วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

รักษามะเร็งด้วยเครื่องอัจฉริยะ

                               รักษามะเร็งด้วยเครื่องอัจฉริยะ                                                 
       มะเร็ง (Cancer) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติเกิดเป็นก้อนเนื้อที่มีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือกระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้ผ่านทางระบบเลือด หรือระบบทางเดินน้ำเหลือง โรคมะเร็งมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดของโรคและชนิดของเซลล์มะเร็ง
         หากแบ่งระยะของโรคมะเร็ง สามารถแบ่งได้ 4 ระยะคือ
ระยะที 1: พบมะเร็งเฉพาะที่บริเวณปอดเท่านั้นไม่พบในต่อมน้ำเหลืองและยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
ระยะที่ 2: มะเร็งมีขนาดเล็กและพบแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดหรือเซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น เช่น ที่ผนังทรวงอก
ระยะที่ 3: เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณอื่นที่ห่างจากปอดและเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังผนังทรวงอกหรือบริเวณกลางช่องอกเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองอีกด้านของช่องอกหรือต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า เนื้องอกเจริญเติบโตในอีกด้านของช่องอกเช่น หัวใจ หลอดอาหารหรือมีของเหลวที่มีเซลล์มะเร็งอยู่รอบๆปอด
ระยะที่ 4: มะเร็งได้กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายเช่น ตับ กระดูก สมอง
        สำหรับการรักษามะเร็งในปัจจุบันมี4 แบบคือ การผ่าตัด การฉายรังสี การให้คีโมเคมีบำบัดและฉีดฮอร์โมนมะเร็ง ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้รักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ให้ความแม่นยำมากที่สุดในการฉายรังสีไปยังมะเร็งคือเครื่องฉายรังสีรักษาภาพนำวิถี IGRT (Image Guided Radiation Therapy) ซึ่งเป็นเทคนิคการฉายรังสีที่มีการถ่ายภาพรังสีของผู้ป่วยขณะที่นอนอยู่บนเตียงในห้องฉายรังสี เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงรูปทรง ขนาด ตำแหน่งเป็นระยะหลายๆครั้งในช่วงคอร์สของการฉายรังสีช่วยในการจัดท่าผู้ป่วยและลำรังสี(Radiation Beams) ให้รอยโรคและอวัยวะต่างๆอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับที่วางแผนและคำนวณไว้แล้วก่อนทำการฉายรังสี (Reference imaging dataset with Digital Reconstructed Radiographs [DRRs]) เพื่อให้การฉายรังสีมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้นเป็นเทคโนโลยีระบบภาพนำร่องใช้เพื่อระบุตำแหน่งที่แน่ชัดของก้อนมะเร็งก่อนที่จะทำการรักษาซึ่งตำแหน่งของก้อนมะเร็งอาจเคลื่อนที่ได้บ้างระหว่างรักษา เช่นเมื่อผู้ป่วยหายใจเป็นต้นแต่เครื่อง IGRT จะล็อคเป้าหมายที่จะฉายรังสีไว้ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบก้อนมะเร็งได้และทำให้แพทย์สามารถเน้นไปที่การใส่ใจกับปริมาณรังสีที่ใช้ในการรักษาและทำลายมะเร็งได้มากขึ้นเทคโนโลยีการรักษาโรคมะเร็งด้วยเครื่อง IGRT นี้ใช้การฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็งในระยะที่ 4 คือระยะที่มีการแพร่กระจายไปยังสมอง
  

          ขั้นตอนก่อนการฉายรังสี

1.ผู้ป่วยจะได้รับการนัดเพื่อเตรียมการรักษาด้วยเครื่องจำลองการรักษา/เครื่องจำลองภาพ(simulator)เพื่อกำหนดขอบเขตบริเวณทางเข้าของลำรังสีและเทคนิคที่จะให้การรักษาได้ถูกต้องและถ่ายภาพเอกซเรย์เพื่อกำหนดขอบเขตบริเวณที่รักษา
2.เมื่อได้ขอบเขตการรักษาที่ถูกต้องแล้วเจ้าหน้าที่จะวาดขอบเขตที่จะการรักษาลงบนผิวหนังของผู้ป่วย
3.ทำการจำลองการรักษาโดยจะใช้เวลาประมาณ15นาทีถึง1ชั่วโมงทั้งนี้ขึ้นกับอวัยวะที่เป็นโรคและเทคนิคทางการรักษา
4.แพทย์จะนัดผู้ป่วยมารับการรักษาแต่ในบ้างครั้งถ้ามีคิวว่างและเทคนิคการรักษาไม่ซับซ้อนมาก การฉายรังสีอาจเริ่มได้ในวันที่ผู้ป่วยพบแพทย์ครั้งแรก
5.โดยทั่วไปจะฉายรังสีวันละ1ครั้ง5วันต่อสัปดาห์หยุดพัก2วันแล้วเริ่มต้นใหม่เพื่อให้เซลล์ส่วนดีได้ซ่อมแซมเวียนไปจนครบปริมาณรังสีตามแพทย์กำหนดแต่ตารางการฉายรังสีอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพผู้ป่วยและการตอบสนองของโรค

