วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

เก้าอี้ Sitz bath บรรเทาปวดในผู้ป่วยผ่าตัดริดสีดวงทวาร

  
โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid)

                โรคนี้เกิดจากการโตขึ้นของกลุ่มหลอดเลือดและเนื้อเยื่อบริเวณลำไส้ตรง เมื่อหลอดเลือดดำนี้โป่งพองขึ้นมีหัวซึ่งจะเรียกว่า หัวริดสีดวงซึ่งอาจพบเพียงหัวเดียวหรือหลายหัวก็ได้ เวลามีอุจจาระผ่านจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง อาจมีเลือดออก คันบริเวณทวารหนัก หรือปวดเวลาขับถ่าย ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวาร คือ ท้องผูกเรื้อรัง  ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อยๆ อุปนิสัยใช้เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระนานๆ เช่น อ่านหนังสือขณะนั่งถ่ายอุจจาระ และการเบ่งถ่ายอุจจาระแรงๆ ใช้ยาสวนอุจจาระหรือยาระบายโดยไม่ปรึกษาแพทย์  ตั้งครรภ์ ทำให้ถ่ายอุจจาระไม่สะดวก มีอาการท้องผูก กรรมพันธุ์  และภาวะโรคบางอย่าง เช่น โรคตับแข็ง ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี ทำให้เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักโป่งพอง

โรคริดสีดวงทวารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
              1. ริดสีดวงภายใน จะมีลักษณะที่สังเกตง่ายๆ คือ ในระยะที่ 1 ไม่มีก้อนยื่นออกมานอกทวารหนัก  ระยะที่ 2 มีก้อนยื่นออกมาขณะเบ่งอุจจาระ และหดกลับเข้าได้เอง ระยะที่ 3 มีก้อนยื่นออกมาขณะเบ่งอุจจาระ แต่ไม่หดกลับเข้าไปต้องใช้มือช่วยดันเข้าไป  และในระยะที่ 4 มีก้อนยื่นออกมาและไม่สามารถใช้มือดันเข้าไปได้
              2. ริดสีดวงภายนอก สังเกตง่ายๆ คือ จะเป็นก้อนที่อยู่ข้างนอกส่วนที่คลุมก้อน จะเป็นผิวหนัง มักมีอาการคัน และเจ็บมากกว่าริดสีดวงภายใน


อาการของโรคริดสีดวง
1. ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด ลักษณะจะเป็นดังนี้คือ จะถ่ายอุจจาระออกมาก่อน (ระหว่างถ่ายอาจจะเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้) จากนั้นจะมีเลือดสดๆ หยดออกมาตามหลังจากอุจจาระ เลือดจะเป็นเลือดสดจริงๆ มักไม่มีมูกเลือดปน
2. มีก้อนออกมาระหว่างถ่ายอุจจาระขณะที่เบ่งอุจจาระจะมีก้อนยื่นออกมา หรือมีก้อนออกมาตลอดเวลา
ขึ้นอยู่กับระยะที่เป็น
3. เจ็บบริเวณทวารหนักปกติริดสีดวงจะไม่เจ็บ จะเจ็บในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เส้นเลือดอุดตัน หรือมีเนื้อเยื่อตาย

การรักษาโรคริดสีดวงทวาร
                การรักษาทั่วไป คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น  ผักและผลไม้ที่มีเส้นใย และดื่มน้ำให้เพียงพอ และอาจให้ยาระบายร่วมด้วยถ้ามีอาการท้องผูก
                การรักษาทางการแพทย์
              1.การฉีดยา เพื่อทำให้หัวริดสีดวงยุบลง 
              2.การใช้ยางรัด  (rubber band ligation) เพื่อรัดให้หัวริดสีดวงหลุดออก  และพังผืดที่เกิดจากแผลจะรั้งริดสีดวงที่เหลือให้หดกลับเข้าไปในทวารหนัก 
3. การผ่าตัดริดสีดวงทวาร (Hemorrhoidectomy) เพื่อตัดหรือเย็บหรือผูกหัวริดสีดวงที่มีอาการ  อาจเสริมด้วยการตกแต่งขอบทวาร เช่นตัดติ่งหนัง หรือขยายปากทวาร หรือ ตกแต่งแผลที่มีร่วมด้วย ซึ่งทำในริดสีดวงระยะที่ 3 และระยะที่ 4 และริดสีดวงอักเสบ ซึ่งภายหลังการผ่าตัดมักมีอาการปวดซึ่งจะบรรเทาปวดโดยรับประทานยาแก้ปวดตามความเหมาะสม อาหารที่มีกากใยอาหาร และยาระบายหล่อลื่น โดยวิธีที่บรรเทาปวดได้ผลมากที่สุด และยังทำให้แผลผ่าตัดหายเร็วขึ้น คือ การใช้น้ำอุ่นแช่ก้น 

