วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559

การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง


ผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง

            การผ่าตัดผ่านกล้องเป็นทางหนึ่งของการผ่าตัดรักษา เช่น เนื้องอกมดลูก ซีสต์ที่รังไข่ เป็นต้น ปัจจุบันมีวิวัฒนาการทางการแพทย์แบบใหม่ที่ช่วยให้การตัดมดลูกหัตถการที่มีความปลอดภัยสูง เจ็บตัวน้อยลง และมีระยะเวลาฟื้นตัวเร็ว สามารถผ่าตัดมดลูกออกผ่านทางรูเล็กๆ ขนาด 1  เซนติเมตร โดยไม่ต้องเปิดแผลใหญ่ที่หน้าท้อง

            การผ่าตัดผ่านกล้องส่วนใหญ่จะมีอย่างน้อย 2 รู รูที่ 1 แพทย์จะเจาะบริเวณข้างสะดือเข้าไปเพื่อถ่ายภาพภายในช่องท้อง รูที่ 2 จะเจาะบริเวณต่ำกว่าหน้าท้องเพื่อใส่เครื่องมือเพื่อตัดเนื้อเยื่อให้เป็นชิ้นเล็กๆ ออกทางรูแผลเล็กๆ ซึ่งในการผ่าตัดอาจจะมีรูเพิ่มอีก 1 หรือ 2 รู แต่จะไม่เกิน 4 รูขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายและแพทย์ผู้เชียวชาญ









1. Laparoscopy คือ การใช้กล้องส่องเข้าไปดูอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เพื่อวินิจฉัยและทำการผ่าตัด โดยมีแผลเล็กๆ 2-3 แผล ขนาด 0.5-1.0 เซนติเมตร วิธีการผ่าตัดแบบนี้มักจะทำในกรณีต่อไปนี้
- ถุงน้ำที่รังไข่ หรือซีสต์ที่รังไข่ (Ovarian cyst)
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
 (Endometriosis หรือ Chocolate Cyst)
- พังผืดในอุ้งเชิงกราน หลอดมดลูกตีบตัน
- ผู้มีบุตรยาก ใช้วิธีนี้เพื่อฉีดสีตรวจดูท่อนำไข่
- ตั้งครรภ์นอกมดลูก
- ปวดประจำเดือน หรือปวดท้องน้อยเรื้อรัง
- เนื้องอกมดลูก โดยตัดเฉพาะเนื้องอก หรือตัดทั้งตัวมดลูก





2. Hysteroscopy คือ การส่องกล้องในโพรงมดลูกโดยผ่านทางปากมดลูก เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติในโพรงมดลูก และสามารถทำการผ่าตัดโดยไม่ต้องเปิดแผลหน้าท้องและผนังมดลูก วิธีการผ่าตัดแบบนี้มักจะทำในกรณีต่อไปนี้

- เลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก โดยไม่ทราบสาเหตุ
- ติ่งเนื้อ (Polyp) เนื้องอกมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก
- เยื่อบุโพรงมดลูกหนา
- ตรวจหาความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูก
- ตรวจหาสาเหตุของการมีบุตรยาก หรือแท้งบ่อยๆ
- การนำห่วงอนามัย หรือสิ่งแปลกปลอมในโพรงมดลูกออก
 




                                                                  - ไม่มีประจำเดือน
                                                                           - ไม่สามารถมีบุตรแต่รังไข่ยังสร้างฮอร์โมนได้
- การตกไข่เป็นปกติ
- ร่างกายยังคงแข็งแรง
- ความรู้สึกทางเพศไม่เปลี่ยนแปลง
- กลับไปทำงานสามารถทำงานเบา ๆ ได้ภายใน 3 – 4 วัน
                                                                          - สามารถออกกำลังกายได้หลังการผ่าตัด 1 เดือน

                                                                       
                                                                  - แผลเล็ก
- ปลอดภัยสูง
- ภาวะแทรกซ้อนน้อย
- ฟื้นตัวเร็ว บางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
- เจ็บปวดน้อยลง





ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดสูง



แหล่งอ้างอิง

คลินิกเวชกรรม แฟมมิลี่. 2558. การผ่าตัดมดลูกด้วยวิวัฒนาการใหม่ (Laparascopic Hysterectomy)(ออนไลน์).     
              แหล่งที่มา: www.perfectwomeninstitute.com. 17 กุมภาพันธ์ 2559
นายแพทย์กิตติ ตู้จินดา. 2555. การผ่าตัดส่องกล้องทางนารีเวช (Laparascopic surgery in Gynecology).
              (ออนไลน์). แหล่งที่มา: www.vejthani.com 20 กุมภาพันธ์ 2559
นายแพทย์.ธนัท จิรโชติชื่นทวี. 2555. ช่องทางการผ่าตัดมดลูก (Rout of Hysterectomy)(ออนไลน์). แหล่งที่มา:    
              www.mea.cmu.ac.th. 23 กุมภาพันธ์ 2559
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วรลักษณ์ สมบูรณ์พร. 2557. การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้อง 
              (Laparascopic Hysterectomy)(ออนไลน์). แหล่งที่มาhttp://haamor.com.   
             19 กุมภาพันธ์ 2559
 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ อัมพัน เฉลิมโชคเจริญกิจ. 2557. ผู้หญิงโรคทางนารีเวชการผ่าตัดกล้อง. (ออนไลน์).  
            แหล่งที่มา: www.phyathai.com. 20 กุมภาพันธ์ 2559


จัดทำโดย  น.ส.ณัฐนรี  มณีงาม





1 ความคิดเห็น: