วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

หมอนสารพัดประโยชน์


หมอนสารพัดประโยชน์


           หมอนสารพัดประโยชน์เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นจากการพบเจอปัญหาในการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลานาน ซึ่งจะทำให้มีความเสี่ยงต่อระบบในร่างกาย อวัยวะที่ต้องสัมผัสกับเตียงผ่าตัดเป็นเวลานาน เช่น ระบบกระดูก กล้ามเนื้อและระบบประสาท และ ปัญหาหลังการผ่าตัดที่ผู้ป่วยถูกจำกัดการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย เช่น แผลกดทับ ดังนั้นจึงเกิดนวัตกรรมหมอนสารพัดประโยชน์ขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้หลังผ่าตัดในผู้ป่วยเปลี่ยนข้อสะโพกได้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากข้อสะโพกเคลื่อนหลุด 
อันตรายของการนอนบนเตียงโดยไม่มีการเคลื่อนไหว
          ผู้ป่วยที่ต้องนอนอยู่บนเตียงระยะเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหวหรือการเคลื่อนไหวได้เพียงเล็กน้อย จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย และจิตใจ โดยพบผลต่อระบบต่างๆ รวมทั้งความคงทนของผิวหนัง ผิวหนังจะมีความคงทนอยู่ในสภาพดีได้นั้นขึ้นอยู่กับการได้รับเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงอย่างเพียงพอ เซลล์ของผิวหนังจะต้องได้รับสารอาหารและระบายของเสียออกไปได้ การมีแรงกดบนผิวหนังจะขัดขวางการไหลเวียนเลือด เซลล์จะตายเนื่องจากเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ
การแบ่งลักษณะของแผลกดทับในแต่ละระดับ
ระยะที่ ๑ บริเวณที่ถูกกดจะมีรอยแดง อาจจะมีรอยช้ำแต่ผิวหนังที่ปกคลุมยังไม่มีรอยฉีกขาด
ระยะที่ ๒  มีการฉีกขาดของผิวหนังชั้นนอก (Dermis) รอบ ๆ แผลจะแดง อาจมีน้ำเหลืองซึม
ระยะที่ ๓  เกิดแผลลึกถึงชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous)
 ระยะที่ ๔  มีการตายของเนื้อเยื่อชั้นลึก เนื้อเยื่อที่ตายจะมีสีม่วงคล้ำหรือดำ

ข้อบ่งชี้นวัตกรรมหมอนสารพัดประโยชน์  
1. ใช้เป็นอุปกรณ์ Support ก่อนและหลังการผ่าตัด
2. ป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ผู้ป่วยบาดเจ็บจากการจัดท่าในการทำผ่าตัด
3. ป้องกันข้อสะโพกเลื่อนหลุดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยเปลี่ยนข้อสะโพก
4. ลดอาการปวดขณะพลิกตะแคงตัวจากการลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาในการพลิกตะแคงตัว
หมอนสารพัดประโยชน์จากวัสดุใกล้ตัว
             หมอนสารพัดประโยชน์สามารถทำได้เองจากวัสดุในโรงพยาบาลที่เหลือใช้ ได้แก่ หมวกคลุมผมที่ใช้แล้วนำไปซัก  เศษผ้าที่เหลือใช้จากแผนกผ้า โฟมที่ใช้บรรจุกล่องเครื่องใช้ไฟฟ้า ถุงพลาสติกใส เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่จะช่วย Support ก่อนและหลังการผ่าตัด ป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากการจัดท่า โดยไม่จำเป็นต้องซื้อจากภายนอกที่มีราคาสูง เป็นต้น
 เศษผ้าเหลือใช้                                                                         ถุงพลาสติก

                                              
หมวกคลุมผมใช้แล้ว                                                           กล่องโฟม
                                   

        อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหมอนต้องประสงค์มีอะไรบ้าง !!!!!   มาดูกันเลย

 1.1 หมวกคลุมผมที่ใช้แล้วนำไปซัก                                                   1.2 เศษผ้าที่เหลือใช้  

            


                                                                  
                              


1.3 โฟมที่ใช้บรรจุกล่องเครื่องใช้ไฟฟ้า                   1.4 ด้าย/ เข็มเย็บผ้า / กรรไกร/มีดคัตเตอร์ /ดินสอ/ไม้บรรทัด
  

