เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการตรวจหาภาวะที่มีพังผืดในเนื้อตับ
ตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ ตับแข็งและความยืดหยุ่นของตับ โดยเครื่องจะส่งคลื่นอัลตร้าซาวด์ตรวจจับความเร็วของคลื่นออกไปกระทบกับเนื้อตับและประเมินค่าออกมาว่า ถ้าตับเริ่มแข็งคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับจะเดินทางได้เร็ว
ค่าที่ได้จะสูง ไม่มีความเจ็บปวดใดๆ
กับร่างกาย และช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน เมื่อเทียบจากการเจาะตับ (liver biopsy) ซึ่งมีโอกาสเกิดรอยช้ำจากก้อนเลือด หรือเกิดการตกเลือดภายในได้
ใช้หลักการปล่อยคลื่นความถี่ต่ำที่
50 เฮิรตซ์ ด้วยเทคนิค VCTETM (Vibration Controlled
Transient Elastograply) เข้าไปในตับแล้ววัดคลื่นที่สะท้อนกลับมาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงต่ำ
จากนั้นเครื่องจะประมวลผลออกมา เป็นค่าความแข็งเนื้อตับ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็น
กิโลพาสคาล (kPa) หากตับเริ่มแข็งจะพบว่าคลื่นเสียงสะท้อนกลับจะเดินทางเร็ว
และค่าที่วัดได้ก็จะสูงตาม
- มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง
- อ่อนเพลีย อาหารไม่ย่อย
- คนไข้มีประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง
- คนไข้มีประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง
- มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ
- เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัส ตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C
งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
· ให้นอนหงายโดยยกแขนทั้งสองข้างไว้เหนือศีรษะ
ทาเจลที่หัวตรวจหรือผิวหนังคนไข้เพียงเล็กน้อย
· ทำการตรวจวัดทั้งหมด
10 ครั้ง
ที่บริเวณตำแหน่งเดียวกัน
· ผลที่ได้เป็นตัวเลข
ตั้งแต่ 1.5 ถึง 75 kPa ซึ่งแพทย์จะแปลผลจากการตรวจวัด
- สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้งและปลอดภัย
- ไม่ต้องมีการเตรียมร่างกายก่อนรับการตรวจ
- ใช้ได้เฉพาะการตรวจตับเท่านั้น
- ผู้ป่วยที่ติดอุปกรณ์ในร่างกาย เช่น pacemekers, defibrillators
- ผู้ที่มีภาวะท้องมาน
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยที่ช่องซี่โครงแคบอาจขัดขวางการส่งให้สัญญาณ
- ผู้ป่วยที่อ้วนมาก
หรือผู้ที่มีน้ำในช่องท้องอาจทำให้สัญญาณไปไม่ถึงเนื้อตับ
อ้างอิง
มูลนิธิตับแห่งประเทศไทย.
2559 . Fibroscan.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.thailiverfoundation.org/th/cms/detail.php?id=100. 22 กุมภาพันธ์ 2559.
โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา.
2559. อะไรคือ ไฟโบรสแกน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-th/gi-liver-center-th/technology-gi-liver-center-th/item/1319-what-is-fibroscan-th.html. 22 กุมภาพันธ์
2559.
โรงพยาบาลบีเอ็นเอช.
2559. ตรวจค้นหาความผิดปกติของตับ (Fibroscan). (ออนไลน์). แหล่งที่มา :
https://www.bnhhospital.com/th/cm/d/gastrointestinal/the_complete_digestive_medical_care/ตรวจค้นหาความผิดปกติขิงตับ-Fibroscan. 22 กุมภาพันธ์
2559.
สุภัทศรี
เศรษฐสินธและบุษบา ศุภวัฒน์ธนบดี. การวัดค
วามยืดหยุ่นของตับโดยใช้เครื่องไฟโบรสแกนเพื่อการวินิจฉัย ภาวะตับแข็งในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง.
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 2014.
ผู้จัดทำ นางสาวรุ้งทิพย์ คำเงิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น