แห่งเท่านั้นคือ ประเทศสหรัฐฯ และรัสเซีย
ในประเทศไทย พ่อและแม่ของน้องไอนส์ ด.ญ.เมทรินทร์ เนาวรัตน์พงษ์ วัย 2 ขวบ ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในสมอง ได้ตัดสินใจนำร่างลูกสาวไปแช่แข็งที่ห้องเย็นของมูลนิธิเพื่อชีวิต อัลคอร์ ไลฟ์ เอ็กซ์เทนชั่น (Alcor Life Extension Foundation) ในรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีความหวังว่าจะสามารถชุบชีวิตลูกสาวและหายป่วยจากโรคมะเร็งในสมอง แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการแช่แข็งลูกด้วยกระบวนการไครออนิกส์ จะสูงถึง 220,000 ดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันมูลนิธิเพื่อชีวิต อัลคอร์ ไลฟ์ เอ็กซ์เทนชั่น มีร่างคนไข้ที่ถูกแช่แข็งในถังที่บรรจุด้วยไนโตรเจนเหลวอยู่ 134 คน


ข้อเสียของกระบวนการแช่แข็ง
Ø มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
Ø ปัญหาเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม
Ø เป็นวิวัฒนาการที่ยังไม่แพร่หลาย
Ø ยังไม่สามารถนำไปรักษาต่อได้จริงในขณะนี้
ข้อดีของกระบวนการแช่แข็ง
Ø เป็นเทคโลยีในอนาคตเพื่อรักษาโรคร้ายให้หายได้
Ø เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การรักษาทางการแพทย์ในอนาคต
Ø หากวิธีการนี้สามารถนำไปสู่การรักษาได้จริง จะช่วยลดอัตราการตายของประชากรได้
Ø กระบวนการนี้สามารถคงสภาพเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Ø ทำให้เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า คือสามารถนำกระบวนการไครโอนิกส์ (Cryonics) มาใช้ในการรักษาโรคและคงสภาพเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์

   ที่มา :

นิรนาม. (2558). ความเย็นเหนือเย็น ไครโอเจนิกส์เบื้องต้น (Fundamental of Cryogenics). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม, 2559, จาก ชื่อเว็บไซต์: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1043&read=true&count=true

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (ม.ป.ป.). Cryonics. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม, 2559, จาก ชื่อเว็บไซต์: http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=4448:cryonics&Itemid=1221

Chaokhun. (2558). 'แช่แข็งศพ' โรคร้ายต้องรักษาได้ 'ไครออนิกส์' เทคโนโลยีชุบชีวิตแห่งอนาคต!?. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม, 2559, จาก ชื่อเว็บไซต์: http://board.palungjit.org/f12/แช่แข็งศพ-โรคร้ายต้องรักษาได้-ไครออนิกส์-เทคโนโลยีชุบชีวิตแห่งอนาคต-548678.html

Manila Arun. (ม.ป.ป.). ไครโอนิคส์: คนตายที่ถูกแช่แข็งเพื่อรอวันถูกทำให้ฟื้นขึ้นมาใหม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม, 2559, จาก ชื่อเว็บไซต์: http://www.artkerala.com/article/ไครโอนิคส์-คนตายที่ถูกแช่แข็งเพื่อรอวันถูกทำให้ฟื้นขึ้นมาใหม่

tcdc. (2557). Cryonics: วิวัฒนาการแห่งทศวรรษหน้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม, 2559, จาก ชื่อเว็บไซต์: http://www.tcdc.or.th/articles/technology-innovation/21652/#Cryonics-วิวัฒนาการแห่งทศวรรษหน้า



                                                        นาย ธีรวัฒน์ ธุวะคำ 
                                                  5701210279 sec.A เลขที่ 9

1 ความคิดเห็น:

  1. เทคโนโลยีแปลกใหม่ ได้ความรู้ที่ทันสมัยมากคะ

    ตอบลบ