วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

Magnetic resonance imaging (MRI) การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

Magnetic resonance imaging (MRI)
การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

เครื่อง MRI เป็นเทคโนโลยีทันสมัยและมีราคาแพง ในปัจจุบันมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากให้ผลการตรวจวินิจฉัยที่มีความถูกต้องและแม่นยำสูง เนื่องจากให้ความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี ทำได้หลายระนาบ สามารถใช้ตรวจได้ทุกระบบของร่างกาย และการตรวจ MRI จะดีกว่าเมื่อเทียบกับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ความหมายของเครื่องตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
การตรวจร่างกายโดยการสร้างภาพเหมือนจริงของส่วนต่างๆของร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง และคลื่นความถี่ในย่านความถี่วิทยุ (Radiofrequency) ด้วยการส่งคลื่นความถี่เข้าสู่ร่างกาย และรับคลื่นสะท้อนกลับ นำมาประมวลผลและสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ให้รายละเอียดและความคมชัดเสมือน

ประเภทของเครื่องตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1.       การตรวจสมอง ไขสันหลังและเส้นประสาทในร่างกาย เช่น ภาวะสมองขาดเลือด และความผิดปกติบริเวณก้านสมอง
2.       การตรวจกระดูกสันหลังและระบบกล้ามเนื้อและข้อ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหรือการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นบริเวณข้อต่างๆ
3.       การตรวจหลอดเลือดของอวัยวะต่างๆ เช่น ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองหรือ การตีบตันของหลอดเลือดไต
4.       การตรวจช่องท้อง ท่อทางเดินน้ำดี และถุงน้ำดี เช่น นิ่วในทางเดินน้ำดี เนื้องอก หรือมะเร็งในท่อน้ำดี

การทำงานของเครื่อง MRI

ขั้นตอนการตรวจ
1.       หลังจากการเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดเพื่อที่พร้อมสำหรับการตรวจ ผู้รับการตรวจจะได้รับการพาเข้าสู่ห้องตรวจ
2.       ผู้รับการตรวจจะนอนบนเตียงตรวจ และมีเครื่องจับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กมาวางบนร่างกาย
3.       ผู้รับการตรวจนอนสบายๆนิ่งๆบนเตียงรวจ และทำตามเสียงที่บอก
4.       ตัวผู้ตรวจจะเคลื่อนไปยังศูนย์กลางของแม่เหล็ก

ข้อดี
1.       สามารถตรวจวินิจฉัยการแข็งตัวของเนื้อเยื่อที่ซับซ้อน (multiple sclerosis) ได้
2.       สามารถตรวจวินิจฉัยการเติบโตของเนื้อเยื่อ (tumors)ของต่อมใต้สมองและสมอง
3.       สามารถตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อในสมอง กระดูกสันหลังหรือข้อต่อ (joint)
4.       สามารถตรวจวินิจฉัยการฉีกขาดของเส้นเอ็น(torn ligament) ของข้อมือ หัวเข่าและข้อเท้า
5.       สามารถตรวจวินิจฉัยการได้รับบาดเจ็บของหัวไหล่(shoulder injeries)
6.       วิเคราะห์เนื้อเยื่อภายในร่างกาย
7.       วิเคราะห์การเติบโตของกระดูก cyste ตุ่ม (bulging) หรือส่วนที่ผิดปกติภายในกระดูกสันหลัง
8.       สามารถตรวจวินิจฉัยโรคที่เริ่มเป็นในขั้นแรกได้


ข้อเสีย
1.       ไม่สามารถใช้กับคนที่มีร่างกายใหญ่มากๆได้
2.       คนที่เป็นโรคขี้กลัวเมื่อเครื่องเริ่มทำงานทำให้เกิดความลำบากใจไ้ด้
3.       ในขณะที่เครื่องกำลัง scan จะมีเสียงดัง ผู้ป่วยจะต้องอุดหูด้วย earplugs
4.       เวลาที่ใช้ scan 20-90 นาทีหรือมากกว่านี้ถ้าเราเคลื่อนไหวจะทำให้ได้ภาพที่ได้ไม่ชัดเจนต้องทำการทดสอบใหม่
5.       ถ้าอุปกรณ์ของเครื่องที่เกี่ยวข้องกับ scan หลวมหรือชำรุดภาพที่ได้จะผิดเพี้ยนไป
6.       MRI มีราคาแพงมากๆดังนั้นการทดสอบจึงแพงตามไปด้วย



 แหล่งอ้างอิง

กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลกลาง. (2559, 3 10). Magnetic Resonance Imaging. Retrieved from http://www.klanghospital.go.th/index.php/component/content/article/38-2009-06-04-05-11-47/185-magaetic-resonance-imaging-mri.html
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2559, 3 10). การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า. Retrieved from http://aimc.mahidol.ac.th/mrith.html#
นิพนธ์ เด็นหมัด. (2559, 3 10). เครื่องวินิจฉัยโรคชนิด Magnetic Resonance Imaging. Retrieved from http://www.mne.eng.psu.ac.th/knowledge/student/s4410195/index.htm
ประชาชื่นอิมเมจจิ้งกรุ๊ป. (2559, 3 10). ความเป็นมาของ MRI. Retrieved from http://www.mrithailand.com/index.php?modules=article&parent_id=3&id=13

จัดทำโดย
นางสาวอัจฉราภรณ์ นาวิก
รหัสนักศึกษา 5701211054 
Section B เลขที่ 47

3 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาข้อมูลใช้ภาษาเข้าใจง่ายค่ะ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาเข้าใจง่ายค่ะ

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาน่าสนใจและเข้าใจง่ายคะ

    ตอบลบ