Intravenous Pyelography (IVP) คือการตรวจไตและทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสี
มีประโยชน์อย่างยิ่งในการวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่
โรคนิ่วที่ตำแหน่งต่างๆ (stones) ไม่ว่าจะเป็นนิ่วในเนื้อไต
นิ่วที่กรวยไต นิ่วทีท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือนิ่วในท่อปัสสาวะ เป็นต้น
วินิจฉัยโรคเนื้องอกชนิดต่างๆ (tumors) ทั้งชนิดเนื้องอกธรรมดาและเนื้องอกที่เป็นมะเร็งร้าย
รวมทั้งวินิจฉัยความผิดปกติในการทำหน้าที่ของระบบขับถ่ายปัสสาวะตั้งแต่ไต ท่อไต
กระเพาะปัสสาวะ จนถึงท่อปัสสาวะ
ข้อปฏิบัติในการเตรียมตัวก่อนตรวจ
1. ให้รับประทานอาหารอ่อน (เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม) ในมื้อเย็นของวันก่อนส่งตรวจ
2. ก่อนวันตรวจให้รับประทานยาระบายเพื่อระบายอุจจาระออกให้หมด
3. ให้งดน้ำ งดอาหาร ก่อนตรวจ 4-6 ชั่วโมง
4. ถ้ามีฟิล์มเก่าหรือฟิล์มจากโรงพยาบาลอื่นให้นำมาด้วยทุกครั้ง
วิธีการทำงาน
การตรวจ IVP เป็นการฉีดสารทึบแสงเข้าหลอดเลือดดำแล้วถ่ายภาพรังสีเพื่อการวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยสีที่ใช้ในการตรวจ
IVP เป็นสารไอโอดีน (iodine dye) ซึ่งเป็นสารทึบแสงที่สามารถถ่ายภาพเอ็กซเรย์ได้โดยจะเห็นปรากฎเป็นสีขาวบนแผ่นฟิล์ม การที่สีดังกล่าวเป็นสารทึบแสงจึงช่วยให้รังสีแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยทางรังสีวิทยาได้เป็นอย่างดี เมื่อฉีดสารทึบแสงเข้าหลอดเลือดดำแล้วจะถ่ายภาพรังสีเป็นระยะๆ เพื่อดูหน้าที่การขับถ่ายของไต ดูลักษณะของไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ หลังจากฉีดสารทึบแสงเข้าไประยะ 2- 5 นาทีจะเห็นรูปของไตอย่างชัดเจน ถ้าถ่ายภาพหลังจากฉีดสารทึบแสง 6-7 นาทีจะเห็นกรวยไต เมื่อสารทึบแสงเคลื่อนลงมาตํ่าลงจะเห็นท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ
ขั้นตอนการตรวจ
- ให้ผู้ป่วยปัสสาวะทิ้งเพื่อเตรียมรับการตรวจ และถ่ายภาพรังสีในท่านอนก่อน 1 ภาพ
- ฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในเส้นเลือดดำ ในระหว่างการฉีดสารทึบรังสี ผู้ป่วยอาจรู้สึกร้อนวูบวาบที่ตัว ขมที่ลำคอ ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออกลึกๆ อย่าเพิ่งกลืนน้ำลาย อาการดังกล่าวจะค่อยทุเลาลงในเวลา 5-10 นาที
- ขณะถ่ายภาพเอกซเรย์จะให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจเพื่อลดการเกิดภาพไหว (Blur)
- หลังจากฉีดสารทึบรังสีเสร็จ ห้ามผู้ป่วยปัสสาวะจนกว่าเจ้าหน้าที่จะบอก
- ถ่ายภาพรังสีเป็นระยะตามลำดับขั้นตอนการตรวจ
- รอให้ผู้ป่วยปวดปัสสาวะเต็มที่ อาจจะให้ดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ปวดปัสสาวะได้เร็วขึ้น
- ให้ผู้ป่วยปัสสาวะออกให้หมด และถ่ายภาพรังสีอีก 1 ภาพ
วิธีการตรวจ
ช่วงเวลา 1-5
นาทีเพื่อดูเฉพาะที่ไต (kidney) 2 ข้าง จากภาพด้านล่าง 2 ภาพ จะเห็นไตที่มีหินปูน (ภาพ A) และไตทั้งสองข้างที่ไม่มีหินปูนจะเห็นการ excrete ของสารทึบรังสี (ภาพ B)
A
B
หลังจากนั้นถ่ายภาพที่เวลา 10-15 นาทีในท่านอนคว่ำและนอนหงาย (KUB) เพื่อดูสารทึบรังสีที่ท่อไต (ureter) แสดงในภาพ C
C
การถ่ายภาพที่เวลา 20-25 นาที เพื่อดูสารทึบรังสีที่ท่อไตและในกระเพาะปัสสาวะ
เมื่อสารทึบรังสีเข้าไปอยู่จนเต็มในกระเพาะปัสสาวะผู้ป่วยจะรู้สึกปวดปัสสาวะ (บางรายอาจจะต้องดื่มน้ำเพิ่มเพื่อให้กระเพราะปัสสาวะมีน้ำเต็มสามารถเห็นรูปร่างชัดเจน) เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะต้องให้ไปห้องน้ำและกลับมาถ่ายภาพหลังจากปัสสาวะ
ซึ่งเรียกท่านี้ว่า post voiding
อาจมีการสั่งถ่ายฟิล์มเพิ่มหลังจากรังสีแพทย์ได้ตรวจดูฟิล์ม โดยการถ่ายท่าเอียง ซึ่งอาจจะถ่ายเอียงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้
ในบางกรณีอาจมีการสั่งถ่ายท่า up
right เพื่อดูความผิดปกติที่กระเพาะปัสสาวะ ดังแสดงในภาพล่าง
