วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

AmpliChip CYP450 Test


  AmpliChip CYP450 Test  



  -ที่มาและความสำคัญ -  

       ในเวชปฏิบัติ การใช้ยาเพื่อรักษาโรคในผู้ป่วยแต่ละราย แม้จะเป็นยาชนิดเดียวกัน แต่อาจให้ผลการรักษาที่แตกต่างกันได้ ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกร่างกาย (เช่น อาหาร การสูบบุหรี่ ยาที่ใช้รักษาโรค และสารเคมีที่ได้รับ) และปัจจัยภายในร่างกาย (เช่น อายุ เพศ พยาธิสรีรวิทยาของโรค ระดับฮอร์โมนในร่างกาย และลักษณะทางพันธุกรรม) โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางพันธุกรรมกับการตอบสนองต่อยาและการเกิดพิษจากยานี้เรียกว่า เภสัชพันธุศาสตร์ (Pharmacogenomics) ซึ่งปัจจุบันมีการศึกษาและนำไปใช้ทางคลินิกมากขึ้น 
ทีมวิจัยบริษัท โรช จีเนติกส์ ได้พัฒนาเทคโนโลยีชิปตรวจดีเอ็นเอที่มีชื่อว่า “AmpliChip CYP450 Test” ที่สามารถทดสอบปฏิกิริยาระหว่างข้อมูลหน่วยพันธุกรรม (Micro array) โดยวิเคราะห์จากยีนสองชนิดคือ CYP2D6 และ CYP2C19  การทดสอบนี้สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยแต่ละรายจะเผาผลาญยาแต่ละชนิดในระดับที่ช้า ปานกลาง หรือเร็วกว่าค่าเฉลี่ย เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัย หาวิถีทางในการรักษา ป้องกันโรคที่เหมาะสม และสั่งยาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย 


  - ผู้ป่วยที่ควรได้รับการตรวจ ได้แก่ -  


   ผู้ป่วยที่แพทย์หาสาเหตุการป่วยไม่พบหรือรักษาแล้วไม่ได้ผล

   ผู้ป่วยที่ใช้ยาหลายชนิดร่วมกันซึ่งอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา
   ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการเกิดผลข้างเคียงจากยาได้ง่าย
   ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาในกลุ่มที่มีผลต่อร่างกายมาก เช่น ยาแก้โรคซึมเศร้า ยารักษาโรคมะเร็ง และยารักษาโรคหัวใจบางกลุ่ม

  - ขั้นตอนการตรวจขั้นตอนการตรวจ -  

สามารถเจาะเลือดจากผู้ป่วยส่งตรวจได้ทันที โดยไม่มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในการเตรียมตัวของผู้ป่วยเป็นพิเศษ เลือดที่ใช้ในการตรวจจะประมาณ 5 ml. จากนั้นนำเลือดที่ได้ไปผ่านกระบวนการต่าง ๆ และนำไปตรวจลักษณะทางพันธุกรรมของยีนทั้งสองชนิด กระบวนการทั้งหมดในการตรวจจะใช้เวลาประมาณ 8 ชม. ข้อมูลที่ได้จะช่วยแพทย์ในการวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม 

  - ข้อกำหนดในการตรวจ -  

  ต้องใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ
  นำส่งตัวอย่างตรวจทันทีหรือภายใน 24 ชั่วโมง
  ใช้เลือด 2 หลอด คือ หลอดปราศจากเชื้อที่มีสารป้องกันเลือดแข็งตัวชนิด EDTA


  - กระบวนการทำงาน -  




  - ประโยชน์ -  

  ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมต่อตนเอง
  แพทย์สามารถปรับระดับยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น
  ตรวจเพียงครั้งเดียวสามารถใช้ได้ตลอดชีวิต
  ลดอัตราเสี่ยงในการได้รับยาที่ไม่เกิดผลในการรักษา
  ลดภาระค่าใช้จ่ายในการใช้ยาที่ไม่จำเป็น
  ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการรักษา

อ้างอิง

Kanitta Poonsawat. (2550). เวชศาสตร์รับสั่งตัดนวัตกรรมชุดตรวจดีเอ็นเอ. เรียกใช้เมื่อ 7 มีนาคม 2559 จาก https://www.l3nr.org/posts/106044
โรงพยาบาลพญาไท. (2555). Pharmacogenomics Personalized medicine : เภสัชพันธุศาสตร์กับการรักษาเฉพาะบุคคล. เรียกใช้เมื่อ 7 มีนาคม 2559 จาก http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/2/28/308/TH
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. (2555). ชีวิตและสุขภาพ: 'เภสัชพันธุศาสตร์กับการรักษาเฉพาะบุคคล' (Pharmacogenomics Personalized Medicine). เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2559 จาก http://www.ryt9.com/s/bmnd/1323040
ห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการแพทย์เฉพาะบุคคล โรงพยาบาลรามาธิบดี. (15 ตุลาคม 2557). การเมตาบอลิซึมยาในมนุษย์และการประยุกต์ใช้ทางคลินิค. เรียกใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2559 จาก https://www.facebook.com/PPMramathibodi/photos/ms.c.eJw9zMkNADEIA8COVgGCMf03FgkWniMfIVAAwQs3tS~;alEjC8ZvqYpLh68qvjqX2J8fR~;bPufP7JyjH9rL3mWtt8NJcgsA~-~-.bps.a.328280680597260.77074.110175215741142/716266918465299/?type=3&theater
ห้องปฏิบัติการเภสัชพันธุศาสตร์และการรักษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. (ม.ป.ป.). ข้อแนะนำการส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวินิจฉัยตัวบ่งชี้ทางเภสัชพันธุศาสตร์. เรียกใช้เมื่อ 7 มีนาคม 2559 จาก http://med.mahidol.ac.th/patho/sites/default/files/u2/patho/FORM_PGX_002%20(Update%2021-06-2011).pdf

จัดทำโดย นางสาวภัทราวรรณ  ไชยวงศ์
รหัส 5701210958 เลขที่ 42 Section B

10 ความคิดเห็น:

  1. บล๊อคดีมากเลยคะ เนื้อหาเป็นประโยชน์มาก ขอบคุณคะ

    ตอบลบ
  2. เป็นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  3. เป็นเนื้อหาที่เข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  4. เป็นความรู้ใหม่จริงๆค่ะ เนื้อหาในบล๊อคอ่านง่ายดีค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาเข้าใจง่าย แยกหมวดหมู่โดยชัดเจน

    ตอบลบ
  6. ข้อมูลมีประโยชน์มากครับ

    ตอบลบ
  7. ข้อมูลมีประโยชน์มากครับ

    ตอบลบ
  8. เป็นความรู้ใหม่ มีประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ
  9. มีความรู้ที่เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  10. มีความรู้ที่เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

    ตอบลบ