ก่อนใช้นวัตกรรม
การใช้น้ำอุ่นแช่ก้นที่ใช้กันทั่วไปในโรงพยาบาลต่างๆ คือการวางกะละมังบนฝาชักโครกและให้ผู้ป่วยนั่งแช่ซึ่งพบว่าการแช่ก้นแบบนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม และผู้ป่วยปวดเมื่อยจากการนั่งท่าที่ไม่ถนัด รวมถึงน้ำล้นกะละมังในกรณีผู้ป่วยสะโพกใหญ่

นวัตกรรม

จากปัญหาดังกล่าวคุณสิริพรรณ  ทาคำอนุสรณ์ และคุณวราพร หิรัญสุรงค์ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้คิดค้นนวัตกรรม ชื่อ เก้าอี้พรรณพร โดยนำเหล็กมาดัดทําเก้าอี้ และนำเบาะพลาสติกรูปโดนัท กะละมังอลูมิเนียมมาวางบนเหล็กดัดที่ทำโครงเป็นเก้าอี้ และเมื่อนำมาใช้ในหอผู้ป่วยพิเศษ เฉลิมพระบารมี 10 ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่  ทดแทนการแช่ก้นแบบเดิมที่ใช้กะละมังวางบนฝาชักโครก  พบว่าช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายมากขึ้น ไม่เกิดอุบัติการณ์ลื่นล้มจากการแช่ก้น  ไม่เกิดอาการปวดเมื่อยในขณะการแช่ก้น เกิดความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ใช้นวัตกรรม แผลจากการผ่าตัดหายเร็วขึ้น

วิธีปฏิบัติเมื่อใช้นวัตกรรม
เอกสารอ้างอิง
คลินิกศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนักโรงพยาบาลกรุงเทพ.2553.ริดสีดวงทวารหนัก (3).จาก :
      
http://www.komchadluek.net/detail/20100816/70285/70285.html สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2559
นิดดา โชคบุณยสิทธิ์. นวัตกรรม:เก้าอี้พรพรรณ. วารสารการพยาบาลสวนดอก ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) : 45-47.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.2558.โรคริดสีดวงทวาร.จาก : https://th.wikipedia.org/wiki สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์   2559
วัลลภ พรเรืองวงศ์.2555. 8 วิธีป้องกันริดสีดวงทวาร-10 วิธีบรรเทาอาการ.จาก :
      
http://health2u.exteen.com/20120219/8-10-en.สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 59
ห้องตรวจศัลยกรรมงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกกลุ่มการกิจบริการวิชาการ. งานพัฒนาและส่งเสริมวิชาการสุขภาพ. แนะนำการปฏิบัติ
       ตัว
โรคริดสีดวงทวาร.  (แผ่นพับ).  กรุงเทพ : งานพัฒนาและส่งเสริมวิชาการสุขภาพ กลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ โรงพยาบาล    
       ราชวิถี
จัดทำโดย นางสาวจิรนันท์  สขะ

9 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้คะ <3

    ตอบลบ
  2. ได้ความรู้เพิ่มเติมมากค่ะ นวัตกรรมนี่ใช้ได้เลย

    ตอบลบ
  3. ได้ความรู้และวิธีการรักษาเพิ่มมากขึ้น ขอบคุณที่ให้ข้อมูลดีๆนะค่ะ

    ตอบลบ
  4. ได้ความรู้และวิธีการรักษาเพิ่มมากขึ้น ขอบคุณที่ให้ข้อมูลดีๆนะค่ะ

    ตอบลบ
  5. ได้รับความรู้เพิ่มเติม ดีมากๆๆนะคะ

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาดีมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาดีมากๆเลยคะ เหมาะแก่การเรียนรู้

    ตอบลบ
  8. ดีมากค่ะ เนื้อหาเข้าใจง่ายยย

    ตอบลบ
  9. ดีมากค่ะ เนื้อหาเข้าใจง่ายยย

    ตอบลบ