การขยายหลอดเลือดบริเวณที่ตีบตัน
เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ “บอลลูน” ในการขยายหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน”
(Balloon Angioplasty)
การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นและเทคนิคการทำมีการพัฒนาอย่างเร็วมาก นอกจากบอลลูนที่เป็นอุปกรณ์หลักในการขยายหลอดเลือดแล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นและนำมาใช้ร่วมกับบอลลูนเพื่อทำให้ผลการรักษาดีขึ้น เช่น “ขดลวด” (stent) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัย และลดปัญหาเรื่องการตีบตันซ้ำในบริเวณที่ทำบอลลูนไปแล้วได้ ปัจจุบันร้อยละ 70-80 ของการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด แพทย์มักจะใส่ขดลวดร่วมด้วย ซึ่งจะดีกว่าการสวนหัวใจแบบเดิม ก็คือ การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจหรือการฉีดสี (Coronary Artery Angiography : CAG) เป็นการใช้สายสวนขนาดเล็กใส่เข้าไปตามหลอดเลือดแดงก่อนถึงหัวใจเล็กน้อย จากนั้นแพทย์จะใช้สารทึบรังสีเอ็กซเรย์ (หรือ“สี”) ฉีดเข้าทางสายสวนนั้นไปที่หลอดเลือดหัวใจเพื่อตรวจสอบดูว่า มีการตีบแคบหรือตันของหลอดเลือดหรือไม่ถ้าพบมีการตีบแคบหรือตัน
การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นและเทคนิคการทำมีการพัฒนาอย่างเร็วมาก นอกจากบอลลูนที่เป็นอุปกรณ์หลักในการขยายหลอดเลือดแล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นและนำมาใช้ร่วมกับบอลลูนเพื่อทำให้ผลการรักษาดีขึ้น เช่น “ขดลวด” (stent) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัย และลดปัญหาเรื่องการตีบตันซ้ำในบริเวณที่ทำบอลลูนไปแล้วได้ ปัจจุบันร้อยละ 70-80 ของการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด แพทย์มักจะใส่ขดลวดร่วมด้วย ซึ่งจะดีกว่าการสวนหัวใจแบบเดิม ก็คือ การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจหรือการฉีดสี (Coronary Artery Angiography : CAG) เป็นการใช้สายสวนขนาดเล็กใส่เข้าไปตามหลอดเลือดแดงก่อนถึงหัวใจเล็กน้อย จากนั้นแพทย์จะใช้สารทึบรังสีเอ็กซเรย์ (หรือ“สี”) ฉีดเข้าทางสายสวนนั้นไปที่หลอดเลือดหัวใจเพื่อตรวจสอบดูว่า มีการตีบแคบหรือตันของหลอดเลือดหรือไม่ถ้าพบมีการตีบแคบหรือตัน
ข้อบ่งชี้ในการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ
เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก
เจ็บนานมากกว่า 5 นาที เหนื่อยง่าย เหงื่อแตก ใจสั่น ปวดร้าวไปกราม แขน
วูบเหมือนจะเป็นลม หัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะตรวจเบื้องต้นถึงโอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบตันจากอาการเจ็บหน้าอกใช่หรือไม่
มีความรุนแรงเพียงใดและตรวจเพิ่มเติมด้วยการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ การวิ่งสายพานและอัลตร้าซาวด์หัวใจ
เมื่อประมวลผลแล้วมีข้อบ่งชี้ของหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
จึงวินิจฉัยขั้นสุดท้ายด้วยการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ เพื่อวางแผนการรักษาขั้นต่อไป
เนื่องจากอัตราของผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ
มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจในอนาคตและโอกาสเสียชีวิตฉับพลันสูง
ต้องรับการรักษาที่ตรงจุดเพื่อป้องกันโอกาสการเสียชีวิตจากโรคหัวใจหรือป้องกันโรคหัวใจวายที่อาจเกิดขึ้นได้
การเตรียมตัวก่อนการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน
1. แพทย์จะเจาะหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบด้านขวาของผู้ป่วยเพื่อสอดใส่สายสวน ดังนั้นผู้ป่วยควรอาบน้ำทำความสะอาดบริเวณขาหนับและต้นขาทั้ง 2 ข้าง
