วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผิวหนังมหัศจรรย์ : Artificial skin

ที่มา:http://www.webmd.com/skin-problems
-and-treatments/picture-of-the-skin
ผิวหนัง (Skin)ของคนเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ แบ่งได้ 2 ชั้น คือ หนังกำพร้าและหนังแท้ โดยหนังกำพร้า (Epidermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นบนสุด มีลักษณะบางมาก ประกอบด้วยเซลล์ที่เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีการแบ่งตัวเติบโตขึ้น แล้วค่อยๆ เลื่อนมาทดแทนเซลล์ที่อยู่ชั้นบนจนถึงชั้นบนสุด แล้วกลายเป็นขี้ไคลที่สามารถหลุดออกได้ ส่วนหนังแท้ (Dermis) เป็นผิวหนังที่อยู่ชั้นล่างถัดจากหนังกำพร้า ประกอบด้วยเนี้อเยื่อคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) หลอดเลือดฝอยเส้นประสาท กล้ามเนื้อเกาะเส้นขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และมีรูขุมขนกระจายอยู่ทั่วไป

ที่มา:http://www.innovationessence.com
/artificial-human-created
ผิวหนังเทียม (Artificial skinถูกคิดค้นโดยนักวิจัยหลายๆ กลุ่ม เช่น นักวิจัยชาวสเปนจาก Tissue Engineering Research Group ได้คิดค้นวิธีการปลูกถ่ายผิวหนังเทียมจากสเต็มเซลล์ของสายสะดือ สำหรับประเทศไทยของเราได้มีการทำวิจัยภายใต้โครงการวิจัยร่วมสหสาขาวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และสภาวิจัยแห่งชาติ ได้คิดค้นผิวหนังสังเคราะห์ต้นแบบหรือ “Pore skin® : Artificial Dermis ที่ทำขึ้นด้วยเทคโนโลยีวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Project) ได้สำเร็จ โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้การรักษาบาดแผลสมบูรณ์ขึ้น และลดความพิการของผู้ป่วยแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก นอกจากนี้ทีมนักวิจัยในเกาหลีใต้ยังได้พัฒนาผิวหนังเทียมที่สามารถยืดได้ และเป็นผิวหนังเทียมที่รับรู้ความรู้สึกร้อน ความดันและความเปียกชื้นได้


ผิวหนังเทียมที่สามารถยืดได้และรับรู้ความรู้สึก ของนักวิจัยประเทศเกาหลี พัฒนาจากวัสดุยางยืดโพลีเมอร์ แม้จะไม่สามารถใช้ทดแทนผิวหนังจริงในคนไข้ที่ถูกไฟลวกได้ แต่ถูกออกแบบมาให้เป็นตัวสื่อความรู้สึกทางประสาทสัมผัสที่มีความใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดในแขนเทียมหรือมือยนต์


ที่มา:http://www.seriouswonder.com/
new-artificial-skin-future-prosthetics/
 ส่วนประกอบสำคัญของผิวหนังเทียมสำหรับแขนเทียมหรือมือยนต์
1. โพลีเมอร์
2. ซิลิโคน
3. ตัวเซ็นเซอร์ที่มีความถี่ในระดับ 400 ตัวต่อตารางมิลลิเมตร 
4. Collagen polymers


            
ที่มา:http://www.nature.com/ncomms/2014
/141209/ncomms6747/full/ncomms6747.html
            ประโยชน์ของผิวหนังเทียมสำหรับแขนเทียมหรือมือยนต์ 
  1. สามารถรับรู้แรงดัน อุณหภูมิ น้ำหนัก และความชื้นได้
  2. สามารถยืดหดได้และมีความอ่อนละมุนเหมือนผิวหนังมนุษย์
  3. สามารแยกวัสดุแห้งและเปียกได้
  4. สามารถป้องกันการกระทบกระเทือนของร่างกายได้
  5. สามารถสร้างความอบอุ่นได้เหมือนผิวหนังมนุษย์
  6. สามารถนำไปใช้ได้กับหุ่นยนต์หลายประเภท รวมทั้งมือยนต์

ข้อจำกัดผิวหนังเทียมสำหรับแขนเทียมหรือมือยนต์
  1. ผิวหนังเทียมไม่สามารถส่งสัญญาณประสาทไปเชื่อมต่อกับระบบประสาทได้
  2. ราคาค่อนข้างสูง


เอกสารอ้างอิง


Al-Ghaili, H. (2016, February 03). Artificial skin. Retrieved March 03, 2016 [Video file], from https://www.facebook.com/ScienceNaturePage/videos
George Putic. (06 มกราคม 2558). ทีมนักวิทยาศาสตร์ในเกาหลีใต้และสหรัฐสามารถพัฒนาผิวหนังเทียมขึ้นมาได้สำเร็จ. เรียกใช้เมื่อ 03 มีนาคม 2559 จาก ว๊อยซ์ ออฟ อเมริกา: http://www.voathai.com/content/science-artificial-skin-tk/2587080.html
MGR Online. (03 กันยายน 2551). ครั้งแรกเอเชีย! ไทยวิจัยผิวเทียมเฟสแรกสำเร็จ เตรียมทดลองใช้ในคน. เรียกใช้เมื่อ 13 มีนาคม 2559 จาก MGR Online: http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9510000104434
ว๊อยซ์ ออฟ อเมริกา. (01 กุมภาพันธ์ 2558). นักวิทยาศาสตร์เกาหลีใต้พัฒนาผิวหนังเทียม แต่ให้ความรู้สึกเหมือนจริง. เรียกใช้เมื่อ 03 มีนาคม 2559 [Video file] จาก http://www.voathai.com/media/video/researchers-artificial-skin-sense-of-touch/2584103.html

 

                                                                                                                      จัดทำโดย
                                                                                                                        นายศิวัช เกษมสุข
                                                                                                           นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิคชั้นปีที่ 2

9 ความคิดเห็น: