กล่องวางขารักษ์โลก
เป็นนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นใหม่ ทำมาจากวัสดุเหลือใช้
และมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ คือ กล่องกระดาษและกระดาษหนังสือพิมพ์ ใช้สำหรับวางขาผู้ป่วยที่ผ่าตัดกระดูกขา
เพื่อให้ผู้ป่วยยกขาสูง ประดิษฐ์คิดค้นโดยคุณบุญทัน สุขสอาด พยาบาลเทคนิค 6 หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูก
โรงพยาบาลปทุมธานี
จุดเริ่มต้นของกล่องวางขารักษ์โลก
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลมักจะมาด้วยปัญหากระดูกขาหักจากอุบัติเหตุ
ทั้งกระดูกขาส่วนบนและส่วนล่าง
การรักษาส่วนใหญ่จะต้องได้รับการผ่าตัด และเมื่อผู้ป่วยกลับมาพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วย การพยาบาลที่สำคัญคือ
การให้ผู้ป่วยยกขาสูง ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้หมอนมารองใต้ขาของผู้ป่วย และใช้ถุงทราย ถุงน้ำเกลือ หรือผ้าห่ม มาช่วยประคองขาผู้ป่วยไว้ แต่ก็พบปัญหาที่ตามมาคือ
- เท้าบิดออกด้านนอก (external rotation)
- ปลายเท้าตก (foot drop)
การรักษาส่วนใหญ่จะต้องได้รับการผ่าตัด และเมื่อผู้ป่วยกลับมาพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วย การพยาบาลที่สำคัญคือ
การให้ผู้ป่วยยกขาสูง ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้หมอนมารองใต้ขาของผู้ป่วย และใช้ถุงทราย ถุงน้ำเกลือ หรือผ้าห่ม มาช่วยประคองขาผู้ป่วยไว้ แต่ก็พบปัญหาที่ตามมาคือ
- เท้าบิดออกด้านนอก (external rotation)
- ปลายเท้าตก (foot drop)
ทางผู้คิดค้นนวัตกรรมจึงมีความคิดที่ประดิษฐ์กล่องวางขารักษ์โลกขึ้น
เพื่อแก้ไขปัญหาทางการพยาบาลนี้
ลักษณะเด่นและประโยชน์ที่ได้รับของกล่องวางขารักษ์โลก
· ทำจากวัสดุที่หาง่าย
และต้นทุนต่ำ (ประมาณ 100 บาท) คือ กล่องกระดาษและกระดาษหนังสือพิมพ์
· ใช้วางขาผู้ป่วยที่ได้การผ่าตัดกระดูกขา
ให้ผู้ป่วยยกขาสูง
· สามารถทำได้หลากหลายสีสันสวยงาม
และหลากหลายขนาด
·
ขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา
ขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา
· มีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อน
แหล่งอ้างอิง
บุญทัน
สุขสะอาด. (2551). นวัตกรรมทางการพยาบาล
กล่องวางขา รักษ์โลก. ค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.pth.go.th/km/news_km/3.%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%20%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%20ORTHO.doc.
ศศิธร
แสนศักดิ์. (2554).
การพยาบาลออร์โธปิดิกส์. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2559,
จาก http://118.175.6.118/downloads/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A2554/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%98%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C.pdf
อำนวย
จิระสิริกุล. (มปป). กระดูกหัก. สืบค้นเมื่อ 23
กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81/#article109
ผู้จัดทำ
นางสาวธนพร
ประเสริฐทรัพย์
ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ
ตอบลบดีมากเลยค่ะ
ตอบลบขอบคุณสำหรับสาระดีๆนะคะ
ตอบลบเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากค่ะ
ตอบลบ