วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

ลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วง: ANTI-GRAVITY TREADMILL



ลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วง: anti-gravity treadmill


ลู่วิ่งธรรมดาเป็นการวิ่งในลักษณะที่เกิดแรงกระทำต่อข้อต่อและกล้ามเนื้อ ซึ่งเหมาะกับบุคคลที่มีสุขภาพร่างกายส่วนล่างแข็งแรง แต่ในปัจจุบันมีการสร้างลู่วิ่งแบบใหม่ขึ้นมา เพื่อลดแรงกระแทกที่กระทำต่อข้อต่อและกล้ามเนื้อในร่างกายเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพร่างกายส่วนล่าง นั่นคือ ลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วงเป็นลู่วิ่งที่ช่วยพยุงคนไข้ให้อยู่ในสภาวะปลอดภัย เพื่อลดแรงจากน้ำหนักตัว โดยจะมีอุปกรณ์คล้ายถุงลมช่วยแบกรับน้ำหนักของร่างกายเอาไว้ได้สูงสุด 80%ของน้ำหนักตัว ดังนั้นเวลาวิ่งจึงมีน้ำหนักตัวลดลงในบริเวณที่เป็นปัญหาเพียง 20% เท่านั้นและสามารถกำหนดควบคุมน้ำหนักที่ลงที่ขาได้แน่นอน








ลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วงนี้ใช้สำหรับ
  • การบำบัดรักษาร่างกายส่วนล่าง
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายได้ผลเร็วยิ่งขึ้น
  • ลดอาการบวม อาการปวด
  • เพิ่มความคล่องตัวจาการออกกำลังกาย
  • ช่วยกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมประสาทและกล้ามเนื้อ
  • ช่วยเพิ่มความอดทนโดยการเพิ่มภาระที่ร่างกายส่วนล่าง
  • ช่วยปรับปรุงระบบหัวใจและหลอดเลือด



       เหมาะสำหรับ
  • ผู้ที่ต้องทำกายภาพบำบัดร่างกายส่วนล่างหลังการผ่าตัดหรือบาดเจ็บ
  • ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • ผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง
  • ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการออกกำลังกาย

ก่อนใช้ลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วงจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย

Electrodiagnosis เพื่อตรวจวินิจฉัยไฟฟ้าของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อตรวจวัดและคาดการณ์ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและประสาทที่มีปัญหา และทำ Musculoskeletal Ultrasound เพื่อดูภาพการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งสามารถมองเห็นได้แม้ว่ามีการอักเสบหรือฉีกขาดเพียงเล็กน้อย

ข้อดี
  • ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถออกกำลังส่วนล่างได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป
  • ช่วยให้หัวใจ และกล้ามเนื้อแข็งแรง

ข้อเสีย
  • งบประมาณสูง









อ้างอิง
โรงพยาบาลกรุงเทพ. (มปป). Advanced Technolgy at BASEM. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2559, จาก: https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/advanced-technolgy-at-basem
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต. (มปป). ลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วง. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2559, จาก: http://th.phuket.thai-sale.com/antigravitatsionnaya-begovaya-dorozhka/
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต. (2559). ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2559, จาก:http://www.phukethospital.com/Thai/Health-Centre/Rehabilitation-Center.php

Kanoktip. (2558). ออกกำลังกายบนสายพานอย่างไร ให้ได้ผลดีที่สุด. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2559, จาก: http://www.xn--22c0cohr1b8cc2cr6npa.com/




จัดทำโดย นางสาวพัชริดา พรมอินทร์
5701211009 เลขที่45 sec.B



13 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากครับ มีสาระมากๆเลย👍👍👍

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะคะ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะคะ

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณครับ สำหรับสาระดีๆ

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาดีมากเลยคะ

    ตอบลบ
  6. ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  8. 👏🏻เนื้อหาเข้าใจง่ายดีคะ

    ตอบลบ
  9. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  10. เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจค่ะ

    ตอบลบ
  11. เนื้อหาดีมากค่ะ

    ตอบลบ