หลายท่านอาจมีประสบการณ์การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ เช่น
หกล้ม ทำให้เกิดรอยฟกช้ำขี้นบริเวณร่างกาย ข้อต่อ หรือกล้ามเนื้อ รวมทั้งแมลงกัดต่อย และมีอาการปวด บวมเกิดขึ้น กรณีเหล่านี้จะเลือกใช้ความเย็นมาประคบบริเวณที่มีการบาดเจ็บ
จึงจะได้ผลดีและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ดังนั้นการประคบเย็นจึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดของแผลและจะทำให้ไม่เกิดรอยช้ำได้
เมื่อใดต้องประคบเย็น
- มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ข้อเท้าแพลง รอยฟกช้ำ จากการกระแทก อาการปวดหรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา/การออกกำลังกาย เป็นต้น
- อาการปวดเฉียบพลันของส่วนต่างๆ เช่น ปวดไหล่ ปวดหลัง
- การอักเสบ บวม แดง ในระยะฉับพลัน
- อาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง เลือดกำเดาไหล แผลจากของมีคม หรือน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ที่ไม่รุนแรง
ข้อดีของการประคบเย็น
- มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ข้อเท้าแพลง รอยฟกช้ำ จากการกระแทก อาการปวดหรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา/การออกกำลังกาย เป็นต้น
- อาการปวดเฉียบพลันของส่วนต่างๆ เช่น ปวดไหล่ ปวดหลัง
- การอักเสบ บวม แดง ในระยะฉับพลัน
- อาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง เลือดกำเดาไหล แผลจากของมีคม หรือน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ที่ไม่รุนแรง
ข้อดีของการประคบเย็น
ความเย็นจะช่วยทำให้เส้นเลือดหดตัว
ทำให้เลือดออกน้อยลง ทั้งเลือดที่ออกนอกร่างกายให้เห็นได้ และเลือดที่ออกนอกเส้นเลือดในร่างกาย
ดังนั้นอาการบวมก็จะน้อย มีการดูดซึมน้ำกลับเข้าหลอดเลือดช่วยให้ยุบบวม
จึงช่วยลดการบาดเจ็บ การอักเสบ นอกจากนี้ความเย็นยังช่วยลดการนำกระแสประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้บรรเทาอาการปวดได้
ข้อเสียของการประคบเย็น
ถ้าประคบนานเกินไปจะทำให้หลอดเลือดหดตัวมาก
เนื้อเยื่อบริเวณประคบจะขาดเลือด จะเกิดแผลปวดและบวม
วิธีการประคบเย็น
1. ประคบทันทีบริเวณที่มีการบาดเจ็บ ภายใน 24-48 ชั่วโมง
2. ใช้เวลาในการประคบ 10-15 นาที ไม่ควรใช้เวลานานกว่านี้ และไม่วางที่เดียวนานเกินไป จะเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้
3. ในขณะที่ประคบเย็นให้ยกส่วนที่บาดเจ็บสูงกว่าระดับหัวใจ ไม่ควรนวดบริเวณที่บาดเจ็บ จะทำให้เลือดออกมากขึ้น
4. ประคบได้บ่อยเท่าที่ต้องการ แต่ต้องทิ้งระยะพักส่วนที่ประคบอย่างน้อย 45-60 นาที หรือจนกว่าผิวบริเวณที่ประคบจะอุ่นเท่าผิวปกติ
1. ประคบทันทีบริเวณที่มีการบาดเจ็บ ภายใน 24-48 ชั่วโมง
2. ใช้เวลาในการประคบ 10-15 นาที ไม่ควรใช้เวลานานกว่านี้ และไม่วางที่เดียวนานเกินไป จะเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้
3. ในขณะที่ประคบเย็นให้ยกส่วนที่บาดเจ็บสูงกว่าระดับหัวใจ ไม่ควรนวดบริเวณที่บาดเจ็บ จะทำให้เลือดออกมากขึ้น
4. ประคบได้บ่อยเท่าที่ต้องการ แต่ต้องทิ้งระยะพักส่วนที่ประคบอย่างน้อย 45-60 นาที หรือจนกว่าผิวบริเวณที่ประคบจะอุ่นเท่าผิวปกติ
ข้อควรระวังในการประคบเย็น
1. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการรับความรู้สึก
2. บริเวณที่เลือดไปเลี้ยงไม่พอเพียง
3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร
4. ผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาต่อความเย็น เช่น มีเม็ดเลือดแตก แพ้ความเย็น ทนความเย็นไม่ได้ เส้นประสาทอักเสบจากความเย็น เป็นต้น
1. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการรับความรู้สึก
2. บริเวณที่เลือดไปเลี้ยงไม่พอเพียง
3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร
4. ผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาต่อความเย็น เช่น มีเม็ดเลือดแตก แพ้ความเย็น ทนความเย็นไม่ได้ เส้นประสาทอักเสบจากความเย็น เป็นต้น
อ้างอิง
กันยา ปาละวิวัธน์.(2557).
การรักษาด้วยความเย็น. สืบค้นเมื่อวันที่ 31
มีนาคม 2559,
จาก http://www.ideaforlife.net/health/article/0121.html
จาก http://www.ideaforlife.net/health/article/0121.html
มนัญญา. (2555). นวัตกรรมง่ายๆ ชิ้นงานพัฒนา.สืบค้นเมื่อวันที่
24 มีนาคม 2559,
จาก https://www.gotoknow.org/posts/450733
มนสภรณ์ วิทูรเมธา. (2555). ประคบร้อน (Warm
compression) ประคบเย็น (Cold compression).
สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559, จาก http://haamor.com/th
มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา. (2553). คู่มือตู้ยาโรงเรียนและแนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อย.
สืบค้นเมื่อวันที่
24 มีนาคม 2559, จาก http://www.yaandyou.net/content-view.php?conid=553
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.).
(2557). รู้ได้อย่างไรว่าจะต้องประคบร้อนหรือเย็น?.
สืบค้นเมื่อวันที่31 มีนาคม 2559,
จาก http://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/5833
จัดทำโดย
นางสาวจรินทร์พร บุญยืน 5701211177
Sec A เลขที่ 51
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น