วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

3D Dental Scan

3D Dental Scan


ในปัจจุบันการรักษาทางทันตกรรมมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการศัลยกรรมทางฟัน ที่เป็นที่นิยม ในการวินิจฉัยและวางแผนทางทันตกรรมนั้น ผู้เข้ารับบริการต้องได้รับการ X-Ray ในช่องปากเพื่อหาปัญหาและวางแผนแก้ไข การ X-Ray ในช่องปากแบบเดิมนั้นให้รายละเอียดไม่มากนัก จึงได้มีการพัฒนา 3D Dental Scan  เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น




3D Dental Scan เป็นเครื่องฉายรังสี X-Ray สำหรับการถ่ายภาพฟัน กระดูก ใบหน้า และกะโหลกศีรษะ ทำงานด้วยระบบ Digital โดยมี Laser Bean 2 ชุดที่ใช้ในการถ่ายรูปแต่ละครั้ง พร้อมกับ Laser Bean เคลื่อนไหวบริเวณรอบๆ ศีรษะแบบ Panoramic ทำให้ได้ภาพถ่าย X-Ray ที่ชัดเจน ทำให้ได้ภาพ X-ray 3D ที่ชัดเจน สามารถนำไปวางแผนการรักษา และหลีกเลี่ยงอวัยวะที่สำคัญ ที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษ เช่น เส้นเลือด และเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่ขากรรไกร

Clip Video สาธิตการใช้งาน 3D Dental Scan




ประโยชน์

1. ให้รายละเอียดมากกว่าการ X-Ray ธรรมดา โดยสามารถให้รายละเอียดของกระดูกทั้งเชิงคุณภาพ และปริมาณ

2. ช่วยจำลองการวางตำแหน่งรากฟันเทียม

3. เพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับหลอดเลือด และเส้นประสาท

4. สะดวก ง่าย รวดเร็ว 



ข้อเสีย

1.     มีรายงานว่า ผู้รับบริการมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งช่องปากมากขึ้นในเด็กและวัยรุ่น เพราะได้รับรังสีมากเกินจำเป็น

2.     มีราคาแพง

3.     เคลื่อนย้ายไม่สะดวก

    

การอ้างอิง

THE NEW YORK TIMES. (23 11 2010). New 3D dental scanners raise radiation concerns. เข้าถึงได้จาก http://tech.mit.edu/: http://tech.mit.edu/V130/N56/3ddental.html
University of Connecticut Health Center. (13 5 2014). 3D ConeBeam Imaging. เข้าถึงได้จาก Dentalimplants: http://dentalimplants.uchc.edu/3d_imaging/index.html
คลินิกทันตกรรมเดนทัลอิมเมจ. (15 1 2013). Dental 3D CT Scan. เข้าถึงได้จาก Doctorarnon: http://www.doctorarnon.com/14497314/dental-3d-ct-scan
คลินิคทันตกรรมวัชรพล. (29 10 2015). 3D CT Scan VDC Digital Dental Clinic. เข้าถึงได้จาก vdc-dentalclinic: http://vdc-dentalclinic.blogspot.com/2015_10_01_archive.html
ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลเทพธารินทร์. (24 12 2014). Dental CT Scan. เข้าถึงได้จาก www.tdcdent.com/dental-ct-scan-หรือ-การถ่ายภาพรังสีช/



จัทำรีรีณ์ ธิ
วั หัดี ที่ 10 ดืมี .. 2559





10 ความคิดเห็น:

  1. นวัตกรรมใหม่ก็จริงแต่ก็ต้องควรคำนึงถึงความเสี่ยงหรือผลกระทบที่ตามมาของผู้บริโภค ควรจะหาวิธีแก้ไขในความเสี่ยงนี้ด้วยเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจง่าย มีประโยชน์ต่อการศึกษา

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. เคยใช้อยู่ตอนจะจัดฟันใหม่ๆ ไม่รู้ส่ามันคือเครื่องอะไร นึกว่าเป็นแค่เครื่อง x-ray ธรรมดาทั่วไปแต่เฉพาะส่วน ละก็มารู้มามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งด้วยตกใจมาก ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

    ตอบลบ
  5. เคยใช้อยู่ตอนจะจัดฟันใหม่ๆ ไม่รู้ส่ามันคือเครื่องอะไร นึกว่าเป็นแค่เครื่อง x-ray ธรรมดาทั่วไปแต่เฉพาะส่วน ละก็มารู้มามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งด้วยตกใจมาก ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาดีเป็นประโยชน์มากๆค่ะ

    ตอบลบ
  7. การจัดเรียงข้อความยังดูไม่สม่ำเสมอ อีกทั้งวิดีโอที่ให้มาเป็นรูปถาพ น่าจะเขียนว่า"กดลิ้งค์ตรงนี้" ส่วนชื่อตรงผู้จัดทำควรทำให้อ่านง่ายๆ ไม่ต้องเอาสีรุ้งมาใส่ทำให้อ่านยาก ส่วนด้านข้อมูลขั้นต้นถือว่ายังไม่มีปัญหา แต่อยากได้มากกว่านี้ เช่น ใครเป็นคนออกแบบหรือผลิต ตัวอย่างภาพที่สแกน เป็นต้น

    ตอบลบ
  8. แหล่งอ้างอิงจัดหมวดหมู่ได้น่าเชื่อถือดี

    ฟ้อนผู้เรียบเรียงข้อมูลอ่านยาก สีสันสายตา

    ตอบลบ
  9. แหล่งอ้างอิงจัดหมวดหมู่ได้น่าเชื่อถือดี

    ฟ้อนผู้เรียบเรียงข้อมูลอ่านยาก สีสันสายตา

    ตอบลบ