ริดสีดวงทวาร เกิดจากการที่หลอดเลือดดำหรือเนื้อเยื่อรอบทวารมีความดันสูงทำให้หลอดเลือดมีการโป่งพองออก
โดยเฉพาะเมื่อเวลาเบ่งอุจาระ โรคนี้มักเกิดกับผู้ที่มีลักษณะนิสัยการถ่ายผิดปกติ
เช่น ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง ไม่ออกกำลังกาย ทำให้ลำไส้ขยับตัวน้อย รับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย
มีการเพิ่มของความดันภายในช่องท้องเป็นเวลานาน หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีครอบครัวเป็นโรคริดสีดวงทวาร
ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไป โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน เส้นเลือดบริเวณทวารหนักไม่มีลิ้น
รวมทั้งคนที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
การรักษาริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงทวารสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการดูแลตนเองตนเอง ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีกากใยมาก
ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว อาจให้ยาระบายเมื่อมีอาการท้องผูก รักษาอาการท้องเสีย และการได้รับยาระงับอาการ ได้แก่ ยาสอดทวารหนัก ยาขี้ผึ้งทาทวารหนัก และยารับประทาน แต่ไม่ควรใช้เป็นเวลานานเพราะจะทำให้ร่างกายขับถ่ายเองไม่ได้
นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง
ได้แก่ การฉีดยาเข้าไปในตำแหน่งที่เลือดออก เพื่อทำให้หัวของริดสีดวงยุบลง
ซึ่งมักจะทำในริดสีดวงทวารระยะที่ 1 ซึ่งหัวริดสีดวงจะอยู่ภายในรูทวารหนักและมักมีเลือดออก การใช้ยางรัด (rubber
band ligation) รัดที่โคนหรือหัวของริดสีดวงที่โผล่ออกมา
เพื่อให้หัวของริดสีดวงฝ่อและหลุดออกไปได้เอง
วิธีนี้จะทำในผู้ที่มีริดสีดวงในระยะที่ 2 ซึ่งหัวริดสีดวงที่อยู่ภายในจะโผล่ออกมาเมื่อถ่ายอุจจาระและหดกลับเองได้
ที่มาของเครื่องตัดเย็บอัตโนมัติ (Procedure for Prolapse and Hemorrhoid : PPH)
การผ่าตัดริดสีดวง ระยะที่3และ4สามารถใช้วิธีการผ่าตัดทั่วไป
โดยการดึงริดสีดวงกลับเข้าไปในข้างในรูทวาร
หรือตัดติ่งเนื้อทิ้ง วิธีนี้จะทำให้มีแผล และเจ็บปวดเมื่อนั่งทับ
อาจแสบเมื่อเบ่งถ่ายอุจจาระ ในปัจจุบันจึงมีการนำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการผ่าตัด
นั่นก็คือ เครื่องผ่าตัดอัตโนมัติ (Procedure for Prolapse and Hemorrhoid, PPH) ทำงานโดยตัดติ่งเนื้อทวารหนักส่วนเกินและเย็บดึงส่วนที่เหลือขึ้นไปในทวารหนัก
โดยผ่าตัดบนเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้เจ็บปวดน้อยลง ลดภาวะแทรกซ้อน
และลดระยะเวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาล
ส่วนประกอบของเครื่อง PPH ประกอบด้วย
1. เครื่องมือตัดเย็บหัวริดสีดวง 33mm Haemorrhoidal Circular Stapler
2. เครื่องมือที่ใช้ในการร้อยด้าย Suture Threader
3. เครื่องมือสอด-ถ่างทวารหนัก Circular Anal Dilator
4. เครื่องมือช่วยเย็บ Purse String Anoscope
2. เครื่องมือที่ใช้ในการร้อยด้าย Suture Threader
3. เครื่องมือสอด-ถ่างทวารหนัก Circular Anal Dilator
4. เครื่องมือช่วยเย็บ Purse String Anoscope
การทำงานของเครื่องตัดเย็บอัตโนมัติ
1. ใส่เครื่องมือสอดถ่างเข้าไปทางทวารหนักโดยดันติ่งของริดสีดวงกลับเข้าไปในทวารหนักประมาณ
