วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นไฟฟ้า



ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในหัวใจหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่ ความผิดปกติแต่กำเนิดหรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบความผิดปกติของร่างกายที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายผิดปกติ ยาและสารบางชนิด เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน คาเฟอีนที่อยู่ในชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม หรือความเครียดและความวิตกกังวล ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว หรือ Atrial Fibrillation (AF) เป็นต้น


การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ


การใช้ยาควบคุมจังหวะของหัวใจ ช่วยลดความถี่และความรุนแรงได้ แต่ไม่ช่วยให้หายขาด  เช่น ยาแอสไพรินซึ่งผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดจำเป็นต้องกินต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ยาในกลุ่มนี้คือ warfarin หรือ Coumadin ถ้าระดับยาสูงเกินไปอาจทำให้เกิดเลือดออกในอวัยวะต่างๆได้ ยากลุ่ม beta-receptor blockers ผู้ป่วยที่ใช้ยาบางรายอาจมีอาการอ่อนแรงหรือความรู้สึกทางเพศลดลง เป็นต้น
การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) เป็นการฝังเครื่องมือเล็กๆ ไว้ใต้ผิวหนังบริเวณกระดูกไหปลาร้า เพื่อตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจ และสอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจเพื่อควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้นตามอัตราที่กำหนด ความเสี่ยงในการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะค คือ การใส่และวางสายในห้องหัวใจอาจทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ส่วนใหญ่ ไม่รุนแรงและเป็นเพียงชั่วคราวระยะสั้นระหว่างการวางสายนำสัญญาณ ในผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงหัวใจโตหัวใจล้มเหลว โอกาสเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะมีมากขึ้นเล็กน้อย
การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator) เป็นการฝังเครื่องมือคล้ายกับเครื่องกระตุ้นหัวใจ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ (ventricular fibrillation) ซึ่งอาจอันตรายต่อชีวิต โดยเมื่อหัวใจเต้นช้า เครื่องมือจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นหัวใจ แต่เมื่อหัวใจเต้นเร็ว เครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้าในระดับที่เหมาะสมเพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นปกติทันทีต้องทำการผ่าตัดฝังเครื่องและสายเข้าในตัวคน  
       ข้อเสียของการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจคือ แม้จะเป็นการผ่าตัดเล็ก อาศัยยาชาเฉพาะที่และยานอนหลับหรือยาสลบอ่อนๆ แต่การผ่าตัดอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ เช่น ปัญหาเลือดออก การติดเชื้อ โดยเฉพาะสิ่งที่ใส่เข้าไปเป็นสิ่งแปลกปลอมต่างจากธรรมชาติ แพทย์จึงต้องให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว อาจมีอาการหัวใจล้มเหลวมากขึ้น หรือหัวใจเต้นผิดปกติระหว่างการใส่สายขั้วไฟฟ้าเข้าไปในหัวใจ สายที่ใส่นี้กว่าจะเข้าที่ต้องใช้เวลา รอให้เกิดพังพืดขึ้นมาหุ้มยึดไว้ ดังนั้นในระยะแรกที่ใส่สายจึงอาจเลื่อนหลุดจากตำแหน่ง ทำให้การทำงานของเครื่องผิดพลาดได้ อาจต้องผ่าตัดซ้ำเพื่อเลื่อนตำแหน่งสายให้เหมาะสม 


               ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จึงได้นำวิธีการรักษาแนวทางใหม่ที่เรียกว่า CFAE Ablation (Complex Fractionated Atrial Electrogram) หรือ การจี้ไฟฟ้าหัวใจบริเวณที่มี complex fractionated atrial electrogram มาใช้ในการรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเต้นพริ้ว โดย นพ.กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก  ริม ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา และอายุรแพทย์โรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยากระแสไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ พร้อมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจได้รักษาผู้มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้



 ในการจี้ไฟฟ้าหัวใจบริเวณที่มี complex fractionated Atrial Electrogram หรือ CFAE ablation นำเทคโนโลยี 3 – Dimension electroanatomical mapping มาใช้ในการจำลองภาพ 3 มิติของหัวใจ และใช้ระบบแสดงภาพของ CARTO และ CARTO-SOUND ซึ่งเป็นระบบอัลตราซาวนด์ในการสร้างภาพกราฟฟิค 3 มิติ ทำให้แพทย์เห็นโครงสร้างของหัวใจและตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติได้อย่างชัดเจน ในการจี้จะต้องใส่สายสวนชนิดพิเศษเข้าไปจี้จุดกำเนิดคลื่นหัวใจที่ซับซ้อนหรือวงจรการเต้นผิดปกติในห้องหัวใจ โดยใช้คลื่นวิทยุจี้ทำลายจุดกำเนิดนั้นๆ มีผลให้การนำไฟฟ้าที่ผิดปกติขาดจากกัน 
การจี้ไฟฟ้าหัวใจบริเวณที่มี complex fractionated Atrial Electrogram หรือ CFAE ablation จะใช้ในการรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดปกติ (SVT) หัวใจสั่นพริ้ว (AF) Flutter หัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ (VT) ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายที่สุดและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตกะทันหันได้ อีกทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงในการรักษาและช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น 



ข้อดี
ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและสามารถทำลายวงจรไฟฟ้าที่ผิดปกติภายในหัวใจให้หายขาดได้อย่างถาวรได้โดยไม่ต้องกินยา


ข้อเสีย

ตำแหน่งของความผิดปกติอาจมีได้หลายตำแหน่ง ถ้าหากยังตรวจไม่พบอาจต้องจี้รักษาครั้งที่สอง




อ้างอิง

ฐานเศรษฐกิจ.(2558). ‘CFAE Ablation’ รักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะเทคนิคใหม่ที่รพ.บำรุงราษฎร์.  [ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก http://www.thansettakij.com/2015/09/10/10701.สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2559
ไทยรัฐออนไลน์.(2559). นวัตกรรมใหม่ "คลื่นไฟฟ้าจี้หัวใจ" รักษาภาวะเต้นผิดจังหวะแม่นยำ. [ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก : http://www.thairath.co.th/content/135751สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2559
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (ม.ป.ป.). ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ. [ออนไลน์]. 
       เข้าถึงได้จาก : https://www.bumrungrad.com/th/arrhythmia-treatment- center-bangkok-thailand/arrhythmia. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. (ม.ป.ป.). Cardiac Electrophysiology Lab (EP Lab). [ออนไลน์]. 
       เข้าถึงได้จาก : https://www.bumrungrad.com/th/arrhythmia-treatment-center-bangkok-thailand/procedures/cardiac-electrophysiology-ep-lab. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2559
สถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แปซิฟิก ริม. (ม.ป.ป.). นวัตกรรมการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ.[ออนไลน์].
       เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokhospital.com/pacific-rim/index_th.php? Treatment-Options. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2559



จัดทำโดย นางสาวพลอยไอริณ แก้วมีศรี

1 ความคิดเห็น:

  1. pg club gaming ค่ายเกมเว็บไซต์ตรง มีชื่อที่ถูกสารภาพว่า ดีเยี่ยมที่สุด pg slot เกมสล็อต ยอดฮิตที่มีมาให้ได้เลือกไม่ต่ำลงมากยิ่งกว่า 300 เกม สะสมเกมประสิทธิภาพ มาจากนานัปการ

    ตอบลบ