การฉีด Platelet Rich Plasma (PRP)ความเป็นมา
- การฉีด Platelet Rich Plasma หรือ PRP ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี 2530 โดยนำเกล็ดเลือดของตัวเองมาใช้ในการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด การผ่าตัดกระดูกใบหน้า ศัลยกรรมตกแต่งและเวชศาสตร์ความงาม ในปัจจุบันนี้การรักษาทางการแพทย์มีความก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้น จึงเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ใช้เซลล์ของร่างกายในการรักษาโรคที่มีการบาดเจ็บของเอ็น กล้ามเนื้อและข้อต่างๆ เพื่อให้อาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อหายและฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
- PRP คือ เกล็ดเลือดที่มีความเข้มข้นมากกว่าเกล็ดเลือดในกระแสเลือดถึง 3 เท่า เกล็ดเลือดนี้ได้จากการนำเลือดของผู้ป่วยมาผ่านกระบวนการปั่นเอาส่วนที่เป็นน้ำเหลือง แล้วฉีดกลับเข้าไปยังส่วนที่ได้รับบาดเจ็บและอักเสบ ซึ่งเมื่อเกล็ดเลือดเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายก็จะกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อชนิดต่างๆ ได้หลากหลาย รวมทั้งการกระตุ้นให้มีการสร้าง fibroblast และสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมาทดแทนเนื้อเยื่อในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บและอักเสบ
- การที่ใช้เซลล์จากตัวของผู้ป่วยเองจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย อีกทั้งการรักษาโดยวิธีนี้ยังเป็นที่นิยมทั้งในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เป็นต้น
การรักษาด้วย Platelet Rich Plasma
- ใช้สำหรับการรักษาซ่อมแซมข้อต่อ เนื้อเยื่ออ่อน เอ็นหรือกล้ามเนื้อที่มีอาการบาดเจ็บและอักเสบ ดังนี้
- เอ็นอักเสบ ที่ข้อศอกด้านนอก (Tennis elbow)
- เอ็นหน้าเข่าอักเสบ (Jumper’s knee)
- เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles tendinosis)
- รองช้ำ (Plantar fasciitis)
- เอ็นอักเสบข้อพับเข่าด้านหลัง เอ็นอักเสบสะโพก (Gluteal tendons
การบาดเจ็บกล้ามเนื้อ
- กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstring Muscle)
- กล้ามเนื้อน่อง (Calf)
ส่วนอื่นๆ
- รองช้ำกระดูกสะโพกด้านนอก (Trochanteric bursitis)
- เอ็นประคองเข่าด้านในฉีก (Knee MCL tears)
- โรคข้อเข่าเสื่อม และอักเสบ (Knee osteoarthritis)
- โรคข้อสะโพกเสื่อม และอักเสบ (Hip Osteoarthritis)
- โรคกระดูกสันหลังส่วนคอและเอวเสื่อม (Spondylosis)
ขั้นตอนการใช้
1. Assessment
- การซักถามประวัติการบาดเจ็บ รวมทั้งโรคประจำตัวตลอดจนการตรวจร่างกายด้วยการหาตำแหน่งที่บาดเจ็บหรือการตรวจด้วย ultrasound X ray และ Magnetic resonance imaging (MRI) และการซักถามประวัติการรักษา ถ้ามีการรับประทานยาในกลุ่มแก้อักเสบ Nonsteroidal anti-inflammatory medications (NSAID's) จะต้องให้หยุดยากลุ่มนี้ 10 วัน เพราะยากลุ่มนี้จะไปรบกวนไขกระดูกในการผลิต PRP
2. ขั้นตอนการเตรียมเลือด PRP
- นำเลือดของผู้ป่วยเองมาในปริมาณสูงสุด 20 ซีซี จากนั้นนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่น centrifuge เพื่อให้เลือดเกิดการแยกชั้น ซึ่งจะใช้เวลาในการปั่นประมาณ 15 นาที จากนั้นก็จะได้ PRP ที่เป็น plasma สีเหลืองใสแยกชั้นออกมาอยู่ด้านบน
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ทำการฉีด PRP เข้าตรงต่ำแหน่งที่บาดเจ็บ โดยปริมาณที่ใช้จะขึ้นอยู่กับแผนการรักาาของแพทย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ 2-8 ซีซี และก่อนทำการฉีดจะต้องหาต่ำแหน่งในการฉีด ซึ่งบางครั้งจะต้องใช้ Ultrasound เข้ามาช่วยในการต่ำแหน่งในการฉีด
ข้อดี
- ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเลือด
- ไม่กระทบต่อระบบทางเดินอาการและไต
- ทำให้แพทย์สามารถลดการใช้ยาต้านการอักเสบในผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นหรือใช้ยาเกินไป
- ไม่มีผลข้างเคียงต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย
- ช่วยให้การหายของแผลที่เกิดขึ้นที่เอ็นหรือกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย
ข้อห้ามใช้
1.
การติดเชื้อที่สามารถแพ่เข้ากระแสเลือด
ซึ่งหากนำมาฉีดอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงได้
2.
ปัญหาเรื่องดรคเลือดต่างๆ
เช่น เม็ดเลือดแตกง่าย การแข็งตัวผิดปกติ
3.
โรคมะเร็ง
4.
แพ้ยาชา
5.
ผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
*
ผลข้างเคียงการฉีด PRP นั้นมีน้อย
เนื่องจากเป็นเลือดของผู้ป่วยเองจึงแทบไม่มีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียง
*
ข้อควรระวัง คือ ในผู้ป่วยที่มีไข้อยู่ไม่ควรฉีด
ต้องรอให้หายก่อนเพราะอาจมีเชื้อโรคอยู่ในกระแสเลือดได้
อ้างอิง
- ความก้าวหน้าทางการแพทย์. (2014). การฉีดPRP (Platelet Rich Plasma) รักษาโรคทางกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อ. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559, จาก บทความความก้าวหน้าทางการแพทย์ เว็บไซต์: http://thaihappyhealth.com/articles/happy-health-news/prp-injection-for-skeletal-disease/
- ชัชพล ธนารักษ์. (2016). ฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP: Platelet Rich Plasm) อีกทางเลือกลดบาดเจ็บจากกีฬา. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559, จาก โรงพยาบาลเวชธานีลาดพร้าว เว็บไซต์: http://www.vejthani.com/Th/Article/391/ฉีดเกร็ดเลือดเข้มข้นPRPPlateletRichPlasmอีกทางเลือกลดบาดเจ็บจากกีฬา
- เวชศาสตร์การแพทย์กระดูกและข้อ. (2015). เกล็ดเลือดตัวเอง รักษาอาการปวด. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559, จากศูนย์กระดูกและข้อ เว็บไซด์: http://www.chirohealthbangkok.com/th/PRP.php
- ศิริ ศิริมานะพงษ์. (2012). การรักษาด้วย Platelet-Rich plasma ในทางโรคทางกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559, จาก ความรู้ทางการแพทย์ โรงพยาบาลพญาไท เว็บไซด์: http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/10/541/th
- สุรพงศ์ อำพันวงษ์. (2014). นวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ รักษาโรคข้อด้วยพลาสมา. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559, จากสถาบันกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 2 อินเตอร์เนชันแนล เว็บไซด์: https://ascannotdo.wordpress.com/tag/platelet-rich-plasma-prp/
จัดทำโดย นางสาวบุษญากร ญาธัญ
5701211115 Section B เลขที่ 49
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น