4 เซนติเมตร
2. ใส่เครื่องมือช่วยเย็บเข้าไปตรงกลางของเครื่องสอดถ่างเพื่อดันริดสีดวงอีกด้าน
3. ใช้ด้ายร้อยริดสีดวงอีกด้านแล้วทำอีกข้างเหมือนกันจะได้ด้ายโยงกันทั้งสองข้างและมีปลายด้ายยาวออกมาด้านนอก
4. นำเครื่องช่วยเย็บออก
5. ใส่เครื่องมือตัดเย็บหัวริดสีดวงเข้าไปและหมุนให้หัวของเครื่องตัดเย็บเลยขึ้นไปบนเส้นด้าย
6. ดึงด้ายด้านนอกให้ตึงแล้วติ่งของริดสีดวงข้างในจะเข้าหากัน
7. หมุนหัวเครื่องตัดเย็บริดสีดวงลงมาให้ตัดติ่งของริดสีดวง
แล้วนำเครื่องมือออก
ข้อดีของการใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ
1. ตัดริดสีดวงออกได้หมดและทำให้ทวารหนักโล่ง
2. ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบปกติ
เพราะตัดในตำแหน่งที่สูงกว่าแนวเส้นประสาทรับความรู้สึกทำให้เจ็บปวดน้อยลง
และใช้เวลาน้อยกว่าผ่าตัดปกติ
3. ไม่มีแผลภายนอก ไม่ต้องดูแลแผล และหลังผ่าตัดไม่ต้องแช่ก้นด้วยน้ำอุ่น
4. พักรักษาตัวในโรงพยาบาลไม่นาน ประมาณ 1-2 วัน และกลับบ้านได้เร็วขึ้น
3. ไม่มีแผลภายนอก ไม่ต้องดูแลแผล และหลังผ่าตัดไม่ต้องแช่ก้นด้วยน้ำอุ่น
4. พักรักษาตัวในโรงพยาบาลไม่นาน ประมาณ 1-2 วัน และกลับบ้านได้เร็วขึ้น
ข้อจำกัดของการใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ
1. รูทวารหนักต้องกว้างพอที่จะใส่เครื่องมือได้
2. ผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อบางกว่า
1.0 มิลลิเมตรหรือหนากว่า 1.5 มิลลิเมตร
ไม่สามารถใส่เครื่องตัดเย็บอัตโนมัติได้ เพราะเครื่องมือมีขนาดเดียว
ข้อเสียของการใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ
1. ถ้าผ่าตัดโดนกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก จะทำให้มีอาการปวดและกลั้นอุจจาระไม่ได้
1. ถ้าผ่าตัดโดนกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก จะทำให้มีอาการปวดและกลั้นอุจจาระไม่ได้
2. ค่าใช้จ่ายสูง
อาณัติ วณิชชากร. (2016). การรักษาริดสีดวงแบบใหม่
ปลอดภัย โดยใช้เครื่องตัดเย็บอัตโนมัติ.
สืบค้นเมื่อ 24
มีนาคม 2559, จาก http://www.mccormick.in.th/
แหล่งอ้างอิง
เดลินิวส์. (2010).
เครื่องตัดเย็บริดสีดวงอัตโนมัติ. สืบค้นเมื่อ 24
มีนาคม 2559,
จาก http://m.dailynews.co.th/
ธเนศ พัวพรพงษ์. (ม.ป.ป.). ริดสีดวงทวาร. สืบค้นเมื่อ 24
มีนาคม 2559, จาก www.thaiclinic.com
เนื้อหามีประโยชน์มากๆครับ
ตอบลบเข้าใจง่ายมากเลยค่ะ
ตอบลบดีมากเลยครับ
ตอบลบขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะคะ
ตอบลบความรู้ใหม่สุดยอดมากเลยคับ
ตอบลบเนื้อหาดีมากค่ะ เป็นอีกหนึ่งการรักษาที่น่าสนใจค่ะ
ตอบลบเนื้อหาดีมากครับ
ตอบลบเข้าใจง่าย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย
เนื้อหาดีมากเลยค่ะ
ตอบลบมีประโยชน์เนื้อหาเข้าใจง่ายมากค่ะ
ตอบลบได้ความรู้ใหม่ๆเยอะมากเลยค่ะ
ตอบลบเป็นความรู้ใหม่ที่มีประโยชน์และน่าสนใจมากค่ะ
ตอบลบขอบคุณความรู้ดีๆนะคะ
ตอบลบขอบคุณความรู้ดีๆนะคะ
ตอบลบขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ
ตอบลบขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ
ตอบลบน่าสนใจค่ะ เป็นความรู้ใหม่ๆ
ตอบลบน่าสนใจค่ะ เป็นความรู้ใหม่ๆ
ตอบลบเป็นความรู้ดีมากเลยค่ะ ขออนุญาตแชร์นะคะ
ตอบลบ