เครื่อง Thermotron-RF8
|
ก้อนมะเร็งสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย บางก้อนอาจอยู่บริเวณพื้นผิวตื้น ๆ หรืออาจอยู่ลึกเข้าไปในร่างกาย การรักษาโรคมะเร็งมีหลายวิธี
ได้แก่ การผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด และการฉายรังสี รวมทั้งการรักษาด้วยความร้อน โดยความร้อนที่ใช้มาจากหลากแหล่ง
เช่น การใช้คลื่นอัลตราซาวนด์ (Ultrasound)
การใช้คลื่นไมโครเวฟ (Microwave)
และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงหรือคลื่นวิทยุ (Radio
Frequency : RF) เป็นต้น
พลังงานความร้อนที่ใช้ในการรักษามะเร็งที่ได้จากแหล่งกำเนิดความร้อนจากแต่ละแหล่งจะแตกต่างกัน และมีข้อจำกัดในการผ่านทะลุทะลวงเพื่อเข้าไปยังก้อนมะเร็งตามจุดต่าง
ๆ ไม่เท่ากัน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา
เช่น คลื่นอัลตราซาวด์ไม่สามารถวิ่งผ่านกระดูก และอวัยวะที่มีอากาศอยู่ภายในได้
เช่น ก้อนเนื้อที่อยู่ภายใต้ซี่โครง ปอด ลำไส้ เป็นต้น คลื่นไมโครเวฟก็ทำได้เพียงรักษาในบริเวณที่ตื้นๆ
เท่านั้น ส่วนคลื่น RF
สามารถเข้าถึงก้อนมะเร็งที่อยู่ลึกลงไปในร่างกาย (Deep
Seated Tumor) ได้เกือบทุกตำแหน่ง ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือแพทย์สำหรับรักษามะเร็งด้วยความร้อนที่เรียกว่า “ Thermotron-RF8 เครื่องรักษามะเร็งด้วยความร้อน” ขึ้นมา สำหรับประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาภรณ์เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่ได้นำเครื่อง Thermotron-RF8 มาใช้ นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ที่ได้นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเช่นเดียวกัน
Thermotron-RF8 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งด้วยความร้อน โดยปล่อยคลื่น RF ที่ความถี่ 8 MHz ซึ่งให้พลังงานความร้อนกระจายไปยังก้อนมะเร็งที่อุณหภูมิประมาณ 42 - 43 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมินี้สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ทั้งก้อนมะเร็งที่อยู่ไม่ลึกจากผิวหนัง (Superficial Tumor) และก้อนมะเร็งที่อยู่ลึกลงไปในร่างกาย 15 เซนติเมตร (Deep Seated Tumor)
- มะเร็งศีรษะและลำคอ (Head and neck cancer)
- มะเร็งเต้านม (Breast cancer)
- มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer)
- มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer)
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder cancer)
- มะเร็งกลุ่มเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ (Soft Tissue tumor)
- มะเร็งเม็ดสีเมลาโนมา (Malignant Melanoma)
- ผู้ป่วยที่มีเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- ผู้ป่วยที่มีโลหะฝังอยู่ในบริเวณที่จะทำการรักษา
- ผู้ป่วยที่แปะแผ่นยาระงับปวดบริเวณผิวหนัง
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับสมอง ตา และมะเร็งเม็ดเลือด
- ผู้ป่วยที่พร่องในการสื่อสาร
1. หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดปวดอย่างน้อย
6
ชั่วโมงก่อนรับการรักษาด้วยความร้อน เนื่องจากจะทำให้การประเมินความเจ็บปวดไม่ตรงตามความเป็นจริง
2. รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ ยกเว้นในกรณีที่แพทย์มีคำสั่งให้งดอาหารก่อนการรักษา
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน
4. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานมาก เนื่องจากจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า
5. แนะนำเทคนิคการผ่อนคลายระหว่างการรักษา เช่น การหายใจอย่างถูกวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายระหว่างการรักษา
2. รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ ยกเว้นในกรณีที่แพทย์มีคำสั่งให้งดอาหารก่อนการรักษา
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน
4. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานมาก เนื่องจากจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า
5. แนะนำเทคนิคการผ่อนคลายระหว่างการรักษา เช่น การหายใจอย่างถูกวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายระหว่างการรักษา
1. มารับการตรวจตามนัด
เพื่อประเมินผลการรักษา
2. มาพบแพทย์ก่อนวันนัดหากมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้สูง ปวด หรือผิวหนังเกิดตุ่มพอง
2. มาพบแพทย์ก่อนวันนัดหากมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้สูง ปวด หรือผิวหนังเกิดตุ่มพอง
1. ผิวแดง มีตุ่มพอง หรือมีความรู้สึกเจ็บปวดหรือแสบร้อนบริเวณที่รักษา หรืออาจมีชั้นใต้ผิวหนังหนาตัวขึ้นได้โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ชั้นไขมันหนา
2. ภาวะขาดน้ำจากการเสียเหงื่อ
กระหายน้ำ
3. อ่อนเพลียและอ่อนล้ามากกว่าปกติ
และจะกลับมาเป็นปกติภายใน 24
ชั่วโมงหลังนอนพักผ่อน
4. อาการปวดระหว่างการรักษา
คลื่นไส้หรืออาเจียน แต่อาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปหลังจากหยุดการรักษา
- เป็นการรักษาที่ตรงตำแหน่ง ไม่ทำลายผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ
- คลื่น RF สามารถผ่านกระดูก หรือใช้กับอวัยวะที่เป็นท่อกลวง หรืออวัยวะที่มีอากาศอยู่ภายในได้ เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ ปอด มดลูก ต่อมลูกหมาก เป็นต้น
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาเมื่อใช้ร่วมกับการรักษาแบบฉายรังสี เคมีบำบัด ผ่าตัดและภูมิคุ้มกันบำบัด
- สามารถปรับขนาดคลื่น RF เพื่อให้ความร้อนและกำหนดความลึกของการให้ความร้อนได้
ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
เภสัชกร
อภัย ราษฎรวิจิตร. (2558). กลุ่มยาแก้ปวดและยาพาราเซตามอล (Analgesics
and Paracetamol). สืบค้นเมื่อวันที่ 26
มีนาคม 2559. จาก http://haamor.com/th/ยาแก้ปวด-ยาพาราเซตามอล/
โรงพยาบาลศิริราช
ปิยมหาราชการุณย์. (2558). Hyperthermia เทคโนโลยีใหม่ในการรักษาโรคมะเร็ง.
สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559. จาก http://www.siphhospital.com/th/news/article-details.php?id=81#B1
โรงพยาบาลศิริราช
ปิยมหาราชการุณย์. (2558). การเตรียมตัวสำหรับการเข้ารับบริการด้วยเครื่อง Hyperthermia. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559. จาก http://www.siphhospital.com/th/news/article-details.php?id=80
หน่วยประชาสัมพันธ์ฯ
: โรงพยาบาลจุฬาภรณ์. (2557). Thermotron-RF8 ทางเลือกใหม่ของการรักษาโรคมะเร็ง
แห่งแรกในประเทศไทย ปลายเดือนเมษายนนี้. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559. จาก http://www.cccthai.org/l-th/index.php/2009-06-13-08-15-49/924-thermotron-rf8-.html
หน่วยประชาสัมพันธ์ฯ
: โรงพยาบาลจุฬาภรณ์. (2557). ความร้อนสู้มะเร็งกับ Thermotron-RF8.
สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559. จาก http://www.cccthai.org/l-th/index.php/2009-06-13-08-18-36/2009-07-15-05-05-31/951-qq-thermotron-rf8.html
จัดทำโดย นางสาวนิลาวัลย์ ใจมุข
นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค
ขอบคุณค่ะ เนื้อหาดี มีประโยชน์มากเลยค่ะ 😀😀
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบเนื้อหามีประโยชน์มากค่าา
ตอบลบเนื้อหามีประโยชน์มากค่าา
ตอบลบอย่างเวิร์ค
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจดีค่ะ มีประโยชน์มากๆค่ะ
ตอบลบน่าสนใจมากๆเลยค่ะ
ตอบลบน่าสนใจมากๆเลยค่ะ
ตอบลบ