วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

นวัตกรรม การตรวจ 64-slice

นวัตกรรม การตรวจ 64-slice
จุดเริ่มต้นของนวัตกรรม 
ในอดีตผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจต้องใช้วิธีการสวนหัวใจ ใส่ Stent หรือ Pacemaker ซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง และต้องติดตามผลการรักษา (Follow up) แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่อง Computer Tomography (CT) หรือ เครื่อง CT 64 Slice ขึ้นมาช่วยในการตรวจหาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคหัวใจ และยังสามารถพบเนื้อร้ายตั้งแต่ระยะแรกที่เซลล์เริ่มผิดปกติและยังไม่แสดงอาการ เครื่องนี้ยังได้ภาพตรวจที่ละเอียด ชัดเจน และแม่นยำ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันที

อวัยวะสำคัญที่สามารถใช้เทคโนโลยี CT 64-Slice ได้แก่       หัวใจ
  ·      หัวใจ
    ·     ลำไส้ใหญ่
       ·     สมอง
       ·     ปอด
      ·     หลอดเลือด
      ·     หลอดเลือดทั่วร่างกาย
      ·     กระดูกและข้อ
ส่วนประกอบของ CT 64-slice ประกอบด้วย
1.สนามแม่เหล็ก (primary magnet) ที่มีความแรงของสนามแม่เหล็กตั้งแต่ 0.3 ถึง 7 เทสลา ปัจจุบันเป็นชนิดขดลวดตัวนำยิ่งยวด (superconductive magnet) ซึ่งสามารถให้สนามแม่เหล็กได้แรงกว่าชนิดขดลวดความต้านทาน (resistive magnet) และชนิดแม่เหล็กถาวร (permanent magnet) โดยเครื่องส่วนใหญ่จะใช้ความแรงของสนามแม่เหล็ก 1.5 และ 3 เทสลา
2. สนามแม่เหล็กเกรเดียนท์ (gradient coils) เป็นสนามแม่เหล็กเสริมของสนามแม่เหล็กหลัก มีจำนวน 3 ชุด (gradient x y z) โดยมีความแรงของสนามแม่เหล็กในแต่ละตำแหน่งไม่เท่ากัน ทำให้สามารถสร้างภาพของร่างกายในระนาบต่างๆ ได้โดยผู้ป่วยไม่ต้องเปลี่ยนท่า และมีความหนา บางของภาพแตกต่างกันได้
3. ขดลวดส่ง และรับคลื่นวิทยุ (RF coils) ทำหน้าที่ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุเข้าไปกระตุ้นไฮโดรเจนในร่างกายผู้ป่วยและรับสัญญาณสะท้อนกลับมาให้คอมพิวเตอร์คำนวณสร้างภาพ




















การตรวจ CT 64-slice แบ่งเป็น 4 ระบบคือ

1.ระบบสมอง ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของสมอง ต่อมใต้สมอง ตา ต่อมน้ำลาย และคอ เป็นต้น ในการตรวจนี้ จะต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคชัดเจนขึ้น


2. ระบบช่องท้องและทรวงอก ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ภายในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน การตรวจระบบนี้ ผู้ป่วยต้องดื่มสารทึบรังสี/น้ำเปล่า และ/หรือ สวนสารทึบรังสี/น้ำเปล่า เข้าทางทวารหนัก เพื่อแยกลำไส้ออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ของช่องท้อง และ ในผู้ป่วยหญิงอาจต้องใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดภายในช่องคลอด เพื่อแยกช่องคลอดออกจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรังสีแพทย์  นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของโรคชัดเจนขึ้น


3. ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่อและกระดูกสันหลัง ซึ่งมักใช้ในการวินิจฉัยโรคเนื้องอกของกล้ามเนื้อ กระดูก หรือการอักเสบของข้อต่อต่างๆ และลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสันหลัง โดยสามารถให้การวินิจฉัยโรคกระดูกได้ดีกว่าการตรวจเอกซเรย์ทั่วไป

4. ระบบหลอดเลือด ได้แก่ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดแดงไต และหลอดเลือดแดงที่ขา เป็นต้น ในการตรวจนี้จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำ

