วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

มหัศจรรย์นวัตกรรมมีดสุดเจ๋งแก้นิ้วล็อค


มหัศจรรย์นวัตกรรมมีดสุดเจ๋งแก้นิ้วล็อค


นิ้วล็อค หมายถึง อาการที่งอข้อนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้เหมือนถูกล็อคมีสาเหตุจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้น และติดขัดในการเคลื่อนไหวเมื่ออักเสบรุนแรงมากขึ้นจะเกิดปุ่มตรงเส้นเอ็น เวลางอนิ้วมือปุ่มจะอยู่นอกปลอกหุ้ม แต่ไม่สามารถเคลื่อนเข้าปลอกหุ้ม เวลาเหยียดนิ้วมือกลับไปทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคอยู่ในท่างอ ต้องออกแรงช่วยในการเหยียด  จึงจะสามารถฝืนให้ปุ่มเคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเข้าไปได้การอักเสบของเส้นเอ็น และปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือมักเกิดจากแรงกด หรือเสียดสีของเส้นเอ็นซ้ำซาก หรือใช้งานฝ่ามือมากเกินไป เช่น การใช้มือหยิบจับอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน ทำสวน ขุดดิน  เล่นกีฬา เล่นดนตรี  เป็นต้น โรคนี้จึงพบบ่อยในกลุ่มแม่บ้าน เลขานุการที่พิมพ์ดีดบ่อยๆ ผู้ที่ชอบเล่นกีฬา (เช่น กอล์ฟ เทนนิส)  หรือเล่นดนตรี (เช่น ไวโอลิน) นอกจากนี้ยังพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์  เบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์เป็นต้น

สำหรับนิ้วที่เป็นบ่อยได้แก่นิ้วหัวแม่มือนิ้วกลางและนิ้วนางซึ่งอาจเป็นเพียงนิ้วเดียวหรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้และอาจเป็นที่มือข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ถ้าอาการของโรคนิ้วล็อครุนแรงนิ้วมือจะงอหรือเหยียดไม่ได้เลยโดยระดับความรุนแรงของอาการนิ้วล็อคสามารถแบ่งตามอาการได้ 4 ระดับคือ
ระดับที่ 1 นิ้วไม่มีการล็อคแต่นิ้วมือจะรู้สึกฝืด เวลาเหยียดหรืองอนิ้วมือในตอนเช้าในอากาศเย็นๆ
ระดับที่ 2 นิ้วมือจะงอและเหยียดมีเสียงดัง แต่ยังคงเคลื่อนไหวได้ตามปกติ เริ่มมีอาการปวด
ระดับที่ 3 นิ้วมือเวลางอหรือเหยียดจะมีเสียงดัง และล็อค ต้องใช้มือด้านตรงข้ามมาเหยียดออก และจะมีอาการปวด    
ระดับที่ 4 นิ้วมือจะล็อค และทำให้นิ้วเหยียดออกหรืองอไม่ได้เลย

การรักษานิ้วล็อค ที่นิยมมี 2 วิธี คือ


1.    การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่วิธีนี้ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นตั้งแต่ระดับที่ 13 ซึ่งได้ผลดี และหายร้อยละ 60 ขึ้นไป สำหรับกลุ่มที่กลับมาเป็นใหม่นั้น แพทย์ออร์โธปิดิกส์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดรักษา เพราะการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ซ้ำ ๆ หลายครั้งจะไม่ทำให้อาการดีขึ้น
2.    การผ่าตัด จะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี
วิธีที่ 1 เป็นการผ่าตัดในห้องผ่าตัด ต้องฉีดยาชา มีแผลผ่าตัดและมีไหมเย็บด้วย 
วิธีที่ 2 เป็นการรักษาโดยการเจาะ ( Percutaneous release ) สามารถทำในคลินิกส่วนตัว หรือนอกสถานที่ของโรงพยาบาลได้ไม่จำเป็นต้องทำผ่าตัดในห้องผ่าตัด ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าวิธีแรกและกลับไปทำงานได้เร็วกว่า
   ต่อมา ผศ.นพ.สิทธิโชค อนันตเสรี ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้คิดนวัตกรรมที่ช่วยในการรักษานิ้วล็อคคือ มีดผ่าใต้นิ้วล็อค A-knife ซึ่งได้ยื่นจดอนุสิทธิบัตรแล้ว


