วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

โครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาย่อยสลายได้






ที่มาและความสำคัญ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากไขมันมาเกาะอยู่ภายในหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งและหนาตัว ซึ่งไขมันจะพอกตัวหนาขึ้นทีน้อยทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงจนทำให้เลือดไปเลี้ยงที่หัวใจได้น้อยลง ปัจจุบันมีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ 2 วิธี คือ การขยายหลอดเลือดโดยการบอลลูนและการทำผ่าตัดต่อทางเบี่ยงหลอดเลือด แต่วิธีที่นิยมใช้ในการขยายหลอดเลือดคือ การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดโดยจะใส่บอลลูนขนาดเล็กเข้าไปในบริเวณที่มีการตีบแคบจากนั้นจะใส่ขดลวดเพื่อถ่างขยายหลอดเลือด แต่วิธีนี้จะมักจะมีข้อเสียคือ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะเกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดใหม่ได้ และขดลวดที่อยู่ภายในร่างกายของผู้ป่วยอาจจะไปบดบังการฉายรังสีเอกซเรย์(X-Ray) และการตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(MRI) ต่อมาจึงได้มีการคิดค้นโครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลายได้ ซึ่งวัสดุชนิดนี้ถือเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ และที่สำคัญวัสดุชนิดนี้สามารถย่อยสลายไปได้เองภายใน 2 ปี ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำได้

ส่วนประกอบของโครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลายได้



                โครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลาย ทำจาก Polylactic acid ซึ่งเป็นส่วนประกอบชนิดเดียวกับที่ทำไหมละลาย 



การใส่โครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลายได้


             วิธีการใส่โครงค้ำยันหลอดเลือดจะใส่เช่นเดียวกับการทำบอลลูน แต่เปลี่ยนจากขวดลวดถ่างขยายมาเป็นโครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพ ซึ่งวัสดุชนิดนี้สามารถย่อยสลายเองได้โดยมีกลไกการย่อยสลายดังนี้ 


1) ฝังโครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้ไว้ตรงรอยโรคเช่นเดียวกับขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด



2) โป่งขยายบอลลูนจนโครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้ไปกดทับรอยโรคให้แนบชิดผนังหลอดเลือด จากนั้นยาจะเริ่มละลายออกมารักษาบริเวณรอยโรค





3) เมื่อหลอดเลือดมีความคงตัวของผนังและกล้ามเนื้อของหลอดเลือด โครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาจะสลายไปเองได้ภายใน 2 ปี ทำให้หลอดเลือดกลับคืนสภาพธรรมชาติสามารถทำงานได้ดังเดิม




Clip video Abbott's Bioresorbable Vascular Scaffold







ข้อดีของโครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลายได้



1ผู้ป่วยไม่ต้องกินยาต้านการแข็งตัวของของเกล็ดเลือดหลังทำการรักษา


2) โครงสร้างค้ำยันชนิดนี้สามารถสลายไปเองได้ภายใน 2 ปี


3
) ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดหลอดเลือดตีบซ้ำใหม่ได้



ข้อเสียของโครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพเคลือบยาชนิดย่อยสลายได้

                         

                 อุปกรณ์ชนิดนี้ยังไม่สามารถนำไปรักษาในผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบบริเวณทางแยกได้ เนื่องจากโครงค้ำยันอาจเกิดความเสียหาหรือแตกได้หลังจากขยายหลอดเลือด


เอกสารอ้างอิง

หมอชาวบ้าน. (2553). โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559. จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/11025
หาหมอ. (2015). การซ่อมรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559.จากhttp://haamor.com/th/การซ่อมรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ/
สมิติเวช.(2558). นวัตกรรมใหม่ในการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559.จากhttps://www.samitivejhospitals.com/th/นวัตกรรมหลอดเลือดหัวใจ/
โรงพยาบาลรามคำแหง. (2556).  โครงค้ำยันหลอดเลือดเคลือบยาละลายได้. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559. จาก http://www.oknation.net/blog/ram1/2013/12/18/entry-1
ประชาธุรกิจออนไลน์. (2556). ท่อค้ำยันขยายเส้นเลือดเทคนิคใหม่แก้หัวใจตีบ. ค้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559. จาก http:// www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1362553248

Beaumont Hospitals. (2013). Abbott's Bioresorbable Vascular Scaffold. ค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559. จาก https://www.youtube.com/watch?v=4sBCzqFGAps


จัดทำโดย นางสาว ปภาวรินท์ ฟักแก้ว




3 ความคิดเห็น:

  1. เป็นความรู้ใหม่เลยนะเนี่ย รู้จักแค่โรคแต่ไม่รู้ว่าแนวทางการรักษาเป็นอย่างไร ดีค่ะ👍

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์และน่าสนใจค่ะ ทำให้เข้าใจวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการใส่โครงค้ำยันหลอดเลือดชีวภาพมากขึ้น และจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะใช้ในการรักษาสำหรับคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

    ตอบลบ