วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

มะเร็งหายได้ ด้วยมหัศจรรย์ RADIOFREQUENCY ABLATION (RFA)




มะเร็งหายได้ ด้วยมหัศจรรย์ Radiofrequency Ablation (RFa)

บทนำ
           ปัจจุบันวิธีการรักษามะเร็งมีความก้าวหน้าอย่างมาก มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการรักษาอย่างหลากหลาย เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การให้เคมีบำบัด แต่เทคนิคใหม่ที่กำลังเป็นที่สนใจ คือ การรักษาโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ Radiofrequency Ablation (RFA) ซึ่งเป็นการใช้เข็มพิเศษที่เป็นขั้วไฟฟ้าและมีระบบควบคุมอุณหภูมิ สอดผ่านผิวหนังเข้าไปทำลายก้อนมะเร็งภายในอวัยวะต่างๆ ด้วยคลื่น Radiofrequency Ablation (RFA) โดยอาศัยเครื่องอัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในการช่วยนำทางและบอกตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง  อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีนี้ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย 





ข้อบ่งชี้



การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยมะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม  ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วกลับมาเป็นมะเร็งใหม่ หรือไม่สามารถรับการผ่าตัดได้ จะได้ผลดีในก้อนมะเร็งที่มีขนาดไม่เกิน 5 cm และจำนวนก้อนไม่เกิน
  3 ก้อน สามารถทำให้ก้อนเนื้อเล็กลงและเจริญเติบโตช้า และตำแหน่งของก้อนมะเร็งต้องไม่อยู่ในที่ที่จะเกิดอันตรายจากความร้อนสู่อวัยวะใกล้เคียง 
 




ขั้นตอนการตรวจ

   
   ขั้นแรกจะนำผู้ป่วยไปยังห้องอัลตราซาวน์หรือห้องเอกซเรย์ โดยแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้เครื่องมือในการนำทางเพื่อสอดเข็มเข้าไปในตำแหน่งที่ต้องการ จากนั้นแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่และทำการสอดเข็มผ่านผิวหนังเพื่อเข้าไปยังตำแหน่งเซลล์มะเร็งที่ต้องการโดยมองเห็นภาพเข็มที่สอดใส่ไปในอวัยวะอย่างชัดเจนผ่านทางจอภาพ ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าตรงตามตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อเข็มเข้าไปถึงตำแหน่งที่ต้องการแล้ว ก็จะปล่อยพลังงาน Radiofrequency Ablation (RFA) ผ่านเข็มเข้าสู่เซลล์มะเร็ง ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนไปทำลายเซลล์มะเร็ง ใช้เวลาประมาณ 20-40 นาที ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนของเซลล์มะเร็งก้อนนั้น หลังจากตรวจเสร็จผู้ป่วยจะมีแผลเล็กน้อย และปิดทับด้วยผ้าพันแผล 






ข้อดี
1. ผลการรักษาได้ผลดีคล้ายกับการผ่าตัด มีความปลอดภัยสูง ไม่ต้องเสี่ยงต่อการวางยาสลบ
2. ใช้เวลาในการรักษาไม่นาน
3. บาดแผลเล็ก มีอาการปวดน้อย  เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย
4. ผู้ป่วยฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและไม่ต้องพักอยู่โรงพยาบาลนาน
6. ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรม หรือทำงานได้ตามปกติภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
  

ข้อเสีย
1. ไม่ค่อยได้ผลดีในผู้ที่มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่

2. มีข้อจำกัดหลายอย่าง

3. ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง

วิธีรักษามะเร็งด้วย RADIOFREQUENCY ABLATION (RFA)

 อ้างอิง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง.  (2555). การรักษามะเร็งด้วยคลื่นความถี่สูง Radiofrequency Ablation  (RFA).
        สืบค้นจาก http://www.siamca.com/knowledge-id314.html
ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย.  (2558).  รักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีที่ไม่ได้มาตรฐานเสียโอกาสเสียทั้งเงินและอันตรายต่อชีวิต.
        สืบค้นจาก http://www.thastro.org/index.php/2/63-2015-03-17-02-37-19
นิศากร กิจสวัสดิ์.  (2553).  RFA:Radiofrequency Ablation มะเร็งตับ. สืบค้นจาก  
        https://www.facebook.com/messages/nuchkhun.sone 
ภาครังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล.  (2552).  การรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับโดยการจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ Radio
         Frequency Ablation. สืบค้นจาก  http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/radiology/diagRadiology/RFA.html
ศูนย์รังสีวิทยา โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต.  (2559).  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรังสีวิทยา. สืบค้นจาก
         http://www.phukethospital.com/Thai/Health-Information/X-ray-Radiofrequency-Ablation.php
  American Medical Center.  (2012). Radio Frequency Ablation of Liver Tumor. สืบค้นจาก
         https://www.youtube.com/watch?v=8Xu0mxkLSzE
 





จัดทำโดย
นางสาวสุภานาถ   วงสลี
นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
 
 
 

 

 


 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น