วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

ROBOT TRAINER หุ่นยนต์ช่วยเดินอัจฉริยะ

ROBOT TRAINER หุ่นยนต์ช่วยเดินอัจฉริยะ

            ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นผลพวงจากโรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะทางสุขภาพที่ต้องได้รับการฟื้นฟูให้กลับคืนสภาพให้เร็วที่สุด ซึ่งในอดีตการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต มักฟื้นฟูโดยการทำกายภาพบำบัดซึ่งทำให้มีข้อเสียเกิดขึ้นคือ ต้องมีผู้ควบคุมในการทำกายภาพบำบัดแต่ละครั้ง และถ้าผู้ป่วยมีรูปร่างใหญ่กว่านักกายภาพบำบัดก็จะทำให้เกิดปัญหาในการทำกายภาพให้กับผู้ป่วย ปัจจุบันได้มีการนำเอา ROBOT TRAINER มาใช้ในการฟื้นฟูผู้ป่วย ซึ่งช่วยให้สะดวกขึ้น ไม่เกิดปัญหาในการทำกายภาพบำบัด และทันสมัยมากขึ้น
            การทำงานของหุ่นยนต์ฟื้นฟูสภาพการเดินจะประกอบด้วย ชุดอุปกรณ์ผยุงลำตัวเพื่อรับน้ำหนักของตัวของผู้ฝึก หุ่นยนต์ฝึกจะช่วยในการผยุงให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกและข้อเข่าใกล้เคียงกับการเดินปกติ โดยอาศัยหลักการของ TASK Specific training เพื่อกระตุ้นย้อนกลับไปยังสมองให้มีการรับข้อมูลและส่งสัญญาณประสาทกระตุ้นเพื่อฟื้นฟูการทำงานของสมอง (experience and learn dependent neural plasticity) ลดภาวะการเกร็งของกล้ามเนื้อจากการขยับเคลื่อนไหวข้อ และส่วนของหน้าขอแสดงผลของ ROBOT TRAINER ยังสามารถแสดงภาพเกมส์ซึ่งกำหนดสถานการณ์จำลองเพื่อเสริมทักษะการฝึกให้ได้ทักษะที่ต้องการ สร้างแรงจูงใจในการฝึก อีกทั้งยังสร้างความสนุกสนาน ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในการฝึก และ ROBOT TRAINER ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยระหว่างฝึกซึ่งจะมีเซ็นเซอร์ในการจับการเกร็งต้านของกล้ามเนื้อเมื่อเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อขึ้นเครื่องจะหยุดทันทีเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ รวมถึงมีอุปกรณ์พยุงตัวที่แข็งแรงเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
นอกจากนั้น ROBOT TRAINER ยังช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะอ่อนแรงได้ออกกำลังกาย ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างสม่ำเสมอจะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และป้องกันภาวะกระดูกพรุนจากการลงน้ำหนักที่กระดูกได้อีกด้วย ROBOT TRAINER นี้ยังสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพการใช้แขนและมือ ในการฝึกผู้ที่มีภาวะอ่อนแรงหรือการควบคุมการเคลื่อไหวของแขนและมือผิดปกติ
การฟื้นฟูผู้ป่วยด้วย ROBOT TRAINER นี้ยังสามารถทำให้ผู้ป่วยโดยเฉพาะกลุ่มที่มีภาวะการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถลุกเคลื่อนไหวร่างกายเองได้ สามารถเข้ารับการฟื้นฟู ลดภาวะการติดเตียงของผู้ป่วย และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ เช่น การเกิดแผลกดทับ ข้อติดแข็ง เป็นต้น





















           การฟื้นฟูสมรรถภาพการเดินโดยใช้ ROBOT TRAINER นี้มีข้อดีคือ สามารถฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณสมอง แต่ในปัจจุบัน ROBOT TRAINER ยังมีข้อจำกัดคือค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรักษา ทำให้ผู้ป่วยที่ไม่มีทุนทรัพย์ในการรักษาไม่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพโดยใช้ ROBOT TRAINER 



อ้างอิง
โรงพยาบาลพญาไท. (2553). ROBOT TRAINER. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559,  จาก https://www.youtube.com/watch?v=psrfOXnGRMA
โรงพยาบาลพญาไท.(2556). ROBOT TRAINER. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์2559, จาก http://www.phyathai.com/medicalarticlesub/2/69/th
DJitt Laowattana.(2554). อุปกรณ์ช่วยเดิน robot trainer. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์2559, จาก http://fibo.kmutt.ac.th/fiboweb/2013/index.php/th/education/year-book/15-from-humans-to-intelligent-machines-th/302-2012-08-10-05-11-46

จัดทำโดย นางสาวรุังตะวัน ธรรมใจ 5701210439 

5 ความคิดเห็น:

  1. เป็นนวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่มีให้แก่กัน

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่มีให้แก่กัน

    ตอบลบ