ลักษณะของมีด A-knife


มีลักษณะพิเศษ คือ ปลายมนซึ่งใช้สำหรับเขี่ยหาปลอกหุ้มเอ็นทำให้ทราบตำแหน่งปลอกหุ้มเอ็นได้อย่างแม่นยำส่วนปลายมีขนาดเล็กประมาณ 2 .. ลักษณะปลายมีดที่มนนี้ทำให้ไม่เกิดการบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนต่ออวัยวะส่วนอื่น ซึ่งต่างจากมีดแบบเดิมที่จะต้องผ่ากรีดผิวหนังประมาณ 1.5 ซม. และใช้มีดตัดปลอกหุ้มเอ็นซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนิ้วล็อค




มีด A-knife



ขั้นตอนการเจาะผ่านผิวหนังโดยมีด A-knife

แพทย์จะทำความสะอาดมือและคลุมผ้าปราศจากเชื้อ
ขั้นตอนที่  1  แพทย์จะฉีดยาชาบริเวณนิ้วที่จะเจาะ ผู้ป่วยจะเจ็บจากการฉีดยาเฉพาะในขั้นตอนนี้
ขั้นตอนที่   เมื่อมีอาการชาแล้ว แพทย์จะใช้มีดเจาะผิวหนังให้มีรูขนาด 2 มิลลิเมตร
ขั้นตอนที่ 3-5 แพทย์จะเจาะตัดปลอกหุ้มเอ็นด้วย A-Knife
ขั้นตอนที่ 6    ขั้นตอนทดสอบผลการเจาะ จะเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ผู้ป่วยต้องร่วมมือทำตามที่แพทย์สั่ง โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยงอและเหยียดนิ้ว ให้ผู้ป่วยกำและงอนิ้วมือให้สุดและเหยียดนิ้วมือออกช้าๆ พร้อมกับสังเกตว่า ยังคงมีอาการนิ้วล็อคอยู่หรือไม่ การผ่าตัดจะเสร็จสิ้นเมื่อไม่มีอาการล็อคหรือติดขัดของนิ้วเหลืออยู่
ขั้นตอนที่ 7   แพทย์ใช้ผ้าก๊อซปิดบาดแผล



ข้อดีของมีดผ่าใต้นิ้วล็อค

1.    ไม่ต้องเข้าห้องผ่าตัด
2.    แผลผ่าตัดเล็กไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นเอ็นโดยรอบ
3.    มือที่ผ่าตัดสามารถใช้งานและโดนน้ำได้ใน 24 ชั่วโมง
4.    ลดระยะเวลาในการผ่าตัด การใช้ห้องผ่าตัด อุปกรณ์ผ่าตัด และเจ้าหน้าที่
5.    ลดค่าใช้จ่ายลดระยะพักฟื้น ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำงานได้ภายใน 24  ชั่วโมง

เอกสารอ้างอิง

บริษัท ออร์โธเนียร์ จำกัด. 2555. โรคนิ้วล็อค. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
     http://www.orthoneer.com/. 26 กุมภาพันธ์ 2559
โรงพยาบาลวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล. 2556. คลินิกโรคนิ้วล็อค. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : 
 http://www.vichaivejomnoi.com/trigger_finger_clinic.php#.Vt5joH197IV. 26 กุมภาพันธ์ 2559
โรงพยาบาลสมิติเวชจำกัด. 2557. ผ่าตัดนิ้วล็อคแบบเจาะผ่านผิวหนัง. (ออนไลน์).
     แหล่งที่มา : https://www.samitivejhospitals.com/th/ผ่าตัดนิ้วล็อค/. 26 กุมภาพันธ์ 2559
หมอชาวบ้าน. 2550. การรักษานิ้วล็อค. (ออนไลน์) . แหล่งที่มา : https://www.doctor.or.th/article/detail/113326 กุมภาพันธ์ 2559


จัดทำโดย นางสาว สุทธิดา มหาพงค์
 นักศึกษาพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคชั้นปีที่ 2






































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น