หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
(Robotic
Surgery)
ความเป็นมาของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเริ่มถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ในปี
1985
ชื่อว่า PUMA ใช้ในการเจาะชิ้นเนื้อสมอง
ต่อมาปี 1988 ดร.นาธาน จากมหาวิทยาลัย อิมพิเรียล
แห่งลอนดอนได้พัฒนาหุ่นยนต์ที่ชื่อว่า Probot มาช่วยในการผ่าตัดผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต
หลังจากนั้นได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมาอย่างต่อเนื่อง
หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดที่ใช้ในปัจจุบันมีชื่อว่า
หุ่นยนต์ผ่าตัด da Vinci เป็นหุ่นยนต์ผ่าตัดทั่วไปตัวแรกที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยา
ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ทำการผ่าตัดได้ในทุกสาขาการแพทย์
1. ส่วนควบคุมการผ่าตัด (Surgeon Console) เปรียบเสมือน “สมอง” ของระบบการผ่าตัด โดยศัลยแพทย์จะนั่งหน้าคอนโซล บังคับควบคุมการทำงานของแขนหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับหุ่นยนต์ และมีช่องมองภาพที่เห็นจากการผ่าตัด ซึ่งจะเป็น “ภาพ 3 มิติ มีกำลังขยายภาพของกล้องส่องผ่าตัดสูงถึง 10 เท่า ทำให้การกะระยะต่างๆ ในระหว่างการผ่าตัดมีความถูกต้อง และแม่นยำมากยิ่งขึ้น
2. ตัวหุ่นยนต์ผ่าตัด
(Patient
Cart)
เปรียบเสมือน “แขน” ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
ประกอบด้วย แขนหุ่นยนต์ 4 แขน โดยเป็น แขนช่วยจับกล้อง
1 แขน และอีก 3 แขนสำหรับการติดตั้งเครื่องมือ
ที่ใช้ร่วมกับแขนหุ่นยนต์ โดนปลายเครื่องมือของแขนหุ่นยนต์จะมีลักษณะคล้ายมือ แต่ได้รับการพัฒนาให้ลดข้อจำกัดของข้อมือมนุษย์
คือสามารถหัก−งอข้อมือ / หมุนข้อมือได้อย่างอิสระ
และได้โดยรอบ ทำให้เครื่องมือสามารถเข้าไปผ่าตัดในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด หรือช่องผ่าตัดที่เล็กๆ
ได้อย่างแม่นยำ และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
3. ระบบควบคุมภาพ
(Vision
Cart)
เปรียบเสมือน “ตา” ให้แก่แพทย์ผู้ช่วยผ่าตัด
และพยาบาล เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพการผ่าตัด ภายใต้กล้องในบริเวณที่ทำการผ่าตัดภายในตัวผู้ป่วย
หลายโรงพยาบาลในประเทศไทยได้เริ่มมีการนำหุ่นยนต์มาใช้ช่วยในการผ่าตัดต่างๆ เช่น
5701210651 เลขที่ 29 sec.B
ข้อดีของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
1. แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง
1. แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง
2. ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
3. ค่าใช้จ่ายในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลไม่สูงมาก
เพราะใช้เวลาพักฟื้นระยะสั้น
4. ลดการมือสั่นจากการเมื่อยล้าในการผ่าตัดของศัลยแพทย์
5. ช่วยลดการติดเชื้อของแผลผ่าตัด และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล
ทำให้ กลับไปมีกิจกรรมปกติของชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
6. ช่วยลดอาการปวดแผลหลังการผ่าตัดได้มากกว่าการผ่าตัดส่องกล้องแบบธรรมดา
7. ให้ความแม่นยำในการผ่าตัดมากขึ้น
8. ช่วยลดเวลาในการผ่าตัดลง ด้วยความนิ่ง และความแม่นยำของการบังคับแขนหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
ข้อจำกัดของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
1. ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดค่อนข้างสูง
2. ศัลยแพทย์ที่ใช้หุ่นยนต์ต้องได้รับการอบรมจนเชี่ยวชาญ
ซึ่งใช้ระยะเวลานาน
3. ศัลยแพทย์จะขาดความรู้สึกอ่อน-แข็งจากการสัมผัสเนื้อเยื่อที่เป็นโรคกับเนื้อเยื่อปกติ
การนำไปใช้ในประเทศไทย
หลายโรงพยาบาลในประเทศไทยได้เริ่มมีการนำหุ่นยนต์มาใช้ช่วยในการผ่าตัดต่างๆ เช่น
1) หุ่นยนต์
da Vinci ซึ่งถูกนำมาใช้ในการช่วยผ่าตัดผู้ป่วยโรคหัวใจ
และผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในโรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลศิริราช
2) หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดและระบบ
Laparoscope ที่ถูกนำมาใช่ช่วยการผ่าตัดที่โรงพยาบาลปิยะเวท
แหล่งอ้างอิง
โกวิท
คำพิทักษ์. (2552). ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับช่วยการผ่าตัด.
ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2559, จาก http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1536.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
(มปป.). พัฒนาการหุ่นยนต์ผ่าตัด (Development
of Robotic Surgery). ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://pr.md.chula.ac.th/spotlight/year3/Spotlightvol3-35_2.pdf
ชิต
เหล่าวัฒนา. (มปป.). หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ใช้ทางการแพทย์ไทย.
ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://service.christian.ac.th/ahs/images/ro.pdf วิทยา มานะวาณิชเจริญ. (2555). ผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์
กลไกสมัยใหม่ตอนที่ 4. ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://haamor.com/th/
โรงพยาบาลกรุงเทพ.
(มปป.). หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery).
ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก
http://www.phukethospital.com/Thai/Health-Information/Robotic-Surgery.php
Thaiclinic
News. (มปป.). FDA ให้การรับรองการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด.
ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http:22www.thaiclinic.com2news_robot.html
ค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http:22www.thaiclinic.com2news_robot.html
5701210651 เลขที่ 29 sec.B
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น