วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

การรักษาอุณหภูมิในเด็กแรกเกิดด้วยถุงห่อตัว



การรักษาอุณหภูมิในเด็กแรกเกิดด้วยถุงห่อตัว
    ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (Hypothermia) คือ ภาวะที่อุณหภูมิทวารหนักหรือรักแร้ต่ำกว่าปกติ คือต่ำกว่า 36.5 องศาเซลเซียส เรียกว่าภาวะ Sub temperature ซึ่งพบได้ในทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกคลอดระหว่างทางก่อนถึงโรงพยาบาล ทารกที่ขาดออกซิเจนขณะคลอด ทารกน้ำหนักน้อย หรือทารกปกติทั่วไป เพราะทารกแรกเกิดยังไม่สามารถปรับตัวเพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่ได้
 จากการศึกษาของห้องคลอดโรงพยาบาลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี พบว่าการห่อตัวทารกด้วยผ้าธรรมดาหลังจากที่ออกจากเครื่อง Radian warmer จะเก็บ ความร้อนได้ประมาณ 10 นาทีเท่านั้น จากนั้นอุณหภูมิจะเริ่มลดลงเรื่อยๆ และไม่สามารถเก็บความร้อนได้อีก แต่การนำผ้าฝ้าย ผ้านวมผ้าไหมพรมมาทำการห่อตัว พบว่าให้ความอบอุ่นและเก็บความร้อนได้ดีกว่า จึงนำมาใช้แทนการใช้ผ้าธรรมดา ดังนั้นจึงเกิดนวัตกรรมที่เรียกว่า  “นวัตกรรมอุ่นรัก ”  
          
ลักษณะของถุงห่อตัว
     -    ตัดเย็บด้วยผ้าสำลี หรือผ้าฝ้าย  ผ้าใยสังเคราะห์และผ้าร่ม 
            3 ชั้น ชั้นในสุดเป็นฝ้ายหรือผ้าสำลีเนื้อนุ่มไม่ระคายเคือง
            ต่อผิวทารกและรักษาอุณหภูมิได้ดี ชั้นกลางเป็นแผ่นใยสัง
            เคราะห์เพิ่มความหนานุ่มและรักษาอุณหภูมิได้และซับ
            น้ำได้ดี ชั้นนอกสุดเป็นผ้าร่มสามารถป้องกันกระแสลมพัด
            ผ่านเข้าถึงตัวทารกและกันน้ำได้ และจะใช้ร่วมกับถุงถั่วเขียวซึ่ง
            ให้ความอบอุ่นให้แก่ทารก 
     -    เลือกรูปแบบลวดลายการถักทำการถักตามรูปแบบลวด
            ลายที่เลือกไว้ขนาดที่ห่อตัวทารกได้พอหมาะ



ข้อบ่งใช้ / การใช้งาน
-  ใช้ห่อตัวทารกขณะเคลื่อนย้ายหรือส่งต่อ หรือ Transport Incubator
-  ใช้ห่อตัวทารกเพื่อป้องกันกระแสลมพัดผ่านตัวทารก ใช้ป้องกันอุณหภูมิห้องที่ค่อน
    ข้างเย็นเมื่ออยู่ห้องหลังคลอดหรือขณะเปิดเครื่องปรับอากาศ 
-   ใช้รับทารกที่คลอดระหว่างทางมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำหรือกรณีคลอดฉุกเฉิน
-   ใช้แก้ไขภาวะอุณหภูมิกายต่ำได้ดีและรวดเร็วโดยใช้ร่วมกับ warmer
-   มารดาให้นมบุตรสะดวกโดยไม่ต้องแยกทารกเพื่ออยู่ใต้  Radiant warmer

ประโยชน์ที่ได้รับจากถุงห่อตัว
1.  ทารกปลอดภัยจากภาวะอุณหภูมิต่ำในร่างกาย (Sub temperature) หลังคลอด
2.  เพื่อให้มารดาได้โอบกอดทารกและสานสายสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูก
3.  มารดาสะดวกในการให้นมบุตรโดยไม่ต้องแยกทารกให้อยู่ใต้ Radiant warmer
4.  ใช้ห่อตัวทารกในการเคลื่อนย้ายแทนการห่อผ้าหลายชั้น
5.  ประหยัดงบประมาณและต้นทุนต่ำ




เอกสารอ้างอิง
กรมรี แพงดี.  (2554).  อุ่นรักมหัศจรรย์.  สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559,  จาก Gotoknow เว็บไซต์:
กรมรี แพงดี.  (2553).  นวัตกรรม ถุงผ้าอุ่นรัก.  สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559,  (ออนไลน์).
แหล่งที่มา:http://www.ppkhosp.go.th/eposter/showabstract.asp?SysID=260&presenttype=Poster
(ม.ป.ป.). (2551). นวัตกรรม เรื่อง อุ่นรักสืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559จาก งานห้องคลอด
โรงพยาบาลน้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี  เว็บไซต์http://namsomhp.com/web/index.php/component/content/article/43/79-lr001




  จัดทำโดย นายนิรมิต  ยังแสง  5701210460  sec B

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น