ประโยชน์ของเครื่อง 64-slice
     • มีค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อเทียบกับการตรวจด้วยวิธีอื่น
      • มีความละเอียดในการตรวจ
      • มีความแม่นยำสูง
      • ใช้เวลาน้อย
      • ไม่จำเป็นต้องพักฟื้น และสามารถทำงานได้เลย
      • ลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับถึง 30% เมื่อเทียบกับเครื่อง CT รุ่นเก่า (Conventional CT)
      • ทั้งยังไม่ต้องเจ็บตัวเหมือนการตรวจหลอดโดยการใช้เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป (วิธี Invasive) ซึ่งใช้สายสวนหลอดเลือดเข้าไปในร่างกาย

ข้อเสีย/ข้อจำกัด
v    เครื่องมีขนาดใหญ่เคลื่อนไหวลำบาก
v    เครื่องมีราคาค่อนข้างสูง
v    มีความเสี่ยงต่อคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
v    มีข้อจำกัดในผู้ป่วยที่แพ้สารทึบรังสี แพ้อาหารทะเล เป็นโรคภูมิแพ้เป็นโรคหอบหืดรุนแรง โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับไต  
      
     การเตรียมตัวก่อนตรวจ
    1. งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนทำการตรวจ ยกเว้นผู้ที่ตรวจวัดปริมาณแคลเซียมไม่ต้องงดน้ำและอาหาร 
2. ควรมาถึงก่อนเวลานัดตรวจประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อรับการตรวจจากอายุรแพทย์โรคหัวใจ และเตรียมตัวก่อนการตรวจ ได้แก่ 
2.1 การเซ็นใบยินยอมรับการตรวจ
2.2 การเปิดเส้นทางหลอดเลือดดำที่แขน
2.3 การฝึกการกลั้นหายใจ
2.4 การติดขั้ว Electrode ที่ร่างกาย และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
2.5 การรับประทานยาเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจให้เหมาะสม


อ้างอิง

ฉัตรวดี
  ลิ้มไพบูลย์, กมลวรรณ  จึงมีโชค และ ศุภขจี แสงเรืองอ่อน. (2554). การศึกษาความชุก
            ของภาวะหลอดเลือดแดงปอดอุดตันจากลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง
 โดยใช้   
            เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
64 สไลซ์ของช่องอก ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎ
            เกล้า
. เวชสารแพทย์ทหารบก กองรังสีกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. ค้นเมื่อ 20
           กุมภาพันธ์
2559, จาก 
http://library.hu.ac.th/apa_style_psu.pdf
         นานาสาระกับนายกาฝาก. (2555).การทำงานของ CT scan. ค้นหาเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559, จาก    
            
http://www.kafaak.com/2012/05/02/how-ct-scan-works/
โรงพยาบาลนครธน. (ไม่ปรากฏปีพิมพ์).  ทำความรู้จักเครื่อง CT 64 slice.ค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์
             2559,จาก 
http://www.nakornthon.com/news_detail.php?id=248&type=3
         โรงพยาบาลรามคำแหง. (ไม่ปรากฏปีพิมพ์). การเตรียมตัวก่อนตรวจ CT 64-slice. ค้นเมื่อ 13     
             มีนาคม 2559, จาก http://www.ram-hosp.co.th/ct-64-slice.html
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (ไม่ปรากฏปีพิมพ์). เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคเอ็กซเรย์
             คอมพิวเตอร์
.
ค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.siphhospital.com/th/medical-
             services/treatment-center/diagnostic-therapeutic-center/ct-scan.php




จัดทำโดย นางสาวพรรณธิดา กาติ๊บ 




5 ความคิดเห็น:

  1. ดีคะ ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกเยอะเลย

    ขอบคุณผู้จัดทำคะ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณนะ ทำให้ได้ความรู้ และวิธีการเตรียมตัวที่ถูกต้อง

    ตอบลบ
  3. มีประโยชน์มากๆค่ะ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุนสำหรับความรู้ดีดีค่า

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆนะคะ

    ตอบลบ