การคลอดเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่สามารถดำเนินไปได้เอง
หากผู้คลอดต้องคลอดเองทางช่องคลอดก็จะต้องเผชิญกับความเจ็บปวดซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การเจ็บครรภ์คลอด คือ อาการปวดจากมดลูกบีบตัว มีผลทำให้ปากมดลูกบางลงและเปิดออกพร้อมที่จะให้ทารกและ/หรือรกในมดลูกถูกขับออกมา การเจ็บครรภ์คลอดเป็นความปวดที่รุนแรง ดังนั้นการเตรียมมารดาตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์หรือใช้วิธีลดปวดโดยไม่ใช้ยาในระยะรอคลอดจึงถือเป็นสิ่งสำคัญ การลดปวดในระยะคลอดมีกลไกหลักในการลดปวด
3 ประการ ได้แก่
1.) ลดตัวกระตุ้นความปวด
เช่น ท่าทาง การเคลื่อนไหว
2.) การกระตุ้นประสาทส่วนปลาย
เช่น การประคบร้อน ประคบเย็น
3.) การส่งเสริมการยับยั้งการส่งกระแสประสาทจากไขสันหลังในระดับสมอง
เช่น การใช้ดนตรี การเพ่งจุดสนใจ และ การใช้อโรมาเทอราพีหรือการใช้สารหอมระเหย
Aromatherapy หรือการบำบัดด้วยกลิ่นหอมจากมวลพฤกษา
1. น้ำมันกลิ่นหอมระเหย ได้แก่ กลิ่น lavender กลิ่น Frankincense กลิ่นส้มแมนดาริน (mandarin) กลิ่นมะนาว
กลิ่นคาโมไมล์ กลิ่นสะระแหน่ กลิ่นมะลิ และ กลิ่นกุหลาบ เป็นต้น
2. วิธีการใช้กลิ่นหอมระเหย ได้แก่
กลิ่น lavender |
กลิ่นมะนาว |
กลิ่นกุหลาบ |
2.1.
ใช้ผสมน้ำอาบ หรือใช้ตักอาบหรืออาบจากฝักบัว หลังจากอาบน้ำเสร็จใช้น้ำมันหอมระเหยที่ผสมกับน้ำมันนวดบริเวณรอบลำคอ
หัวไหล่ แขน และหลัง โดยใช้ฝ่ามือนวดหมุนตามเข็มนาฬิกา
หรืออาจจะนวดจากต้นขาลงมาถึงเท้า แต่ควรหลีกเลี่ยงการนวดบนสันหลัง และที่สำคัญการนวดเพื่อรักษาต้องกระทำโดยผู้ชำนาญ
2.2.
ผสมน้ำมันหอมระเหยลงในตัวพา ซึ่งอาจเป็นน้ำสะอาด
น้ำดอกไม้แช่เย็นหรือน้ำชาสมุนไพรเอามากวนๆ จนเข้ากัน จากนั้นใช้ผ้าจุ่ม บิดหมาดๆ
แล้วนำมาประคบตามจุดที่ต้องการ ถ้าใช้น้ำร้อนก็เรียกว่า ประคบร้อน
2.3. น้ำมันหอมระเหยผสมให้เจือจาง เช่น หยดลงบนกระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้าหรือสำลี
แล้วจึงสูดกลิ่น หรือไม่อีกทีก็ผสมน้ำมันหอมระเหยลงในตัวพาก่อนแล้วจึงสูดดมโดยตรงหรือหยดลงบนผ้าอีกทีแล้วค่อยดมก็ได้
2.4. น้ำมันหอมระเหยผสมกับน้ำอุ่นที่ไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส แล้วเขย่าๆ ให้เข้ากัน
จากนั้นบรรจุลงในภาชนะที่มีหัวฉีดพ่นละออง แล้วถึงเอาไปพ่น ตามห้องที่สถานที่ตามต้องการ
2.5.
ผสมน้ำมันหอมระเหยลงในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางซึ่งไม่มีการแต่งกลิ่น
ถ้าใช้กับใบหน้าไม่ควรใช้เกิน 2%
ถ้าใช้กับร่างกายเข้มข้นได้มากกว่าเล็กน้อย แต่ก็ไม่เกิน 3%
2.6.
