วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

เฝือก 3D

ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาด้วยการใส่เฝือกที่ทำมาจากปูนพลาสเตอร์มักจะประสบกับปัญหาภายในเฝือกที่อบและมีกลิ่นเหม็น ทำให้เกิดอาการคัน และสร้างความรำคาญให้กับผู้ใส่เฝือกเป็นอย่างมาก ปัจุจบันได้มีการพัฒนาต้นแบบเฝือกรุ่นใหม่ที่สวมใส่ได้พอดีกับผู้ป่วยกระดูกหักโดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยกระตุ้นให้กระดูกสมานเร็วขึ้น ปรับปรุงกระบวนการในการรักษาจากประสบการณ์จริงของผู้ป่วยที่อวัยวะได้รับบาดเจ็บ กระดูกแตกหักหรือร้าว โดยมุ่งเน้นที่ความสะดวกสบายของผู้ป่วย

รูปแบบและโครงสร้าง

เฝือก 3D  ทำจากพลาสติกพอลิเอไมด์ หรือมีชื่อทางการค้าว่า "ไนล่อน" ออกแบบเป็นโครงสร้างคล้ายตาข่ายบางเบา แต่แข็งแรงและคงทน โดยโครงสร้างของเฝือกแบ่งเป็น 2 ส่วนประกอบเข้าหากัน ช่องของเฝือกจะทำเป็นช่องขนาดเล็กรอบๆ บริเวณที่เจ็บเพื่อช่วยในการพยุงเพิ่มขึ้น


วิธีการผลิตเฝือก3D

สามารถทำได้ง่าย เพียงใช้เครื่องเอ็กซเรย์และสแกนสร้างภาพ 3 มิติอวัยวะผู้ป่วยให้สัมพันธ์กับจุดที่กระดูกแตกหัก จากนั้นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จะออกแบบเฝือกตามที่ต้องการ  ซึ่งจะได้เฝือกที่ตรงและพอดีกับความต้องการของผู้ป่วย โดยมีด้านหนึ่งเปิดสำหรับให้สอดแขนเข้าไป  การพิมพ์เฝือกใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ในขณะที่เฝือกทำจากปูนพลาสเตอร์ใช้เวลา 3-9 นาที แต่กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ต้องใช้เวลา 24-72 ชั่วโมง



ข้อดี
  • การใช้วัสดุปริมาณน้อยในการผลิต จึงช่วยลดขยะเหลือทิ้งหลังการใช้งาน และยังสามารถนำไปรีไซเคิลเพื่อทำชิ้นใหม่สำหรับผู้มีปัญหากระดูกหักได้อีก
  • ช่วยขจัดปัญหากลิ่นเหม็นอับและคันของเฝือกแบบเก่า และยังสามารถซักได้
  • สามารถใส่เฝือกลงไปว่ายน้ำได้ ไม่เกิดอาการคัน ไม่มีกลิ่นเหม็นอับ
  • สำหรับคนที่แขนหัก เฝือกนี้ยังช่วยให้กระดูกประสานกันไวขึ้นกว่าเดิมถึงร้อยละ 40 เนื่องจากมีอแดปเตอร์สำหรับกระตุ้นกระดูกระบบคลื่นอัลตราซาวนด์ชนิดความเข้มของพลังงานต่ำ


อ้างอิง

เฝือกจากเครี่องพิมพ์ 3 มิติ ลดกลิ่น-รีไซเคิลได้. (2016). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มี.. 2559. URL http://www.acnews.net/detailnews.php?news_id=N255602469
สุตานันท์ ธนาธันย์นิ.  (2014). เฝือก 3 มิติ Osteoid ช่วยรักษาได้...ดีไซน์สวย. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กพ. 2559. URL http://www.vcharkarn.com/vnews/448622
Gizmodo. (2014). นวัตกรรมเฝือก 3D ช่วยผู้ป่วยหายเร็ว สมานกระดูกเร็วขึ้น 40%. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กพ. 2559. URL http://www.creativemove.com/creative/lipus/
               Ning iUrban. (2014). เฝือก 3D-Print พร้อมระบบอัลตร้าซาวด์ช่วยรักษา..ดูดี รู้สึกดี หายเร็วขึ้น. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กพ. 2559. URL http://www.iurban.in.th/design/3d-printed-medical-cast-with-ultrasound-system/




                                                                                          

 จัดทำโดย
นางสาวเพียงตะวัน นาคฤทธิ์






8 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาดีมากมากเลยค่ะ(;

    ตอบลบ
  2. เป็นความรู้ใหม่จริงๆค่ะ เนื้อหาดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  3. งานเนื้อหาดีครับ

    ตอบลบ
  4. เป็นนวัตกรรมที่ดีมาก เคยใส่เฝือกมาทั้งสองแบบ อันนี้เป็น นวัตกรรที่เพิ่งเคยเห็น ดีมากๆๆๆๆ

    ตอบลบ
  5. 3D Printing สามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการแพทย์และอุตสาหกรรม แต่ตอนนี้ตัวเครื่องพิมพ์มีราคาค่อนข้างสูง และขาดผู้มีความรู้ความเข้าใจ จึงทำให้เครื่องพิมพ์ 3D ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย

    ตอบลบ