เต้านมเทียม (Breast Implant)
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
“มะเร็งเต้านม”
สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ1ของหญิงไทย
สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ1ของหญิงไทย
ผลการสำรวจของสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปีพ.ศ.2550 พบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มารับบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติเป็นผู้ป่วยใหม่จำนวน 3,167 รายและโรคมะเร็งอันดับหนึ่งที่พบคือมะเร็งเต้านม (Breast cancer)
วิธีการรักษามะเร็งเต้านมมีหลายวิธีเช่นการผ่าตัดแบบสงวนเต้านมคือผ่าตัดเอาเฉพาะก้อนมะเร็งออกการผ่าตัดแบบนี้ยังสามารถรักษาเต้านมเอาไว้ได้ส่วนอีกแบบคือการผ่าตัดเต้านมทิ้งทั้งหมดซึ่งหากตัดข้างเดียวก็ส่งผลให้ผู้ป่วยมีหน้าอก 2 ข้างไม่เท่ากัน
หรือหากตัดทั้งสองข้างก็เท่ากับผู้หญิงคนนั้นเป็นคนที่ไม่มีหน้าอกเลยทำให้หลายคนเมื่อตัดเต้านมออกไปแล้วก็เกิดความไม่มั่นใจ สูญเสียภาพลักษณ์และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองน้อยลงไม่อยากพบปะผู้คนและเป็นอุปสรรคในการดำรงชีวิตรวมทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาชีวิตคู่ด้วยการแก้ปัญหาอาจมีได้หลายวิธีเช่นการผ่าตัดเสริมเต้านม การเสริมซิลิโคนรวมไปถึงการนำเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ ของร่างกายมาช่วยเสริมเต้านมแต่ในบางรายอาจมีข้อจำกัดเช่นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีรายได้น้อยซึ่งไม่สามารถทำการผ่าตัดเสริมเต้านมได้ ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นนวัตกรรม “เต้านมเทียม” ขึ้นมา
ภาพผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม
นวัตกรรมเต้านมเทียมสามารถเย็บใช้เองด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่ายคือผ้าฝ้ายหรือเสื้อยืดที่ไม่ใช้แล้วแต่ยังอยู่ในสภาพดี ใยโพลีเอสเตอร์ ถุงใส่เม็ดพลาสติก และเม็ดพลาสติกหรือลูกปัด
วิธีทำเต้านมเทียม
1. วาดแบบบนผ้าที่จะตัดโดยเลือกแบบให้เข้ากับสรีระของร่างกายและไซส์ที่ต้องการแล้วตัดผ้าตามแบบซึ่งจะได้ผ้าทรงกลมชิ้นเล็ก 1 ชิ้น และชิ้นใหญ่ 1 ชิ้น (ชิ้นใหญ่คือ ด้านบนของเต้านม)
2. นำผ้าทั้ง 2 ชิ้นมาประกบกันและนำผ้าชิ้นใหญ่ไล่ขอบจนรอบวงกลมชิ้นเล็กเมื่อเหลือส่วนเกินของผ้าชิ้นใหญ่พับส่วนเกินนั้นแล้วเนาติดกับวงกลมชิ้นเล็ก
3. เย็บด้นถอยหลังโดยสามารถเย็บมือหรือใช้จักรเย็บผ้าเย็บได้โดยเหลือช่องไว้กลับตะเข็บใส่เส้นใยและลูกปัด
4. นำถุงใส่เม็ดพลาสติกที่เตรียมไว้วางบนเส้นใยโพลิเอสเตอร์แล้วรวบไว้เหมือนลูกประคบ
5. นำไปบรรจุใส่เต้าที่เย็บเรียบร้อยแล้วโดยให้ด้านเรียบอยู่ด้านล่าง
6. จัดแต่งให้ได้รูปร่างเต้านมที่เหมาะสมหากดูไม่เรียบเนียนและไม่เป็นธรรมชาติให้เสริมด้วยใยโพลีเอสเตอร์ฉีกเป็นฝอยก่อนเย็บปิด (ควรซ่อนปมด้ายไว้ภายใน) หลังจากนั้นขยี้ปรับแต่งอีกครั้งให้ดูเป็นธรรมชาติก่อนนำไปใช้
ประโยชน์ของการใส่เต้านมเทียม
1. เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพความมั่นใจในการเข้าพบปะคนในสังคมและการดำเนินชีวิตประจำวัน
2. ปกป้องหน้าอกหรือบริเวณที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมจากการโดนกระแทกหรือ
การเสียดสีของเสื้อผ้าซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้
3. ป้องกันการขยับหรือเคลื่อนของเสื้อยกทรงที่สวมใส่
4. ป้องกันภาวะเสียสมดุลต่างๆของร่างกายจากการสูญเสียน้ำหนักเต้านมที่ถูกตัดเช่น
a.
การโค้งงอผิดรูปของกระดูกสันหลัง
b.
การเกิดภาวะไหล่ตก
c.
อาการปวดเมื่อยล้าบริเวณคอและหลัง
อ้างอิง
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย. (มปป). เย็บเต้านมเทียมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 23 มีนาคม2559, จากเว็บไซต์: http://www.inetfoundation.
or.th/healthysmile/support.php
สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์. (2014). ปัญหาคับใจในวันที่ไร้ “หน้าอก”. เมื่อต้องตัด “เต้านม” จากมะเร็ง (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559, จากเว็บไซต์:
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000113184
Gotoknow. (2015). ยามที่กระแส "เต้านมเทียม" เริ่มจางหายมาเย็บเต้ากันเถอะค่ะ (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2559, จากเว็บไซต์: https://www.gotoknow.org/
posts/337924
จัดทำโดยวิชยุตม์ แหนเศษ5701210316 Sec.A No.11
เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมได้ดีเลยครับ ��������
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่า
ตอบลบขอบคุณสำหรับสาระดีๆนะคะ
ตอบลบขอบคุณสำหรับข้อมูลดีนะค่ะ ได้ความรู้เยอะเลย
ตอบลบมีประโยชน์ดีมากๆเรยค่ะ ขอบคุนมากนะค่ะ
ตอบลบเป็นประโยขน์ต่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านมอย่างมากเลยคะ
ตอบลบเป็นเนื้อหาที่มีขประโยชน์มากเรยคะสามารถนำไปเป็นความรู้ในการดูแลตนเองได้เยอะเรยคะ
ตอบลบขอรบรบกวนอยากถามว่าผ้าที่ใช้เย็บ ชื่อผ้าอะไรแลัหาซื้อได้ที่ไหนคะ ขอบคุณมากค่ะ
ตอบลบ