หยดน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำและในตะเกียง ก่อนจะเผาที่อุณหภูมิไม่เกิน 60
องศาเซลเซียส เท่านี้ก็จะได้ไอระเหยของน้ำมันหอมแล้วก็สูดเข้าไป
2.7.
การนั่งแช่ หรือเอามือหรือเท้าแช่เพื่อจุดประสงค์ในการรักษาเฉพาะที่
การแช่ควรแช่ในน้ำอุ่นและให้อุ่นตลอดเวลาการแช่ราวๆ 10 นาที
หยดน้ำมันหอมระเหยลงไปซัก 3-4 หยด
3. วิธีการใช้อโรมาเทอราพีลดปวด
ความเจ็บปวดจากการคลอดจะมีระดับความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามระดับความก้าวหน้าของการคลอด ในระยะเจ็บครรภ์คลอดหากมารดามีความวิตกกังวลจะทำให้ระดับสาร catecholamine สูงขึ้น สาร catecholamine นี้มีผลทำให้เส้นเลือดหดตัว เลือดไปเลี้ยงมดลูกได้น้อย ดังนั้นการใช้อโรมาเทอราพีในการนวดหรือการสูดดมจะช่วยลดความวิตกกังวลจากการเจ็บครรภ์คลอด ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความกลัวจากการคลอดได้ ส่งเสริมให้รู้สึกสุขกายสุขใจ (sense of well-being) ช่วยให้จิตใจเบิกบานและมีการผ่อนคลายได้ เมื่อน้ำมันหอมระเหยเข้าสู่ร่างกายจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย ทำให้เกิดการผ่อนคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อจึงช่วยลดความเจ็บปวด นอกจากนี้การนวดเป็นวิธีการที่ช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของผู้คลอดได้ดีอีกวิธีการหนึ่งและเมื่อรวมกับกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่างๆแล้วก็จะยิ่งช่วยเพิ่มจุดสนใจของผู้คลอด จึงเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของผู้คลอดจากความเจ็บปวดได้ 4. โรงพยาบาลที่ใช้วิธีการใช้สารหอมระเหยกลิ่นต่างๆ ในระยะคลอด เช่น
ในต่างประเทศมีการนำวิธีนี้มาใช้อย่างแพร่หลาย
เช่น โรงพยาบาล The Oxford Radcliffe NHS Hospital
Trust ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ ได้นำอโรมาเธอมาพีมาใช้ในการคลอดบุตรในปี
1990 และการดูแลโดยพยาบาลผดุงครรภ์ส่วนใหญ่
และผู้คลอดจำนวนมากชอบความสบายของอโรมาเธอมาพี และต้องการใช้หลังจากตั้งครรภ์ น้ำมันหอมระเหยที่นิยมใช้ ได้แก่ ลาเวนเดอร์ คาไมล์ ฟรานคินเซนส์ สะระแหน่ กุหลาบ และส้มแมนดาริน
ซึ่งมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลาย ลดการปวด แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยการหดเกร็ง
ทำให้จิตใจสบาย สามารถใช้นวดและสูดดม หยดในน้ำสำหรับแช่เท้า นวดประคบร้อน
หรือหยดในอ่างอาบน้ำ
ในห้องคลอด (Maternity
Ward) ของโรงพยาบาลอาไมเดล ประเทศอังกฤษ จะมีอ่างสปาอุ่นๆ หอมๆ
พร้อมเพลงเบาๆ สบายๆ ให้หญิงมีครรภ์ใกล้คลอดลงไปแช่ในขณะที่ปวดครรภ์และรอคลอด
ในประเทศไทยมีการวิจัยเกี่ยวกับการใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะกรูดในการนวดหน้าท้องในระยะที่หนึ่งของการคลอด
ของโรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยแบ่งผู้คลอดเป็นสองกลุ่ม กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการนวดหน้าท้องร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะกรูด
ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการนวดหน้าท้องอย่างเดียว
