โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
โรคเบาหวานเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน
(Insulin) ของร่างกายผิดปกติ อาจจะมีการสร้างได้น้อย หรือสร้างไม่ได้เลย
ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงาน หากเกิดความผิดปกติ
หรือทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ จะเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ เฉพาะสมองและระบบประสาทและอาจถึงชีวิตได้ โดยการตรวจหาค่าระดับน้ำตาลในเลือด ขณะงดอาหาร 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar; FBS) สามารถบอกถึงความผิดปกติได้ โดยอ่านค่าได้ดังนี้
ค่าปกติ ไม่เป็นเบาหวาน = น้อยกว่า 100 mg/dL
มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน = 100 ถึง 125 mg/dL
บ่งบอกว่าเป็นเบาหวาน = มากกว่า 126 mg/dL
บ่งบอกว่าเป็นเบาหวาน = มากกว่า 126 mg/dL
ประเภทของเบาหวาน
1.เบาหวานชนิดที่ 1
เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้าง insulin ได้อย่างเพียงพอ จึงจำเป็นต้องฉีด insulin เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
2.เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากการที่ตับอ่อนสามารถสร้าง
insulin
ได้ แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน จึงจำเป็นต้องกินยาหรือฉีด insulin เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด
ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการนำสมุนไพรมาช่วยในการรักษาโรคมากมายเนื่องจากเป็นพืชที่หาได้ง่าย
และยังมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรมากมายที่พูดถึงสรรพคุณของสมุนไพร
สำหรับโรคเบาหวานการใช้สมุนไพรก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
สมุนไพรกับเบาหวาน
มะระขี้นก
รายงานการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดีย พบว่ามะระขี้นกมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลอง
และผู้ป่วยเบาหวาน
และสามารถชะลอการเกิดต้อกระจกซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ โดยมีออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน
ออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส
และเพิ่มการใช้กลูโคสในตับ โดยในมะระขี้นกนี้จะมีสารคาแรนทิน (charantin)
และไวซีน (vicine) ซึ่งที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
นอกจากนี้ยังยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ และการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
(8 คน) พบว่าผู้ป่วยทนต่อกลูโคสได้ดีขึ้น ลดระดับน้ำตาลขณะอิ่ม
และลดความถี่ของการถ่ายปัสสาวะ นอกจากจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ยัง สามารถแก้ร้อนได้
แก้พิษ ฝีอักเสบ แก้ท้องผูกได้
ตำลึง
จากการศึกษางานวิจัยสรรพคุณของสมุนไพรลดระดับน้ำตาลในเลือด
ของทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่า ตำลึงสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
โดยสามารถใช้ได้ทั้งผล ใบ และราก นอกจากนี้ยังบำบัดอาการโรคผิวหนังจำพวกผื่นแพ้ต่างๆ และจากการทดลองทางคลินิก
(แบบ double-blind ขนานกัน 2 กลุ่ม) ในประเทศบังกลาเทศพบว่า
เมื่อให้ผงแช่แข็งแห้งของใบตำลึงวันละ 1.8 กรัมกับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิด 2 นาน 6
เดือนประกอบกับการควบคุมอาหาร พบว่า ค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (fasting
plasma glucose) ของกลุ่มผู้ป่วยลดลงจาก 178.8 เป็น 122.1 mg/dL และค่าน้ำตาลในเลือดแบบสุ่ม (random plasma glucose) จาก
245.4 เป็น 186.9 mg/dL โดยกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากการลดระดับน้ำตาลยังสามารถถอนพิษจากหมามุ้ย แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้เจ็บตา
ตาแดง
บอระเพ็ด
จากการวิจัยสกัดสารจากบอระเพ็ดในหนูปกติและหนูที่ทำให้เป็นเบาหวาน พบว่าเมื่อป้อนสารสกัดจากบอระเพ็ดให้กับหนูปกติ ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลเลือดของหนูปกติ
ซึ่งเมื่อป้อนสารให้กับหนูที่เป็นเบาหวาน
พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและเพิ่มระดับ insulin ได้ จากผลดังกล่าวทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้บอระเพ็ดยังช่วยแก้ไข้
แก้ร้อนใน กระหายน้ำ บำรุงกำลัง บำรุงไฟธาตุ ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคไข้พิษทุกชนิด
รักษาพยาธิในท้อง แก้ฟกช้ำ ปวดแสบปวดร้อน
อบเชย
การวิจัยในประเทศมาเลเซียพบว่า
อบเชยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยสารสกัดอบเชยสามารถออกฤทธิ์เลียนแบบอินซูลินได้
เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด
ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ส่วนงานวิจัยของ ดร.ริชาร์ด แอนเดอร์สัน
ซึ่งทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน
พบว่ากลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้อบเชยมีระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล
และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดดีขึ้นระหว่าง 12-30 % ซึ่งถือว่าเป็นผลที่น่าพึงพอใจในการนำไปใช้เพื่อป้องกันและใช้ร่วมกับยารักษาเบาหวานอื่นต่อไป
นอกจากนี้อบเชยยังช่วยแก้อ่อนเพลีย ขับผายลม แก้เสมหะ แก้ไข้ แก้หวัด แก้จุกเสียด
แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย อาการท้องเสียในเด็ก แก้ปวดประจำเดือน
เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งจากผลการวิจัยมหาวิทยาลัยแทกู เกาหลีใต้ และมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย
ได้ผลสรุปว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือแดง
สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองได้เมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ให้สารสกัดเห็ดหลินจือแดง โดยพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 23.5% และมีระดับอินซูลินในเลือดเพิ่มขึ้น 2.2 เท่า ทำให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงานได้
ลดการคั่งของน้ำตาลในเลือด และมีรายงานผลการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วย 70 รายโดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่น พบว่าหลังจากให้ผู้ป่วยกินเห็ดหลินจือแบบสกัดเป็นเวลา 3 เดือนสามารถลดระดับคลอเรสเตอรอลได้
74.2% ซึ่งให้ผลเช่นเดียวกับการศึกษาทางคลินิคของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์เมืองเซียงไฮ้
ที่พบว่าระดับคลอเรสเตอรอลลดลง การไหลเวียนเลือดดีขึ้น และยังช่วยให้เลือดลมดี
ผิวพรรณสดใส เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถขจัดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุกากเกิดโรคมะเร็งได้
ลดความดันในเลือด
การดูแลรักษาโรคเบาหวานที่สำคัญที่สุดคือการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับระดับปกติซึ่งสามารถทำได้หลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาหรือฮอร์โมน การออกกำลังกาย หรือการเลือกอาหารที่เหมาะสม รวมทั้งการเลือกใช้สมุนไพรในการควบคุมระดับน้ำตาล
อ้างอิง
คลินิกสมุนไพร. (2015). สมุนไพรอบเชยช่วยลดน้ำตาล รักษาเบาหวาน. สืบค้นเมื่อ25 มีนาคม, 2559,
แหล่งที่มา: http://clinicherbs.com/cinnamon/
คลินิกสมุนไพร. (2015). สมุนไพรอบเชยช่วยลดน้ำตาล รักษาเบาหวาน. สืบค้นเมื่อ25 มีนาคม, 2559,
แหล่งที่มา: http://clinicherbs.com/cinnamon/
ดูแลเบาหวาน.
(2015). ความรู้ทั่วไปเรื่องโรคเบาหวาน. สืบค้นเมื่อ25 มีนาคม, 2559, แหล่งที่มา:
http://www.diabetescareth.com/diabetes_detail.php?diabetesid=10
วีณา จิรัจฉริยากูล.(2555). มะระขี้นก.สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม, 2559, แหล่งที่มา:http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/90/มะระขี้นก/
หมอชาวบ้าน. (2549). ผักตำลึง : อาหารสมุนไพรริมรั้ว. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม, 2559, แหล่งที่มา: https://www.doctor.or.th/article/detail/1556
หมอชาวบ้าน.
(2553). ๓ สมุนไพร พิชิต โรคเบาหวาน. สืบค้นเมื่อ25
มีนาคม, 2559, แหล่งที่มา: https://www.doctor.or.th/article/detail/11212วีณา จิรัจฉริยากูล.(2555). มะระขี้นก.สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม, 2559, แหล่งที่มา:http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/90/มะระขี้นก/
หมอชาวบ้าน. (2549). ผักตำลึง : อาหารสมุนไพรริมรั้ว. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม, 2559, แหล่งที่มา: https://www.doctor.or.th/article/detail/1556
Attaweekorn Tunsatool. (2015). ผลการวิจัยเห็ดหลินจือแดง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้. สืบค้นเมื่อ25 มีนาคม, 2559, แหล่งที่มา: http://www.linhzhimin.com/งานวิจัยการรักษาโรคเบา/เบาหวาน-ความดัน-หัวใจ/
Marsmag. (2557). ตำลึง...ยาเบาหวานข้างรั้วบ้าน.
สืบค้นเมื่อ25 มีนาคม, 2559, แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/Marsmag/ViewNews.aspx?NewsID=9570000127860
จัดทำโดย
นางสาวภัคสิริ อิฐประสงค์
เนื้อหาให้ความรู้ได้ดีค่ะ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้เพราะนำทรัพยากรที่สามารถหาได้ใกล้ตัว
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