2. ควรงดอาหารและน้ำดื่มอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงก่อนการสวนหัวใจ อาจดื่มน้ำได้บ้างเมื่อต้องรับประทานยา เมื่อกระหายน้ำอาจอมน้ำกลั้วคอ แต่ไม่ควรกลืนลงไป
3. ควรหยุดยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Warfarin) อย่างน้อย 3 วันก่อนวันสวนหัวใจ
ขั้นตอนการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน
การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ
โดยท่อเล็กๆ ที่มีบอลลูนติดอยู่จะถูกใส่ผ่านไปตามหลอดเลือดจากบริเวณขา
หรือแขนจนถึงบริเวณหลอดเลือดหัวใจที่มีการตีบตัน จากนั้นบอลลูนจะถูกทำให้โป่งออก
แล้วไปเบียดผนังหลอดเลือดทำให้บริเวณที่ตีบตันถ่างขยายออกได้
ในอดีตโอกาสที่จะเกิดการตีบตันซ้ำของหลอดเลือดที่ทำการขยายไปแล้วมีค่อนข้างมาก
แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาขดลวดที่สามารถใส่ไว้ในหลอดเลือดที่ตีบตันได้
และขดลวดรุ่นใหม่ๆ จะมีการเคลือบยา
ทำให้ผลของการถ่างขยายหลอดเลือดที่ตีบตันดียิ่งขึ้น
การปฏิบัติตัวหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน
1. ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำและรับประทานอาหารได้ควรดื่มน้ำมาก
ๆ เพื่อไล่สารทึบรังสีให้ออกจากร่างกาย
2. นอนราบบนเตียงประมาณ 4-6 ชั่วโมง
สามารถพลิกตัวได้โดยไม่งอขาหนีบ หรืองอได้ไม่เกิน 30 องศา
เพราะอาจทำให้เลือดออกจากแผล
ข้อดี-ข้อเสียของการทำ PTCA & Stent
ข้อดี
- มีความเสี่ยงน้อยกว่าการผ่าตัดบายพาสต่อเส้นเลือดหัวใจ
แต่ได้ผลเท่ากัน
- ป้องกันการตีบซ้ำของเส้นเลือดได้ดีกว่าการใช้บอลลูนเพียงอย่างเดียว
- ไม่มีแผลผ่าตัด
ข้อเสีย
ปัญหาในการทำบอลลูนในช่วงแรกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 2 อย่าง คือการเกิดการปิดของเส้นเลือดทันที (Abrupt Closure) หลังจากการทำ PTCA ซึ่งเกิดได้ประมาณ
3-6 % และอาจจำเป็นต้องผ่าตัดบายพาสต่อเส้นเลือดหัวใจเป็นกรณีฉุกเฉินถ้าแก้ไขไม่ได้ ซึ่งพบได้ประมาณ 1% ของผู้ป่วยที่ทำ PTCA และเกิดการตีบใหม่ (Restenosis) ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 30-40
% และมักจะเกิดภายหลังจากการทำ
PTCA ไปแล้วในช่วง 3-6 เดือนแรก
แหล่งอ้างอิง
กฤติยา ศรีประเสริฐ. (2559). Coronary
arterioplasty or coronary angioplasty (PCI/PTCA).
แหล่ง
ที่มา:http://www.si.mahidol.ac.th/office_h/medrecord/codeunit/file/คู่มือการสรุปและให้รหัส
หัตถการ. 22 กุมภาพันธ์ 2559
คลินิกโรคหัวใจ
โรงพยาบาลเอกชล. (2559). คลินิกโรคหัวใจ (Cardiology Clinic). แหล่ง
ที่มา:http://www.aikchol.com/a1/index.php?option=com_content&view=article&id=104:2012-
04-24-07-14-41&catid=112:2012-04-24-07-04-08&Itemid=470. 22 กุมภาพันธ์ 2559
โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา. (2559). การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด
(Percutaneous
Transluminal Coronary Angioplasty หรือ PTCA & Stent). แหล่ง
ที่มา:https://www.bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services-th/heart-center-
th/item/997-percutaneous-transluminal-coronary-angioplasty-th.html.
22 กุมภาพันธ์ 2559
โรงพยาบาลพญาไท. (2559). การใช้ขดลวดเคลือบยา
ร่วมกับทำบอลลูน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ. แหล่ง
ที่มา:http://www.phyathai.com/medicalcenterdetail_article/1/60/PYT1/th.22 กุมภาพันธ์
2559
ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลรามคำแหง. (2559). ศูนย์หัวใจโรงพยาบาล รามคำแหง.
แหล่งที่มา:http://www.ram-
hosp.co.th/inform_heart.html. 22 กุมภาพันธ์ 2559
จัดทำโดย
นางสาวกาญจณา สมศรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น