คุณพ่อคุณแม่ในยุคปัจจุบันหันมาใส่ใจลูกน้อยในขณะที่ตั้งครรภ์มากขึ้น
อยากเห็นวิวัฒนาการของลูก อยากรับรู้ถึงความรู้สึกของเจ้าตัวน้อย รวมถึงอยากเห็นหน้าตาของเจ้าตัวน้อยแบบชัดเจน
วิธีที่ได้รับความนิยมที่สุดในเวลานี้คือ การทำอัลตร้าซาวน์ 4 มิติ
ซึ่งสามารถเห็นลักษณะของลูกได้อย่าชัดเจนเมื่อเทียบกับอัลตร้าซาวน์แบบเดิม
อัลตร้าซาวน์ (Ultrasound) เป็นคลื่นเสียงความถี่สูงที่มากกว่า 20,000 Hz ในทางการแพทย์หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือ
Ultrasounography คือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไปจากหัวตรวจ
(Transducer) คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ
ซึ่งมีความสามารถในการผ่านและสะท้อนกลับไม่เท่ากัน หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับระดับต่างๆ
ซึ่งบ่งถึงความหนาแน่น
และระดับความลึกของเนื้อเยื่อนั้นนำสัญญาณที่ได้รับมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพขึ้นมา
อัลตร้าซาวน์โดยทั่วไปเป็นภาพชนิด 2 มิติ
คือ มิติด้านกว้างและด้านยาว ส่วนภาพอัลตร้าซาวน์ 3 มิติ และ
4 มิติ จะมีหัวตรวจและการประมวลภาพที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยหัวตรวจเป็นชนิดเฉพาะที่สามารถส่งคลื่นเสียงในลักษณะหลายระนาบ
เก็บข้อมูลได้ติดต่อกัน ส่งไปประมวลผลและสร้างภาพ 3 มิติให้มีความลึกเหมือนของจริง
ในขณะที่อัลตร้าซาวน์ 4 มิตินั้นเป็นเทคโนโลยีล่าสุด ซึ่งเป็นการนำเวลามาใช้ในการประมวลด้วย
โดยเครื่องจะทำการเก็บภาพ 4 มิติ
แต่ละภาพแล้วแสดงผลเรียงต่อกัน ทำให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว เช่นเดียวกับภาพยนตร์
ขั้นตอนการอัลตร้าซาวน์
แพทย์จะเป็นผู้ทำการตรวจ
โดยผู้ป่วยจะนอนหงายสบายๆ บนเตียง จากนั้นแพทย์จะทาผิวหนังในบริเวณที่ตรวจด้วยยาเจลเพื่อช่วยในการถ่ายทอดคลื่นเสียงจากเครื่องตรวจผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น
ขณะตรวจแพทย์จะกดหัวเครื่องตรวจลงบนผิวหนัง/ร่างกายส่วนที่จะตรวจเบาๆ เคลื่อนไปจนทั่วเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่ตรวจ
จากนั้นภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่ได้จากการตรวจจะปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์
ในการตรวจแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 15-45 นาที ขึ้นกับขนาด
และตำแหน่งเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่ต้องการตรวจ
ข้อดีของการตรวจอัลตร้าซาวด์ 4 มิติ
• ระยะเวลาในการตรวจครรภ์สั้นลง เนื่องจากสามารถมองเห็นร่างกายของทารกและอวัยวะต่างๆ ได้จากภาพที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์
• อวัยวะภายนอกของทารกในครรภ์สามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ 2 มิติ เช่น ใบหน้า แขน ขา นิ้วมือ
• พฤติกรรมต่างๆ ของทารกในครรภ์สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ 2 มิติ อาจมองเห็นได้ยาก หรือไม่อาจมองเห็นได้ เช่น สามารถมองเห็นทารกกำลังหาว ดูดนิ้ว ยิ้ม กลืนน้ำคร่ำ กระพริบตา หรือขยับนิ้วมือ
อ้างอิง
อัลตร้าซาวน์คืออะไร.
สืบค้นเมื่อวัน 22 กุมภาพันธ์, 2559, จากโรงพยาบาลพญาไท http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/2/27/306/TH
อัลตร้าซาวน์ 3 มิติ และ 4 มิติ. สืบค้นเมื่อวัน 22 กุมภาพันธ์, 2559, จากโรงพยาบาลพญาไท http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/2/27/307/TH
อัลตร้าซาวน์. สืบค้นเมื่อวัน
6 มีนาคม, 2559,จากหาหมอ: http://haam or.com/th/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%8C/
จัดทำโดย : นางสาวปดิวรัดา อาจกล้า
👍🏼👍🏼👍🏼👍🏼
ตอบลบจ๊ะเอ๋เบบี๋
ตอบลบงานเนื้อหาน่าสนใจนะครับ 👍🏼👍🏼
ตอบลบเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยค่ะ
ตอบลบเนื้อหาดีมากค่ะ
ตอบลบมันเป็นเรื่องจริงที่พ่อแม่ยุคนี้ให้ความสนใจครับเนื่องจากจะได้เห็นพัฒนาการของลูกที่อยู่ในครรภ์ อยากรู้ว่าลูกฉันสมบูรณ์ไห . ขอบคุณเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดเรื่องดีๆๆ ขึ้น แต่จริงๆๆ แล้วเรืรองค่าใช้จ่าบน่าจะน้อยลงกว่านี้นะครับผม....😀😀😀😀😀😀😀😀😀
ตอบลบมันเป็นเรื่องจริงที่พ่อแม่ยุคนี้ให้ความสนใจครับเนื่องจากจะได้เห็นพัฒนาการของลูกที่อยู่ในครรภ์ อยากรู้ว่าลูกฉันสมบูรณ์ไห . ขอบคุณเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดเรื่องดีๆๆ ขึ้น แต่จริงๆๆ แล้วเรืรองค่าใช้จ่าบน่าจะน้อยลงกว่านี้นะครับผม....😀😀😀😀😀😀😀😀😀
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจมากค่ะ
ตอบลบเป็นประโยชน์และน่าสนใจมากคะ
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจมากค่า��������
ตอบลบได้ความรู้เพิ่มเติมมากเลยค่ะ
ตอบลบเยี่ยมจริงๆ
ตอบลบเนื้อหาดีมากๆเลยครับ
ตอบลบ