การตรวจและรักษาโรคทางเดินน้ำดีและตับอ่อน ผ่านการส่องกล้องท่อน้ำดี ERCP
การส่องกล้องท่อน้ำดี เป็นการส่องกล้องเข้าไปทางปาก
ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นไปถึงรูเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็ก
และฉีดสารทึบแสงเข้าไปแล้วถ่ายภาพ x-ray
เพื่อวินิจฉัยโรคทางเดินน้ำดีและตับอ่อน นอกจากนี้การส่องกล้องยังสามารถดึงนิ่วออกจากทางเดินน้ำดีและตับอ่อน
วางท่อระบายน้ำย่อยของตับอ่อนในกรณีที่มีการอุดตันได้ด้วย
การเตรียมตัวเพื่อส่องกล้อง
1. แจ้งแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัว ยาที่ใช้
ประวัติการผ่าตัด การแพ้ยา รวมทั้งการตั้งครรภ์
2. ต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่
เจาะเลือด เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
หรือเป็นการตรวจหาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีด้วยเครื่อง MRI
3. งดยาสลายลิ่มเลือด และยาแอสไพริน อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนทำการส่องกล้อง
4. งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
5. กรณีที่มีฟันปลอมต้องถดออกก่อน
การปฏิบัติหลังการส่องกล้อง
- ฤทธิ์ยาชาที่บริเวณลำคอยังไม่หมด
ถ้ามีน้ำลายให้บ้วนทิ้งและไม่ควรรับประทานอาหารหรือน้ำ เพื่อป้องกันการสำลัก
- ในกรณีที่ได้รับยากล่องประสาทต้องนอนพัก
เพื่อดูอาการก่อนว่าปลอดภัย จึงจะอนุญาตให้กลับไปพักหรือกลับบ้านได้
- หากปวดเสียวท้อง แน่นหน้าอก ปวดต้นคอ
ถ่ายดำหรือมีเลือดออก ให้รีบพบแพทย์ทันที
- อาจมีอาการแน่นหน้าอก ท้องอืดจากลมขณะทำการตรวจ อาการนี้จะค่อยๆ หายไปเอง
ข้อดี
เป็นหัตถการที่ทันสมัย โดยใส่สายท่อระบายและตรวจหาความผิดปกติ สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนได้
และสามารถช่วยในการรักษาโรคทางเดินน้ำดีและตับอ่อน
ข้อเสีย
อาจทำให้มีเลือดออกในทางเดินน้ำดีและตับอ่อน
มีภาวะลำไส้ฉีกขาดทะลุรั่ว และเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อในท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนได้
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
คณะแพทย์กลุ่มงานศัลยกรรม
โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้ทำการศึกษาผลการรักษาด้วยวิธี ERCPโดยมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับอัตราความสำเร็จของการทำ cannulation และผลแทรกซ้อนของการทำ ERCP จากผลการวิจัยพบว่าความสำเร็จในการทำ cannulation ยังไม่ดีเท่าที่ควร สำหรับผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นก็อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และการศึกษานี้ยังได้ยืนยันถึงความปลอดภัยของการทำ ERCP ซึ่งจากผลการศึกษาดังกล่าวทำให้คณะศัลยแพทย์ผู้ทำหัตถการ
ERCP ให้ความสำคัญต่อการประเมินประสิทธิภาพของการทำหัตถการ ERCP และพัฒนาการทำหัตถการเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้นในอนาคต
อ้างอิง
นายแพทย์ทศพล เจริญ.2012”การส่องกล้องท่อน้ำดี
ERCP”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/11/805/PYT2/th (23 กุมภาพันธ์ 2559)
วัชรินทร์ คำสา 2556. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http//gicente.blogspot.com/2013/09/ercp.html
(23 กุมภาพันธ์ 2559)
Super User.2558 “การส่องกล้องตรวจทางเดินน้ำดีและตับอ่อน
Endoscopic Retrograde Cholangio Pancreatography (ERCP)”. [ระบบออนไลน์].
แหล่งที่มา http://www.nkcpsu.org/new/index.php/service/procedure/10-endoscopic-retrograde-cholangio-pancreatography-ercp (23 กุมภาพันธ์ 2559)
นางสาวฐณัฐชภรณ์ ปันติ๊บ 5701210064
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น