ผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว Ventricular
Septal Defect (VSD)
คือโรคหัวใจแต่กำเนิดที่มีความผิดปกติในการสร้างผนังกั้นหัวใจห้องล่างซ้ายและห้องล่างขวาที่ไม่สมบูรณ์
ทำให้เกิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่างและมักเป็นความผิดปกติโดยกำเนิด ส่วนสาเหตุอื่นๆ มักเกิดในขณะตั้งครรภ์ เช่น การติดเชื้อไวรัสในมารดา
เช่น เชื้อหัดเยอรมัน หรือมารดาได้รับแอลกอฮอล์ สิ่งเสพติด สารเคมี ยาบางชนิด และมารดาเป็นเบาหวาน เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักมีอาการเหนื่อย หายใจเร็ว เหนื่อยขณะดูดนม หัวใจบีบตัวเร็ว
เด็กโตช้า ซีดและติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย โรคนี้อาจพบภาวะแทรกซ้อนได้
คือเลือดไปยังปอดมากเกินไป
หัวใจล้มเหลว หัวใจช่องบนสั่นระริก อัมพฤกษ์ และความดันเลือดในปอดสูง
VSD ที่มีรูรั่วขนาดเล็กและไม่มีอาการผิดปกติจะไม่มีการรักษาเฉพาะ
แค่คอยติดตามอาการและดูแลสุขภาพทั่วไป บางรายรูรั่วอาจปิดได้เองเมื่อโตขึ้น ส่วน VSD ที่มีขนาดใหญ่จะให้การรักษาโดยการให้ยาเพื่อช่วยรักษาอาการเหนื่อยหอบ
ควบคู่กับการรักษาอื่นๆ ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและมีอาการรุนแรงขึ้นจะต้องรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการ
(Palliative surgery) โดยอาจจะเป็นการผ่าตัดทำ
Pulmonary artery banding ซึ่งเป็นการรัดให้ขนาดของ
Pulmonary artery มีขนาดเล็กลง
ลดจำนวนเลือดที่ไปยังปอดน้อยลง หรือทำการการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ (Corrective
surgery) โดยการผ่าตัดเปิดหัวใจ
(opened heart) เพื่อเข้าไปปิดรูรั่ว

อุปกรณ์พิเศษสำหรับปิดรูรั่วเหล่านี้ทำจากโลหะผสมที่เรียกว่า
นิทินอล ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย สามารถปิดรูรั่วได้ดี แรงกดบนเนื้อเยื่อรอบข้างน้อย
อีกทั้งผิวของนิทินอลเคลือบด้วยทองคำขาวเพื่อป้องกันไม่ให้นิเกิลทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อ
การอุดรูรั่วด้วยอุปกรณ์พิเศษนี้ไม่สามารถทดแทนการผ่าตัดได้ทั้งหมด แต่สามารถทดแทนได้ประมาณ
75% ขึ้นอยู่กับขนาดรูรั่วในหัวใจ
1. หลีกเลี่ยงอัตราเสี่ยงที่เกิดจากการผ่าตัดเปิดหัวใจ
2. ไม่มีรอยแผลผ่าตัดที่หน้าอก
และลดความเจ็บปวดที่อาจเกิดจากการผ่าตัด
3. ใช้เวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 2-3 วัน
เมื่อเทียบกับ 6-8 วันในการผ่าตัด
4. ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้เร็วขึ้น
5. ลดระยะเวลาพักฟื้นที่บ้าน เหลือเพียง 2-3 วัน
เมื่อเทียบกับ 3-4 สัปดาห์ จากการผ่าตัด
แต่อย่างไรก็ตามในการรักษาผนังกั้นหัวใจรั่วนั้น
แพทย์จะพิจารณาถึงตำแหน่งและขนาดของรูรั่ว หากตำแหน่งอยู่ใกล้กับทางเดินเส้นประสาท
และขนาดรูรั่วใหญ่เกินไป แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัด สำหรับในเด็กๆ
หากมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 8 กิโลกรัม
แพทย์ก็จะแนะนำให้ผ่าตัดเช่นเดียวกัน
เอกสารอ้างอิง
(ม.ป.ป.). (2555). ผลสำเร็จ!!
การคิดค้นอุปกรณ์ปิดรูรั่วที่ผนังหัวใจห้องล่าง โดยไม่ต้องผ่าตัด. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559, จาก
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เว็บไซต์: http://www.chulacardiaccenter.org/th/component/content/article.
(ม.ป.ป.). (2558). หมอจุฬาฯใช้'นิทินอลปิดรูรั่วหัวใจ .
สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559, จากข่าวจุฬาฯ
ในหน้าหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์: http://www.chula.ac.th/th/archive/news-clipping.
ปริศนา สุนทรไชย. (ม.ป.ป.).
ผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจแต่กำเนิด.
สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559, จาก Center
of Maternal and Newborn เว็บไซต์:
http://www.cmnb.org/cmnb.
Anek Suwanbundit.
(2557). โลหะผสมไนทินอล. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559, จาก Gotoknow
เว็บไซต์: https://www.gotoknow.org/blog/kena.
จัดทำโดย นางสาว จิรายุ คำนวล 5701210682 เลขที่ 31 sec B
เนื้อหาดีมากๆเลยครับ
ตอบลบ