วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

หมอนหอม ลดความเครียด

หมอนหอม ลดความเครียด

ที่มาและความสำคัญ

ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้ามาก  ทำให้การผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก  ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่สามารถให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ภายใน  24  ชั่วโมงหลังผ่าตัดมีมากขึ้น  แต่เนื่องจากความไม่คุ้นเคยและมีเวลาในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมในห้องผ่าตัดน้อย  รวมทั้งช่วงระยะเวลาในขณะที่นั่งรอคอยการผ่าตัด  ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดความคิดคาดการณ์  กังวล  และเกิดความกลัวต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นส่งผลให้มีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น การจัดสิ่งแวดล้อมโดยการใช้หมอนที่มีความหอมก็เปรียบกับการใช้สุคนธบำบัดอีกแบบหนึ่ง คือเมื่อเราสูดดมกลิ่นหอมเข้าไป โมเลกุลของกลิ่นหอมจะเข้าไปจับกับตัวรับที่มีความจำเพาะบริเวณเยื่อบุในโพรงจมูก และแปรเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเคมีส่งต่อไปยังสมอง ส่งผลทำให้เกิดการกระตุ้นร่างกายตามการออกฤทธิ์ของโครงสร้างทางเคมีของแต่ละกลิ่นหอมนั้นๆ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปคนละแบบ บางชนิดลดความเจ็บปวด บางชนิดทำให้อารมณ์ดี บางชนิดทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และ ลดฮอร์โมนความเครียด  เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) ได้ 

วัสดุอุปกรณ์
1. ผ้าฝ้าย
2. กลิ่นที่เราต้องการอาจจะเป็น สมุนไพร
3. เข็ม และด้าย
4. ผ้าฝ้าย/ผ้าขาว
5. ปลอกหมอน
วิธีทำ
1. นำสมุนไพรที่เลือกไว้ มาล้างด้วยน้ำสะอาด
2. นำสมุนไพรมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำมาตากแดดให้แห้ง ประมาณ 4 – 5 วัน
4. นำสมุนไพรที่ตากแห้งแล้วมาบรรจุในถุงผ้าฝ้ายที่เตรียมไว้แล้วเย็บให้เรียบร้อย
5. นำถุงผ้าสมุนไพรที่เย็บเรียบร้อยแล้วมาบรราจุลงในปลอกหมอน
6. ห่อหุ้มหมอน

วิธีใช้งาน 
- อาจจะใช้หนุนนอนได้เลย 
- นำไปเป็นเครื่องหอมตามไว้ตามที่ต่างๆ เช่น ในรถ ในห้องนั่งเล่น หรือ ในห้องนอน 
- ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งห้อง เพื่อผ่อนคลายความเครียด พร้อมด้วยกลิ่นหอม 
- หากต้องการเพื่อคลายปวดด้วย ในหมอนสามารถใส่เมล็ดพืชลงไปด้วยได้

ข้อดี
 - สามารถคลายความเครียดได้จริง
 - เป็นวัสดุที่หาได้ทั่วไป ง่ายต่อการทำ
 - สามารถเพิ่มมูลค่าได้
 - ใช้เพื่อตกแต่งเพื่อความสวยงามได้
 - ในกรณีที่เพิ่มเมล็ดพืชลงไป สามารถคลายความปวดได้ด้วย
ข้อเสีย
 - หากใส่กลิ่นสังเคราะห์หรือสมุนไพรมากเกินไป อาจจะมีกลิ่นที่ฉุนเกินไปที่จะใช้นอน อาจจะเปลี่ยนเป็นใช้ประดับตกแต่งแทน
 - กลิ่นอาจจะหายไปได้ง่าย แนะนำ หากใช้สมุนไพรควรเปลี่ยนทุกๆ 3 อาทิตย์ แต่ถ้าเป็นกลิ่นสังเคราะห์ก็หมั่นหยดทุกๆ อาทิตย์ หรือตามที่ต้องการได้

เอกสารอ้างอิง : 
- วิทยาลัยการอาชีพอำเภอกระนวน.(2556).หมอนสมุนไพร.ค้นเมื่อ 23/2/2559,จาก http://www.m-culture.in.th/moc_new/album
- ทวีศักดิ์  สิมณี.(2555).นวัฒกรรมทางเลือกสุขภาพหมอนหอมคลายปวด.ศรีสะเกษ:โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองทามน้อย 
- payyna.(2555).คลายเครียดด้วยกลิ่นหอม.ค้นเมื่อ 23/2/2559,จาก http://www.siam1.net/article-13704.html
- รักสุขภาพ.(2557).การบำบัดความเครียดด้วยกลิ่นหอม.ค้นเมื่อ 23/2/2559,จาก http://www.raksukkapap.com/index.php?m=content&f=content_detail.php&content_id=129



จัดทำโดย : นางสาว พิลาศลักษณ์  จันทร์ศรีมา

11 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาดีมากๆเลย ขอบคุณนะครับ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาดีน่าสนใจมากเลยคะ

    ตอบลบ
  3. น่าอ่านมากๆเลยๆครับบบบ

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาอ่านสะดวก มีประโยชน์

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาน่าอ่านมากๆค่ะ สามารถนำมาปฏิบัติเเละใช้ได้จริง😊😊

    ตอบลบ
  6. น่าสนใจมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาดีมากๆเลยครับ

    ตอบลบ