ไหมเย็บแผลที่ทำจากข้าวเจ้า
ทีมวิจัยจากภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รศ.นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย
ร่วมกับหน่วยวิจัยชีววัสดุและเครื่องมือแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีแนวคิดที่ต้องการผลักดันอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์และสุขภาพเพื่ออนาคตโดยใช้ทรัพยากรที่อยู่ในประเทศ
จึงมีแนวคิดในการนำข้าว (ข้าวเจ้า) ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศมาพัฒนาเป็นไหมเย็บแผล
และให้ชื่อนวัตกรรมใหม่ของการแพทย์นี้ว่า “ข้าวเย็บแผล” ซึ่งมีความแตกต่างจากไหมเย็บแผลทั่วไปคือ สามารถย่อยสลายได้เอง ไม่ส่งผลข้างเคียงกับตัวผู้ป่วย ช่วยลดการนำเข้าวัสดุทางการแพทย์ ดังนั้นข้าวเย็บไหมจึงเป็นนวัตกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวเจ้าไทย และส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยในอนาคตได้
(a) (b)
รูปที่1 (a) รูปทรงอนุภาคผงแป้งข้าวเจ้ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 6.5 µ
(b) พื้นผิวที่ตัดขาดแผ่นเจลข้าวเจ้าแสดงให้รูพรุนแบบปิด
ไหมเย็บแผลที่ทำจากข้าวเจ้า
|
ข้าวเย็บแผล คือการนำแป้งข้าวจ้าวมาผสมกับเจลาติน คาร์บอกซีเมทธิลเซลลูโลส และผงคาร์บอนจากกะลามะพร้าว
โดยข้าวเย็บแผลนี้มีคุณลักษณะที่เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการแพทย์คือ
สามารถคงรูปได้เมื่ออยู่ในน้ำ มีค่าแรงดึงยืดขนาดสูง เส้นใยเย็บแผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
1 มิลลิเมตร สามารถยกขวดบรรจุน้ำหนักมากกว่า 400 กรัม
นอกจากนั้นสีดำของผงนาโนคาร์บอนยังช่วยให้ศัลยแพทย์สังเกตแยกแยะออกได้ง่ายเมื่อต้องปะปนกับเลือดภายในเนื้อเยื่อระหว่างผ่าตัด
แผ่นไฮโดรเจลที่มีฤทธิ์เป็นกรดใช้ห้ามเลือด
|
นอกจากข้าวเย็บแผล ทีมวิจัยยังได้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับข้าวเจ้า
เช่น ก้อนพรุนแบบอ่อนนุ่มสำหรับใช้ทดแทนกระดูกมนุษย์
ซึ่งผลิตจากข้าวเจ้าผสมกระดูกวัว แผ่นไฮโดรเจลที่มีฤทธิ์เป็นกรดแก่เมื่อสัมผัสของเหลว
เพื่อใช้ห้ามเลือดต่ออวัยวะอ่อนนุ่มที่ตกเลือดขณะผ่าตัด และแผ่นฟองข้าวเจ้าที่อุ้มน้ำได้ปริมาณมากสำหรับใช้ห้ามเลือดในงานผ่าตัด ซึ่งนวัตกรรมทั้งหมดนี้ได้เป็นที่ยอมรับของวงการแพทย์
และได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอีกด้วย
อ้างอิง
ข้าวเย็บแผล -
นวัตกรรมทางการแพทย์แห่งโลกอนาคต. (31
ตุลาคม 2551). เข้าถึงได้จาก วิชาการ.คอม: http://www.vcharkarn.com/varticle/38242
นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย
. (1 มกราคม 2558). คิดcreativethailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความสร้างสรรค์. เข้าถึงได้จาก creativethailand:
http://www.tcdc.or.th/creativethailand/article/Matter/21921
จัดทำโดย อภิสรา
ปันทอง
สุดยอดมากเยยย
ตอบลบเยี่ยมเลย
ตอบลบเนื้อหาดีมากเลยคะ ขอบคุณคะ
ตอบลบน่าสนใจเป็นประโยชน์มากค่ะ
ตอบลบ