ติด marker บอกเวลา บอกตำแหน่งทั้งด้านซ้ายและขวาหลังฉีด ต้องจับเวลาเพื่อทำการถ่ายให้ถูกต้องเพราะยาที่ฉีดจะไปตามเส้นเลือดจะแสดงให้เห็นชัดเจนที่จุดต่างๆ ตามเวลาที่กำหนด
หลังการตรวจ
1. แนะนำให้ดื่มนํ้ามากๆ เพื่อป้องกันการขาดนํ้าและอ่อนเพลีย
2. ภายหลังตรวจ 8 ชั่วโมงแรกให้พักผ่อน โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ยังไม่แข็งแรง
2. ภายหลังตรวจ 8 ชั่วโมงแรกให้พักผ่อน โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ยังไม่แข็งแรง
ข้อดี
1. เป็นการตรวจแล้วไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
เมื่อทำการตรวจแล้วสามารถกลับบ้านได้เลย
2. เป็นการตรวจที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
3. ไม่มีสารตกค้างหรือถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย
ข้อเสีย
1. ระยะเวลาในการตรวจนาน มากกว่า
30 นาที เนื่องจากต้องถ่ายภาพ X-Ray เป็นระยะ
2. ไม่เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถงดน้ำ
งดอาหาร และสวนปัสสาวะได้
3. ไม่สามารถเห็นไตที่เสียการทำงานแล้วได้
อ้างอิง
นพ.วรวุฒิ
เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ. (2552). การตรวจไตและทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสี.
สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559. จาก http://www.vachiraphuket.go.th/www/hemodialysis/know5.php
อรปภา
ผิวเหลือง. (2552). รังสีเทคนิค กับการทบทวนเทคนิคการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ.
สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559. จาก https://www.gotoknow.org/posts/243339
healthcarethai. (ม.ป.ป.). วิธีการตรวจพิเศษเพื่อวินิจฉัยปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะ.
สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559. จาก http://www.healthcarethai.com/ตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ/
Siamhealth. (ม.ป.ป.). การวินิจฉัยนิ่วในไต. สืบค้นเมื่อ 30
มีนาคม 2559. จาก http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/renal/stone_symtom.html
urnurse. (ม.ป.ป.). IVP:Intra-Venous Pyelography.
สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2559. จาก http://www.urnurse.net/x-ray-IVP.html
จัดทำโดย นางสาวผริตา คำเขื่อน
570121147 sec.A
ข้อมูลมีประโยชน์มาก ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ
ตอบลบจ้อมูลมีประโยชน์ครับ ...แต่ยาวไปหน่อย คนทั่วไปไม่ค่อยนิยมอ่านอะไรยาวๆเท่าไรนะครับ งานดีมากครับ
ตอบลบขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ
ตอบลบข้อมูลดีมากเลยครับ ขอบคุณมากๆเลยนะครับ
ตอบลบขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้มากค่ะ
ตอบลบขอบคุณมากค่า มีประโยชน์มากเลย
ตอบลบชอบตรงที่ตรวจแล้ว สามารถกลับบ้านได้เลยอ่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ เราแบบชอบทานอาหารรสจัดมาก ทีนีคงต้องปรับเปลี่ยนลักษณะนิสัยการทานซะแล้ว
ตอบลบข้อมูลมีประโยชน์มากเลยคะ เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจง่ายดีคะ
ตอบลบข้อมูลมีประโยชน์มากเลยคะ เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจง่ายดีคะ
ตอบลบได้ความรู้เยอะเลยค่ะ
ตอบลบการเรียบเรียงข้อมูลก็เป็นระเบียบ เข้าใจง่ายมากๆ
ขอบคุณมากนะคะ
ขอบคุณ ข้อมูลดีๆนะครับมีการให้รายละเอียดต่างๆในแต่ละด้านได้ดี ตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับการตรวจ อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลนี้ไปบอกต่อเพื่อนๆได้อีกด้วย :)
ตอบลบข้อมูลมีประโยชน์มากๆครับ
ตอบลบได้ความรู้ไปบอกเมียแล้วครัช
ตอบลบเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์กับชีวิตประจำวันมากครับ
ตอบลบขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ตอบลบมีรูปประกอบทำให้เข้าใจง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ
ตอบลบข้อมูลดีมากๆๆเลยงับบบ
ตอบลบ