วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผ้าปิดตาหนูน้อย


ผ้าปิดตาหนูน้อย

ที่มา
ผ้าปิดตาหนูน้อย เป็นการพัฒนาต่อยอดจากผ้าปิดตาทารกที่ได้รับการรักษาภาวะตัวเหลืองโดยการส่องไฟ  โดยใช้ผ้าสำลีเย็บขนาดพอเหมาะสำหรับปิดตาทารกและสอดแผ่นฟิล์มเอ็กซเรย์ไว้ด้านใน โดยใช้สายอิลาสติกที่เป็นขอบหมวกคลุมผมที่ใช้ในห้องคลอด/ห้องผ่าตัด นำมาเย็บติดเป็นสายรัดรอบศีรษะทารก แทนสาย mask ทำให้มีขนาดพอเหมาะกับศีรษะทารก และทารกไม่เจ็บไม่มีรอยแดง

ขั้นตอนการทำ
1. เลือกใช้ผ้าห่อตัวทารกนาโนทำผ้าปิดตาทารก เนื่องจากมีคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดี ดูดซับน้ำ
แห้งเร็ว อ่อนนุ่ม ยืดหยุ่นได้ดี ไม่ระคายเคือง หาง่ายราคาไม่แพง


2. ที่คาดศีรษะ เลือกใช้ EZ NET เนื่องจากมีความยืดหยุ่นได้ดี ไม่ลื่น



3. เย็บบริเวณผ้าปิดตาและที่คาดศีรษะ กะขนาดพอเหมาะกับศีรษะทารก คือขนาด Size S,M,L




Size S = รอบศีรษะ 30 cm


 Size M = รอบศีรษะ 32 cm



Size L = รอบศีรษะ 32 cm


4. ใช้กระดาษแข็งสอดใส่ด้านใน โดยต้องทดสอบว่าไม่มีแสงผ่านได้ทั้ง 2 ข้าง 


ข้อดี
v ลดการระคายเคืองและรอยแดงบริเวณรอบดวงตาเด็กทารกที่ได้รับการส่องไฟ
v ลดความวิตกกังวลและเกิดความพึงพอใจแก่ญาติ
v ทารกไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการส่องไฟ
v สะดวกในการใช้งาน
v เลื่อนหลุดน้อย
v ใช้ได้กับศีรษะเด็กทุกขนาด
v เป็นการใช้วัสดุที่ใช้แล้วนำกลับมาปรับปรุงให้เป็นวัสดุที่ใช้ได้ใหม่ ลดขยะ และลดภาวะโลกร้อน
v ขั้นตอนในการทำไม่ยุ่งยาก/ทำได้เอง ต้นทุนต่ำ

ข้อเสีย
v ยังมีการเลื่อนหลุดอยู่บ้าง ในทารกที่บริเวณด้านหลังของศีรษะโหนกมากๆ

อ้างอิง
งานการพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรมพิเศษ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. (2556). นวัตกรรมดวงตาสดใสจากการส่องไฟ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.hospital.tu.ac.th/PlanTUHosWeb/data/Project%20CQI/CQI_2556/56_021.pdf. 11 มีนาคม 2559
ผลงานเด่น/นวัตกรรม งานห้องคลอด โรงพยาบาลบ้านเขว้า. (2557). การประดิษฐ์ผ้าปิดตาทารกเพื่อการส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลืองโดยใช้ประโยชน์จากวัสดุที่ใช้แล้ว. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://cpho.moph.go.th/wp/?p=20536. 11 มีนาคม 2559
ห้องคลอด โรงพยาบาลประทาย. (2557). แว่นตาสดใส. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://file.siam2web.com/pratry2552/files%5Bdocument%5D/2014612_52862.pdf. 11 มีนาคม 2559
หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม. (...). การปรับปรุงคุณภาพผ้าปิดตาป้องกันตาจากแสงในทารกแรกเกิดที่ไดรับการสองไฟเพื่อการรักษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.nkp-hospital.go.th/institute/1-3/work.php. 11 มีนาคม 2559

จัดทำโดย  นางสาวกันตา  พุ่มตระกูล



3 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์มากๆค่ะ

    ตอบลบ
  2. สนุกมากๆเลย ได้ความรู้และก้อน่าสนใจมากๆ ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้มากเลยค่ะ

    ตอบลบ