วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

รักษานอนกรนด้วยการร้อยไหม



§ นอนกรนเกิดจากอะไร ?
§ ชนิดของอาการนอนกรน
§ วิธีการรักษาอาการนอนกรน
§ การรักษาแบบใหม่ การร้อยไหม
§ ร้อยไหมแก้กรนมีประโยชน์อย่างไร ?

รูปที่ 1 ทางเดินหายใจในภาวะปกติ      รูปที่ 2 การนอนกรน ที่มีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย

    นอนกรน เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ต่อมทอนซิล และต่อมอดีนอยด์ (adenoid) ที่โต ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการนอนกรนที่สำคัญในเด็ก ผู้ป่วยที่อ้วนมากอาจมีเนื้อเยื่อผนังคอที่หนาทำให้ทางเดินหายใจแคบลงในผู้ป่วยที่มีเนื้องอกหรือซีสต์ (cyst) ของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งในระบบทางเดินหายใจส่วนบนก็ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้เช่นกัน การที่มีโพรงจมูกอุดตัน ซึ่งมีสาเหตุจากหลายกรณี เช่น อาการคัดจมูกจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ความผิดปกติของผนังกั้นช่องจมูก เนื้องอกในจมูกและโพรงอากาศข้างจมูก ริดสีดวงจมูก ไซนัสอักเสบ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนได้เช่นกัน ดังนั้นอาการนอนกรนจึงไม่ใช่เรื่องปกติ ในทางตรงกันข้ามเป็นตัวบ่งบอกว่ามีการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจส่วนบน




· นอนกรนแบบธรรมดา : การนอนกรนประเภทนี้ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพแต่อาจมีผลกระทบต่อคนรอบข้างที่ก่อให้เกิดความรำคาญ
· นอนกรนแบบมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย : นอกจากผลกระทบต่อคนรอบข้างแล้วยังส่งผลต่อสุขภาพของตนเองด้วยการหยุดหายใจขณะหลับนี้เกิดจากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ช่องคอตีบแคบมากจนทำให้ขาดจังหวะในการหายใจและทำให้ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดลดน้อยลง ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ปอด และสมอง
Ø สัญญาณเตือนว่าอาจเป็นโรคนอนกรนแบบอันตราย หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

สำหรับผู้ใหญ่สังเกตว่ามีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่
  •     มีการนอนกรนเสียงดังเป็นประจำมากกว่า 3 คืนต่อสัปดาห์
  •      มีอาการสำลัก หรือหายใจเฮือกอย่างแรงเหมือนขาดอากาศในขณะนอน
  •      นอนหลับแล้วสะดุ้งตื่น หรือพลิกตัว เพราะหายใจขัดหรือไม่สะดวก

  • สำหรับเด็กให้สังเกตว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่
  •     มีการนอนกรนบ้างเป็นบางครั้ง นอนหลับ กระสับกระส่าย เหมือนหายใจลำบาก สมาธิสั้น หงุดหงิด ก้าวร้าว หรือ ซุกซนมากกว่าปรกติ (Hyperactive)




การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด (non-surgical treatment)
1. ลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มความกระชับและความตึงตัวให้กับกล้ามเนื้อของทางเดินหายใจส่วนบน
2. หลีกเลี่ยงยาหรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เช่น เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาแก้แพ้ชนิดที่ทำให้ง่วง โดยเฉพาะก่อนนอน 
3. การปรับเปลี่ยนท่าทางในการนอน เช่น ไม่ควรนอนในท่านอนหงาย เนื่องจากจะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้ง่ายกว่าการนอนในท่าตะแคง
4. การใช้เครื่องมือช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น หรือไม่อุดกั้นขณะนอนหลับที่เรียกว่า continuous positive airway pressure (CPAP) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่รุนแรงและไม่เหมาะที่จะรักษาด้วยการผ่าตัด   