        ขั้นตอนการฉายรังสี

    1.เมื่อเข้าห้องฉายรังสีผู้ป่วยจะนอนบนเตียง โดยมีเจ้าหน้าที่มาจัดท่าทางและตำแหน่งการฉายรังสีให้ถูกต้อง        

    2.เมื่อเริ่มการฉายรังสีผู้ป่วยจะอยู่ในห้องคนเดียวโดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วยผ่านกล้องวงจรปิดนอกห้องผู้ป่วยต้องนอนนิ่งในท่าเดิมนานประมาณ 5-10 นาที

    3.เจ้าหน้าที่จะควบคุมเครื่องให้ฉายรังสีด้วยเทคนิคปริมาณรังสีให้ตรงกับที่วางแผนการรักษาไว้โดยขณะที่ฉายรังสีผู้ป่วยจะไม่รู้สึกร้อนหรือเจ็บจากการฉายรังสีแต่อย่างใด

      ขั้นตอนหลังการฉายรังสี    

     เมื่อฉายรังสีเสร็จผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทำงานต่อได้และกลับมารับการรักษาใหม่ในวันรุ่งขึ้นหรือตามตารางการรักษาที่แพทย์กำหนดโดยไม่มีรังสีตกค้างในตัวเพียงแต่เซลล์ที่ได้รับรังสีจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ

       ข้อบ่งชี้ในการรักษา

    1.มะเร็งต่อมลูกหมากระยะ T1-4 N0-1 M0 ที่มุ่งหวังให้หายขาด
     T1 หมายถึงขนาดของเนื้องอกไม่เกิน 2 ซม
T2 หมายถึงขนาดของเนื้องอก2-5 ซม

T3 หมายถึงขนาดเนื้องอกมากกว่า 5 ซม

T4 หมายถึงเนื้องอกได้กระจายไปยังผิวหนัง

N1หมายถึงมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง1-3ก้อน

M0 หมายถึงมะเร็งยังไม่มีการแพร่กระจาย

  2.อาจจะใช้ในรอยโรคตำแหน่งอื่นๆตามความเหมาะสมแต่การใช้ภาพเอกซเรย์เพื่อช่วยกำหนดตำแหน่งผู้ป่วยระหว่างการฉายรังสีโดยเฉลี่ยไม่ควรเกิน2ครั้งต่อสัปดาห์
        ข้อดี
1.ทำให้ผู้ฉายรังสีสามารถเห็นภาพบนจอของจุดที่เป็นมะเร็งจนอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อรอบๆได้ชัดเจนมากขึ้นเพื่อประโยชน์สำหรับการปรับการวางตัวผู้ป่วยได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องย้ายตัวผู้ป่วยไปยังห้องรักษาแยกและหลีกเลี่ยงการเตรียมการอื่น ๆ
2.การใช้รังสีรักษาโรคมะเร็งที่มีเทคโนโลยีที่สูงนี้มีขั้นตอนอย่างรวดเร็วจึงทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำและเพิ่มความหวังแก่ผู้ป่วยมะเร็ง    

เอกสารอ้างอิง

การรักษามะเร็งโดยการฉายรังสีบนจอภาพ(IGRT).สืบค้นเมื่อ21/02/59,จากhttp://news.thaieurope.net/content/view/1771/5:URL

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.(2554).“IGRTหรือรังสีภาพนำวิถีความหวังใหม่ของผู้ป่วยมะเร็ง.สืบค้นเมื่อ21/02/59,จากhttp://www.cccthai.org/l-th/index.php/2009-06-13-08-51-38/2010-05-26-10-33-39/861-2013-06-07-07-21-27.html:URL

สถานพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ.IGRT(ImageGuidedRadiationTherapy).สืบค้นเมื่อ21/02/59,จากhttp://www.bkkcs.com/IGRT.html:URL

หมอมะเร็ง.(2557)รังสีรักษาภาพนำวิถีImageGuidedRadiationTherapy(IGRT).สืบค้นเมื่อ21/02/59,จากhttp://thai-cancer-doctor.blogspot.com/2014/12/image-guided-radiation-therapy-igrt.html:URL
จัดทำโดย นางสาวทิติยา  พรมมาบุญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น