วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระดูกเทียมไทเทเนียม

กระดูกเทียมไทเทเนียม


เนื้องอกกระดูกถือว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรง ผู้ป่วยบางรายอาจถูกตัดอวัยวะหรือนิ้วทิ้ง ในการรักษา แพทย์จะต้องตัดกระดูกที่เป็นมะเร็งออกไปทั้งชิ้น แล้วนำกระดูกจากส่วนอื่นๆ ของผู้ป่วยเอง เช่น ขา หรือเท้า มาใช้ทดแทนกระดูกที่ถูกตัดไป แต่อย่างไรก็ตามรักษาด้วยวิธีนี้ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวกระดูกชิ้นนั้นๆ ได้ และมีโอกาสเกิดซ้ำหลังผ่าตัดได้อีก

ปัจจุบันได้มีนวัตกรรมใหม่ๆ ในการผ่าตัดใส่กระดูกเทียมให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด และหนึ่งในนวัตกรรมที่ดีที่สุดคือ กระดูกเทียมไทเทเนียม ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัย ปลอดภัย และราคาถูก หลังการผ่าตัดใส่กระดูกเทียมไทเทเนียมแล้วผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนปกติ สามารถขยับนิ้วหัวแม่มือได้ดี และไม่พบปัญหาแทรกซ้อนจากการผ่าตัดแต่อย่างใด

ขั้นตอนการผลิตกระดูกเทียมจากโลหะไทเทเนียมโดยการพิมพ์สามมิติ

1. เริ่มต้นจากการสแกนกระดูกต้นแบบของผู้ป่วยด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-scan) โดยจะสแกนกระดูกต้นแบบจากกระดูกชิ้นเดียวกับที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับด้านที่เป็นโรค เช่น กระดูกนิ้วชี้ด้านขวาเป็นเนื้องอกและถูกทำลายจนเสียรูปร่างไป ก็จะใช้กระดูกนิ้วชี้ด้านซ้ายมาเป็นต้นแบบ
2. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อแยกเอาชิ้นกระดูกต้นแบบที่ต้องการออกจากเนื้อเยื่อและกระดูกชิ้นอื่นๆ ที่อยู่ติดกัน
3. นำข้อมูลกระดูกต้นแบบมาปรับแต่งกลับข้าง (mirror image) พร้อมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบขนาดและตำแหน่งของรูที่จะเจาะบนกระดูกต้นแบบที่กลับข้างแล้ว สำหรับใช้เย็บตรึงกับเส้นเอ็นของผู้ป่วย
4. แปลงข้อมูลและป้อนเข้าเครื่องพิมพ์สามมิติ ทำการพิมพ์กระดูกต้นแบบโดยใช้เรซิน (resin) พร้อมตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
5. นำกระดูกต้นแบบเรซินที่ได้จากการพิมพ์สามมิติมาใช้เป็นต้นแบบในการผลิตเป็นกระดูกเทียมโลหะ ด้วยเทคโนโลยีการหล่อโลหะแบบขี้ผึ้งหาย (Lost-wax casting) โดยใช้โลหะไทเทเนียมเป็นวัตถุดิบ
6. นำกระดูกเทียมโลหะไทเทเนียมที่ได้มาขัดผิว ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรค

การนำกระดูกเทียมจากโลหะไทเทเนียมมาใช้งาน
หลังจากได้เตรียมผลิตกระดูกเทียมจากโลหะไทเทเนียมไว้เรียบร้อยแล้ว จึงดำเนินการผ่าตัดตามขั้นตอน ดังนี้
1. ผ่าตัดเอากระดูกที่เป็นเนื้องอกหรือมะเร็งกระดูกออกทิ้งไปทั้งชิ้น
2. นำกระดูกเทียมไทเทเนียมที่เตรียมไว้มาใส่ทดแทน
3. เย็บเส้นเอ็นของผู้ป่วยยึดตรึงกับกระดูกเทียมให้แข็งแรง ป้องกันการเคลื่อนหลุดจากตำแหน่งที่ต้องการ
4. ใช้โลหะหรือลวดดามยึดไว้ชั่วคราว เพื่อให้เอ็นสมานตัวให้ดีก่อน ใส่เฝือกช่วยพยุงชั่วคราว
5. รอจนเอ็นและเนื้อเยื่อสมานตัวจนดีแล้ว จึงเอาลวดและเฝือกที่ดามออก ปกติใช้เวลา 4-6 สัปดาห์
6. เริ่มฝึกขยับและใช้งาน
ในบางกรณีอาจต้องผ่าตัดสองขั้นตอน คือ การผ่าตัดเอากระดูกที่เป็นเนื้องอกออกจนหมด แล้วใส่ซีเมนต์ทางการแพทย์ไว้ชั่วคราว รอจนแน่ใจว่าไม่เกิดเนื้องอกซ้ำอีก (รอประมาณ 6-12 เดือน) จากนั้นจึงทำการผ่าตัดครั้งที่สองเพื่อนำกระดูกเทียมใส่ทดแทน

ข้อดีของการผลิตกระดูกเทียมไทเทเนียม
1. มีขนาดและรูปร่างเหมือนกระดูกปกติของผู้ป่วยคนนั้นๆ ทุกประการ
2. สามารถผลิตสำหรับใช้เฉพาะบุคคล เข้ากับสรีระกระดูก เหมือนกระดูกเดิมของผู้ป่วย
3. มีน้ำหนักเบา แข็งแรงทนทาน และมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากเข้ากันได้กับเซลล์ของมนุษย์
4. ใช้ใส่ทดแทนกระดูกที่ถูกทำลายเสียหายจากสาเหตุต่างๆ เช่น เนื้องอกกระดูก อุบัติเหตุ เป็นต้น
5. กระบวนการผลิตใช้ระยะเวลาไม่นาน ประมาณ 1 สัปดาห์
6. สามารถใช้ได้ในกระดูกที่ไม่สามารถหาวัสดุอื่นมาทดแทนได้
7. ราคาประหยัด และสามารถผลิตได้ในประเทศไทย

เอกสารอ้างอิง
สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. 2559. แพทย์ไทยผ่าตัดใส่กระดูกเทียมไทเทเนียมแทน "กระดูกนิ้วหัวแม่มือ" สำเร็จรายแรกของโลก. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.hfocus.org/content/2016/01/11598. 26 กุมภาพันธ์ 2559
อารีรัตน์ คุมสุข. 2559. กระดูกนิ้วโป้ง "ไทเทเนียม" ไทยทำได้..ช่วยผู้ป่วยเนื้องอก. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.naewna.com/scoop/201440. 26 กุมภาพันธ์ 2559

จัดทำโดย : นายนภัสนันท์ ยิ่งเจริญ

19 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับ เนื้อหาดีเลย

    ตอบลบ
  2. โอ้โห มันเยี่ยมมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาน่าสนใจ เยี่ยมเลยครับ

    ตอบลบ
  4. ^^ เป็นความรู้มากๆเลย

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาสนใจ เป็นความรู้ดีมากคะ

    ตอบลบ
  6. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  7. เนื้อหาดีมากๆเลยครับ

    ตอบลบ
  8. น่าสนใจมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  9. บล๊อกดีเลิศมากๆ พ่อแม่คงถูมิใจในตัวหนู

    ตอบลบ
  10. เนื้อหาเป็นประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ
  11. รูปแบบดีมากเลยคะ อ่านง่าย

    ตอบลบ
  12. เนื้อหามีสาระ มีประโยชน์

    ตอบลบ
  13. นวัตรกรรมดีๆน่านำไปศึกษาต่อมากค้ะ

    ตอบลบ