วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

ลำแสงโฟตอน รักษามะเร็ง

ลำแสงโฟตอน รักษามะเร็ง

บทนำ

โรคมะเร็งเป็นโรคที่ร้ายแรงและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอับดับ 1 ของโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย ซึ่งเป็นกันมากทั้งเพศชายและเพศหญิง  หากตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ในระยะแรกก็จะสามารถรักษาให้หายได้ วิธีการรักษาด้วยกันหลายวิธี สำหรับวิธีที่นิยมวิธีหนึ่งก็คือ.. รังสีรักษา   ปัจจุบันวิทยาการทางด้านรังสีมีความก้าวหน้ามากขึ้น แพทย์สามารถวางแผนการรักษาด้วยรังสี โดยให้ปริมาณรังสีสูงเฉพาะที่ก้อนมะเร็ง ในขณะที่เซลล์ปกติข้างเคียงได้รับรังสีน้อย ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนจากรังสีน้อยที่สุด ควบคุมโรคมะเร็งได้มากขึ้น



ข้อบ่งชี้

ลำแสงโฟตอน คือ  เป็นเทคโนโลยีหนึ่งในการรักษาทางด้านรังสีวิทยาใหม่ล่าสุดของโลก มีข้อได้เปรียบที่สุดคือ ฉายรังสีสามมิติที่เป้าหมายอย่างแม่นยำ และกำหนดเขตที่ฉายรังสีโดยอัตโนมัติ เนื้อเยื่อที่ใกล้เคียงกับเนื้องอกได้รับปริมาณรังสีน้อยลง แต่ที่ตัวเนื้องอกจะได้รับปริมาณรังสีมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถทำลายเนื้องอกได้อย่างดี และภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสีน้อยลง  การใช้ฉายรังสีด้วยภาพ 3 มิติ (3D-CRT) ในการรักษาโรคมะเร็ง ทำโดยใช้รายละเอียดภาพจากระบบการวางแผนทางคอมพิวเตอร์ (CT scan & computer planning system) ทำให้แพทย์ทราบรายละเอียดตำแหน่งของก้อนเนื้องอกและเนื้อเยื่อปกติที่อยู่โดยรอบ  


ดังนั้นแพทย์จึงสามารถปรับปริมาณรังสีต่อเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ยังสามารถหลีกเลี่ยงการที่เนื้อเยื่อปกติได้ ซึ่งจะทำให้การรักษามะเร็งมีประสิทธิภาพมากขึ้น



การเตรียมตัวก่อนตรวจ
1. แต่งตัวด้วยเสื้อผ้า สะอาด หลวม รวมทั้งรองเท้า สวมใส่/ถอดง่าย สะดวก ใช้เวลาในการแต่งตัวสวมใส่น้อย เพราะในการรักษา บริเวณที่ฉายรังสี ต้องไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม จึงต้องมีการถอดเปลี่ยนเสื้อผ้า และเพื่อไม่เสียเวลามากเกินควร เนื่องจากเป็นการใช้ห้องฉายร่วมกันในผู้ป่วยจำนวนมาก
2. รับประทานอาหาร ดื่มน้ำได้ตามปรกติ หรือ ตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ แต่อย่าให้อิ่มเกินไป
3. เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องฉาย  เพราะผู้ป่วยต้องอยู่ในห้องฉายแสงประมาณ 10-15 นาที หรือ นานกว่านี้ในกรณีที่ใช้เทคนิคการรักษาที่ซับซ้อน

ขั้นตอนการตรวจ
1. กำหนดตำแหน่งเนื้องอก โดยใช้เครื่องถ่ายภาพการแพทย์ เช่น เครื่อง CT เครื่อง MRI
2. กำหนดแผนการรักษา โดยใช้ระบบการรักษาสามมิติ กำหนดทิศทางรังสีโฟตอนที่ยิงเข้าไปเนื้องอก การคำนวณปริมาณรังสีที่ต้องการสำหรับบริเวณเนื้องอกและเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างเนื้องอกและอวัยวะที่สำคัญ เพื่อกำหนดแผนการรักษาที่ดีที่
3. รักษาที่ตำแหน่งอย่างแม่นยำ เลือกใช้พลังรังสีตามขนาด ตำแหน่ง ความลึกของเนื้องอก รับรองรังสีสามารถยิงไปยังส่วนที่อยู่ลึกของเนื้องอกได้ ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อมะเร็งบวมและแตกสลายไป และเซลล์ที่ถูกกำจัดไปจะถูกเนื้อเยื่อปกติดูดซึมแบ่งย่อยและขับออกจากร่างกาย

ข้อดี
1. ปริมาณรังสีได้รวมจากหลายทิศทาง ทำให้เนื้องอกถูกกำจัดไปได้เร็ว
2. ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีเลือดออก ไม่มีความเจ็บปวด ไม่มีความเสี่ยง
3. ความเสี่ยงจากอาการอักเสบและผลข้างเคียงมีน้อยลง
4. ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย



ข้อเสีย
มักจะเกิดผลข้างเคียงตามมามากมาย
*ผมร่วง แผลในปาก ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ
* เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เกล็ดเลือดต่ำ ทำให้เลือดออกง่าย
*ผู้ป่วยยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นมะเร็งใหม่อีกรอบ เหตุเพราะมีการกระจายของตัวเซลล์มะเร็งไปทั่วร่างกายแล้ว




อ้างอิง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง. (2553). การฉายรังสีภาพ 3 มิติ .สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559. จาก http://www.siamca.com/knowledge-id167.html

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง. (2554). แพทย์รังสีรักษา กับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง. สืบค้น เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559. จาก http://www.bangkokhospital.com/cancer/?p=493#more-493

โรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว. (2557)การรักษามะเร็งด้วยความเย็นสืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559. จาก http://www.moderncancerthai.com/technology-equipment/229.html

สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2559) . การปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยที่รับการรักษา ด้วยการฉายรังสี . สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2559 .จาก http://www.chulacancer.net/patient-list.php?gid=40

สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย. (2557). การฉายรังสี หรือ การฉายแสง. สืบค้น เมื่อ 13 มีนาคม 2559. จาก. http://www.thastro.org/index.php/2/25-2014-05-28-08-17-39/15-2014-05-28-02-08-35



จัดทำโดย

น.ส.รัตยา  มะธุโป

5701211153  เลขที่ 52  Sec. B  

 































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น