ปัจจุบันมีการนำศาสตร์โดยการจัดกระดูกที่เรียกว่า “ไคโรแพรคติก”
มาเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับคนที่เบื่อการรักษาด้วยยาแล้วไม่หาย
และอยากหาทางเลือกใหม่ให้กับตนเอง
เริ่มต้นเมื่อไหร่?
ไคโรแพรคติก มีมานาน 100 กว่าปีแล้ว
และเริ่มมีศาสตร์วิชาแพทย์ไคโรแพรคติก (Doctor of Chiropractic) เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมือง Davenport รัฐ Lowa สหรัฐอเมริกา ปี
ค.ศ 1895 โดยผู้เริ่มต้นคนแรกคือ Dr.D.D.Palmer
ไคโรแพรคติก
คืออะไร
ไคโรแพรคติก เป็นศาสตร์การรักษาทางเลือกแบบใหม่โดยการใช้มือ ไม่ใช้ยาในการรักษา เพื่อปรับโครงสร้างของกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อและข้อต่างๆ ให้เป็นปกติ และรักษาร่วมกับการออกกำลังกาย การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อควบคู่ไปด้วย ภายใต้การดูแลของไคโรแพรคเตอร์ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศาสตร์ไคโรแพรคติกนี้เน้นในเรื่องความสมดุลของระบบโครงสร้าง สภาวะจิต และให้ความสำคัญในเรื่อง กระดูกสันหลัง ระบบประสาท โครงสร้างของร่างกาย โภชนาการและวิตามิน
ไคโรแพรคติก เป็นศาสตร์การรักษาทางเลือกแบบใหม่โดยการใช้มือ ไม่ใช้ยาในการรักษา เพื่อปรับโครงสร้างของกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อและข้อต่างๆ ให้เป็นปกติ และรักษาร่วมกับการออกกำลังกาย การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อควบคู่ไปด้วย ภายใต้การดูแลของไคโรแพรคเตอร์ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศาสตร์ไคโรแพรคติกนี้เน้นในเรื่องความสมดุลของระบบโครงสร้าง สภาวะจิต และให้ความสำคัญในเรื่อง กระดูกสันหลัง ระบบประสาท โครงสร้างของร่างกาย โภชนาการและวิตามิน
ไคโรแพรคติกเหมาะสำหรับใคร?
ไคโรแพรคติก มีเป้าหมายเพื่อใช้บำบัดอาการเกี่ยวกับกระดูกสันหลังและระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการต่อไปนี้
· ไมเกรน ปวดศรีษะโดยรอบข้างเดียว
· ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเข่า
· ปวดหรือชาตามแขน ขา
· อาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ อาการเครียด
· หมอนรองกระดูกเคลื่อน
· ข้อไหล่ติด
· ปวดข้อศอก
· กระดูกสันหลังผิดรูป
· ปวดหลังร้าวลงขา
· กล้ามเนื้ออ่อนแรง
· ปวดเท้า
· การทรงท่าผิดปกติ
· เอ็นข้อมืออักเสบ
· ความยาวขาไม่สมดุล
· ปวดคอจากอุบัติเหตุต่างๆ
· การบาดเจ็บจากกีฬา
ไคโรแพรคติกทำการรักษาอย่างไร?
การรักษาเริ่มต้นโดยการซักประวัติ
สอบถามอาการป่วยเบื้องต้น และ X-ray คลำบริเวณกระดูกสันหลังเพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค
ต่อมาทำการรักษาด้วยการจัดระบบโครงสร้างกระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกรานให้กลับคืนสู่สมดุล
คนไข้จะได้รับการตรวจบนเตียงแบบพิเศษและแพทย์ต้องนวดกล้ามเนื้ออย่างแรงก่อนการเริ่มใช้เทคนิคจับกระดูกซึ่งทำให้เกิดเสียงกรอบเหมือนเสียงหักข้อมือ
และมีการใช้อุปกรณ์ร่วมด้วย เช่น การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ใช้ไอร้อนช่วยในรายที่กล้ามเนื้อเกร็ง และอาจมีการใช้คอเสื้อพยุงตัวหรือสลิงแขวนระหว่างการบำบัด
และต้องอาศัยการออกกำลังกายและโภชนาการที่ถูกต้องร่วมกันไป
การรักษาให้ได้ผลที่ดีขึ้นกับองค์ประกอบ
4 ประการ คือ
· อาการที่เป็นนั้นรุนแรงเพียงใด
· ระยะเวลาที่เริ่มอาการเป็นมานานเท่าไหร่
· ร่างกายมีขีดความสามารถต่อการรักษาเท่าใด
· ปฏิบัติตามคำแนะนำการรักษาเคร่งครัดหรือไม่
ได้ความรู้เยอะเลยครับ
ตอบลบกำลังสนใจเรื่องนี้อยุ่พอดี
ตอบลบใช้เวลารักษานานมั้ยคะ
ตอบลบมีเพื่อนที่ปวดตัวบ่อยๆ ค่ะ จะนำไปบอกสิธีนี้กับเพื่อนนะคะ น่าสนใจมากๆ เลยค่ะ
ตอบลบได้ความรู้ใหม่ เป็นอีกทางเลือกที่ดีค่ะ แอบสนใจอยู่แต่ไม่ทราบว่าในประเทศไทยจะมีรึยังคะ ถ้ามีจะดีมากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ
ตอบลบ