จากการศึกษาวิจัยโดยการวัดผลการลดความเจ็บปวด แม้ผลที่ได้จะไม่สามารถลดปวดได้ แต่ก็สามารถทำให้ผู้คลอดเกิดความพึงพอใจในระดับสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใช้มะกรูดนวดหน้าท้อง
จึงถือว่าการใช้น้ำมันหอมระเหยลดปวดขณะคลอดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแล
5. วิธีการใช้อโรมาเทอราพี และข้อเสียของการใช้อโรมาเทอราพีเพื่อลดปวดจากการเจ็บครรภ์คลอด
ความเจ็บปวดจากการเจ็บครรภ์ดลอด
จะมีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความระดับความก้าวหน้าของการคลอด
หากผู้คลอดมีความกลัวและวิตกกังวล จะทำให้สาร Catecholamine เพิ่มขึ้น ทำให้เส้นเลือดหดตัว เลือดไปเลี้ยงมดลูกได้น้อย
การใช้สารหอมระเหยอโรมาเทอราพีมาใช้บรรเทาความเจ็บปวดโดยการนวดหรือสูดดมเป็นวิธีการบรรเทาเจ็บครรภ์คลอดโดยวิธีธรรมชาติ
ปลอดภัยต่อผู้คลอดและทารกในครรภ์ ช่วยทำให้ผ่อนคลาย
ลดความกลัวและวิตกกังวลจากการคลอดได้ ส่งเสริมให้รู้สึกสุขกาย สุขใจ (Sense of well-being) ช่วยให้จิตใจเบิกบาน
โดยเมื่อน้ำมันหอมระเหยเข้าสู้ร่างกายจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และส่วนปลาย นอกจากนี้การนวดเป็นวิธีการช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของผู้คลอดได้อีกวิธีหนึ่ง
และเมื่อรวมกับกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยกลิ่นต่างๆแล้วจะยิ่งช่วยช่วยเพิ่มจุดสนใจของผู้คลอด
ซึ่งวิธีการลดปวดโดยใช้อโรมาเทอราพีนี้
ให้ผลดีซึ่งแตกต่างจากการใช้ยาแก้ปวด ซึ่งการใช้ยาทำให้เกิดผลข้างเคียง
เช่นมีฤทธิ์กดการหายใจ ทำให้หายใจลำบาก ทารกในครรภ์ง่วงซึม ดังนั้น การใช้อโรมาเทอราพี
ลดปวดขณะคลอดจึงเป็นสิ่งมหัสจรรย์ในการนำมาใช้ลดปวดขณะรอคลอดได้เป็นอย่างดี
คลิปวีดีโอ : Aromatherapy
in pregnancy
แหล่งอ้างอิง
ดาริกา
วรวงศ์และคณะ.(2554). ระดับความเจ็บปวดของมารดาในระยะที่
1 ของการคลอดหลังได้รับการบรรเทาปวด
โดยใช้เทคนิคการหายใจ
การลูบหน้าท้องและการนวดก้นกบ. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559.
จากชื่อเว็บไซด์ file:///C:/Users/user/Downloads/742-1325-1-PB.pdf
นิตยสารแม่รักลูก.(2556).
การใช้ยาระงับความเจ็บปวดระหว่างรอคลอด. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559.
จากชื่อเว็บไซด์ http://www.maerakluke.com
ลักขณา
ทานะผล.(2550). ผลของการน้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะกรูดในการนวดหน้าท้องต่อความเจ็บปวดระยะเวลา
ความพึงพอใจของคลอดในระยะที่หนึ่งของการคลอด.
สืบค้นเมื่อวัน 27 มีนาคม 2559.
จากชื่อเว็บไซต์: http://library.ratchathani.ac.th/ULIB/dublin.php?ID=1474#.VvnQlZw2LCg
ศศิธร
พุมดวง.(2546). การลดปวดในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559.
จากชื่อเว็บไซด์ file:///C:/Users/user/Downloads/6369-7164-1-PB%20(5).pdf
นพ.สันต์
ใจยอดศิลป์.(2558). การเจ็บครรภ์คลอดปกติ. สืบค้นเมื่อวัน 27 มีนาคม 2559.
จากชื่อเว็บไซต์: http://phyathaihospital.com/home/health-expert/2271
จัดทำโดย
นางสาวฉัตราวลี ธุระสิทธิ์
รหัส 5701210712 sec A
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น