 1.5 ถุงพลาสติกขนาด 15x25 นิ้ว



ขั้นตอนการประดิษฐ์
1. ตัดผ้าให้ได้ขนาด 45x50 นิ้วพับผ้าแบ่งครึ่งตามความยาวของผ้าวัดแบ่งผ้าตามแนวขวางเป็นช่องๆ จานวน 17 ช่องความกว้างช่องละ 3 นิ้ว ยกเว้นช่องที่ 6 และ 12 กว้างช่องละ 2 นิ้ว
2. นำผ้าไปเย็บตามแนวที่แบ่งช่องไว้เย็บปิดริม 2 ข้างจะได้ถุงผ้าแบ่งช่องตามต้องการ
3. นำหมวกคลุมผมที่ซักแล้วมาใส่ตามช่องจนเต็มยกเว้นช่องที่ 6 และ 12 จะได้ลักษณะเป็นลอนนูนจากนั้นใช้เข็มเย็บผ้าเย็บปิดปากช่องจะได้หมอนสารพัดประโยชน์ กว้างประมาณ    20 นิ้ว ยาวประมาณ 50 นิ้ว เมื่อม้วนเป็นท่อนกลมจะได้เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 นิ้ว เมื่อพับทบเป็นชั้นจะได้ความหนาประมาณ 4 นิ้ว เมื่อพับเป็นสามเหลี่ยมจะได้ขนาด 11*11*20 นิ้ว โดยต้องสอดโฟมซึ่งตัดให้เป็นรูปสามเหลี่ยม เพื่อกดรูปหมอนให้เป็นรูปสามเหลี่ยม
4. ตัดเย็บปลอกหมอนตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการใช้งาน


 

ข้อดี


- ลดแรงกดทับของร่างกายในผู้ป่วยหลังผ่าตัด

- นำวัสดุสิ้นเปลืองมาใช้ให้เกิดประโยชน์

- ลดอุบัติเหตุระหว่างการผ่าตัดและหลังผ่าตัด
- ใช้ได้ในทุกการผ่าตัดที่ใช้เวลานาน เช่น ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเพื่อป้องกันการกดทับของปุ่มกระดูก เป็นต้น
 ข้อเสีย
- รูปแบบไม่สวยงาม ไม่ดึงดูดการใช้งาน
- หลังใช้ทุกครั้งต้องเปลี่ยนปลอกหมอนป้องกันการติดเชื้อ

อ้างอิง
ประนัสดา ชานุสิทธิ์. (ม.ป.ป.). หมอนต้องประสงค์. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม  59, จาก
            http://www.lpthosp.go.th/webpage/images/pdf/innovation/03.pdf   

ภิญญลักษณ์ เรวัตพัฒนกิตติ์. (ม.ป.ป). นวัตกรรมหมอนสามเหลี่ยม.  สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 59, จาก
 
         
http://www.bphos.net/web/phocadownloadpap/CQI/woman_ward_56.pdf 
รุ่งทิวา ชอบชื่น. (ม.ป.ป.). แผลกดทับ. สืบค้นเมื่อ
25 มีนาคม 59, จาก
  
          tp://home.kku.ac.th/ctham/ymeeting/y56/Roongtiva.pdf       

โรงพยาบาลกรุงเทพ. (2558). การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม.สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 59, จาก                              
            http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/artificial-
           hip-replacement-surgery
                          
 


 จัดทำโดย นางสาว สโรชา  มุขเพ็ชร 5701211238 SecA
นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค   
                                                             
 










 


   




  
 

6 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาน่าสนใจมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  2. มีประโยชน์มากค่ะ น่าสนใจดี

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาที่นำมาบอกน่าติดตามมากๆค่ะ

    ตอบลบ
  4. มีประโยชน์มากคะ สารพัดประโยชน์มาก👍🏻👍🏻

    ตอบลบ
  5. อ่านง่าย น่าสนใจ ขั้นตอนไม่ซับซ้อน
    👍🏻👍🏻👍🏻

    ตอบลบ
  6. อุปกรณ์ ช่วยผู้ป่วยแผลกดทับ
    เป็นเบาะยางพาราแท้ 100% มีลมข้างใน ปรับลมเข้า-ออกได้
    ได้รับการรับรองจากสมาคมคนพิการ และทางการแพทย์
    สนใจติดต่อ 088-2250264
    Line champza56
    https://www.facebook.com/friendlyshoppingonline/posts/784824388338903

    ตอบลบ