    การรักษาโดยวิธีผ่าตัด (surgical treatment)
1. ในเด็กมักมีการอุดกั้นทางเดินหายใจในระดับคอหอย ซึ่งเกิดจากการมีต่อมทอนซิลและอดีนอยด์ที่โตผิดปกติ ดังนั้นการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและอดีนอยด์ออกจะทำให้อาการอุดกั้นทางเดินหายใจดีขึ้น
2. ในผู้ใหญ่ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมักเกิดจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณเพดานอ่อน มีการผ่อนคลายหรือหย่อนยานมากกว่าปกติ หรือมีปริมาณเนื้อเยื่อที่มากเกินไป การผ่าตัดแก้ไขสาเหตุมีวิธีที่นิยมกัน ได้แก่ การผ่าตัดตกแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณเพดานอ่อนให้ตึงและกระชับ
  

   
    ปี ค.ศ. 2014 ศูนย์รักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รพ. พญาไท3 ได้พัฒนาการรักษาอาการนอนกรนด้วยการร้อยไหม โดยสามารถประดิษฐ์ นวัตกรรม ไหมชนิดสปริงซึ่งมีความจำ” (Spring Thread with memory) เป็นผลสำเร็จและเมื่อนำไหมสปริงนี้มาเย็บยกกระชับเพดานอ่อนจะทำให้ผลการยกกระชับตลอดจนพังผืดที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อเพดานอ่อนอยู่คงทนกว่าการใช้ไหมชนิดธรรมดา เพราะ Tensile Strength ของไหมสปริงจะอยู่คงทนกว่า เทคนิคนวัตกรรมนี้ เรียกว่า “ Spring Thread Snoreplasty ” ซึ่งหัตถการนี้พัฒนามาจาก Double Triangle Sling Snoreplasty โดยการเพิ่มการร้อยไหมบริเวณส่วนกึ่งกลางของเพดานอ่อนอีก 1-2 เส้น เพื่อให้ผลการยกกระชับเพดานอ่อนดีขึ้นกว่าเดิม


Double Triangle- Modified Sling Snoreplasty




Ø ใช้รักษาอาการนอนกรน จากเพดานอ่อนหย่อนคล้อย และภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดไม่รุนแรง โดยไม่ต้องผ่าตัด
Ø ทำได้ง่าย ได้ผลดี ปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่าย

Ø เจ็บแผลน้อยมากเมื่อเทียบกับการรักษาวิธีอื่นๆ (Painless Snoreplasty) เพราะไม่มีการตัดเนื้อเยื่อเพดานอ่อน ไม่มีระยะพักฟื้น



ปาระยะ อาศนะเสน. (มปป.). อาการนอนกรน (Snoring) และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea). ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.rcot.org/pdf/MR!RC9M9!C9%20(Snoring)%20%20aEP@RGPKBX4KRBc(_3P9M9KEQ_%20(Obstructive%20Sleep%20Apnea).pdf
สรัลชัย เกียรติสุระยานนท์. (มปป.). ร้อยไหมแก้กรน นวัตกรรม รักษานอนกรนด้วยการร้อยไหม     Spring Thread Snoreplasty. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559, จาก      http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/2/84/946/th
สิทธิชัย ปรัชญาพิพัฒน์. (มปป.). โรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะนอนหลับ. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559, จากhttp://www.priest-hospital.go.th/content/files/1289531235.pdf


จัดทำโดย นางสาวธิชารัตน์ เนยกิ่ง
5701210910 เลขที่ 40 Section B

8 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 มีนาคม 2559 เวลา 00:35

    อ่านเข้าใจง่าย เนื้อหาดี สวยงาม แจ่มเลยครับ ..!!

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาเป็นประโยชน์มากครับ

    ตอบลบ
  3. รูปแบบการทำดีมากคะ ขอบคุณคะ

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาเป็นประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ได้จริง

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาดีมากๆเลยครับ

    ตอบลบ