วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตรวจหาโรค

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตรวจหาโรค



การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging , MRI) เป็นการตรวจหาโรคโดยการใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มข้นสูงในการสร้างภาพเสมือนจริงขึ้นมา เพื่อตรวจหาความผิดปกติในร่างกายโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องความหนาของร่างกายจึงสามารถสร้างภาพได้ทุกส่วนและทุกระนาบ ทำให้สามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วแม่นยำและมีประสิทธิภาพ


MRI สามารถตรวจอะไรได้บ้าง
สมอง : สมองขาดเลือด, เนื้องอก, สาเหตุการชัก, การอักเสบติดเชื้อของเนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง
กระดูกและไขสันหลัง : หมอนรองกระดูกเลื่อน
, เนื้องอกไขสันหลัง, การติดเชื้อ, การบาดเจ็บของไขสันหลัง
หลอดเลือด : ไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี
เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ : การฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบริเวณข้อกระดูก
อวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกราน : มดลูก
, ต่อมลูกหมาก, กระเพาะปัสสาวะ
ทรวงอก : หัวใจ
, ช่องท้อง, ท้อง, เต้านม
การตวรจพิเศษอื่น :
MR Perfusion, MR spectroscopy






ข้อบ่งชี้ในการตรวจ MRI

- คนที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ควรตรวจ MRI ช่องท้อง
- คนในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง ควรตรวจ
MRI สมอง
- โรคลมชัก ควรตรวจ
MRI สมอง
- ปวดศรีษะ
, วิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน, คลื่นไส้อาเจียน, ไม่มีแรง, เสียการทรงตัว, ปากเบี้ยว,
หนังตาตก, ลิ้นแข็ง ควร           ตรวจ MRI สมอง
- ปวดหรือชาตามแขนขาและลำตัว, กระตุก, ควบคุมปัสสาวะ, อุจจาระไม่ได้ ควรตรวจ MRI กระดูสันหลัง
- หายใจหอบเหนื่อย, ไอเรื้อรัง, เจ็บหน้าอก, กลืนน้ำหรืออาหารลำบาก ควรตรวMRI ทรวงอก
- ตัวตาเหลือง, คลื่นไส้อาเจียน, เจ็บบริเวณชายโครง, ท้องโตอย่างรวดเร็ว ควรตรวจ MRI ช่องท้อง ท่อทางเดินน้ำดีและถุงน้ำดี
- ปวดท้องน้อยเป็นประจำ, มีเลือดออกจากช่องคลอด, ปัสสาวะเป็นเลือด, ปัสสาวะขัด ควรตรวจ MRI อุ้งเชิงกราน
- ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อ ควรตรวจ MRI ของข้อนั้นๆ



การเตรียมตัวเพื่อตรวจ MRI

- ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร
- ในผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือต้องให้ยานอนหลับ (ในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกหรือยาสลบและผู้ป่วยที่ตรวจเกี่ยวกับช่อง   ท้องควรงดน้ำและอาหารทางปากอย่างน้อง 6 ชั่วโมงก่อน ตรวจ)
- ระหว่างการตรวจไม่ควรขยับเปลี่ยนท่า
- ใช้เครื่องอุดหูที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ให้เพื่อป้องกันเสียงดัง
- ถอดเครื่องประดับออกให้หมด
ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดใส่โลหะในร่างกายต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบ
- ควรเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนตรวจเพราะใช้เวลาในการตรวจนาน
- กดสัญญาณขอความช่วยเหลือเมื่อรู้สึกมีอาการผิดปกติ



กรณีที่ได้รับยาสลบ

- งดน้ำและอาหารทางปากอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- ผู้ป่วยฉุกเฉินหรือมีภาวะใดๆ ที่ทำให้อาหารผ่านกระเพาะอาหารเช้า ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบ
- ในผู้ป่วยที่ต้องดมยาสลบขณะตรวจ ต้องลงชื่อยินยอมรับการตรวจถ้าลงชื่อเองไม่ได้ต้องให้ผู้ดูแลโดยชอบธรรมลงชื่อแทน
- หากมีอาการผิดปกติหรือป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจ 1 วัน หรือในวันที่ตรวจ
- หลังจากตรวจเสร็จ ผู้ป่วยจะอยู่ในความดูแลของทีมรักษาประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการ



ข้อดีของการตรวจ MRI


- ผลกระทบต่อร่างกายน้อยเพราะไม่ใช้คลื่นรังสี
- ได้ภาพเสมือนจริงชัดเจน
- ตรวจหาโรคได้รวดเร็วและแม่นยำ
ตรวจได้โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสีทำให้มีความปลอดภัยสูง
- มีความสะดวกสบายคือเมื่อตรวจเสร็จแล้วสามารถกลับได้เลย



ข้อควรระวัง!

- ควรหลีกเลี่ยงผู้ป่วยที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย
- ผู้ป่วยที่เตรียมการผ่าตัดสมอง ตา หู ที่ต้องฝังเครื่องมือทางการแพทย์ไว้
- ควรหลีกเลี่ยงการแต่งหน้าเช่น อายชาโดว์ มาสคาร่า เพราะเครื่องสำอางอาจมีส่วนผสมของโลหะทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอม   ในภาพได้
- คนที่ได้รับอุบัติเหตุทางตาที่สงสัยว่ามีโลหะชิ้นเล็กๆ กระเด็นเข้าตา
- หลีกเลี่ยงผู้ป่วยที่กลัวการอยู่ในที่แคบ
- ปัจจุบันยังไม่พบว่า MRI มีผลต่อทารกในครรภ์ ถ้าจำเป็นต้องครวจควรเว้น 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เพื่อความปลอดภัย
- บุคคลที่ทำอาชีพเกี่ยวข้องกับโลหะ


บรรณานุกรม

ประชาชื่น MRI. (มปป). MRI ต่างจาก X-RAYS อย่างไร. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559, จาก เว็บไซต์: ประชาชื่น MRI เว็บไซต์: http://www.mrithailand.com/index.phpmodules=article&parent_id=3&id=38
สาขารังสีวิทยา ภาครังสีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2549). การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559, จาก โรงพยาบาลศิริราช เว็บไซต์: http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/radiology/diagRadiology/knowMRI.html
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. (มปป). เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI). ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559, จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เว็บไซต์: http://www.siphhospital.com/th/medical-services/treatment-center/diagnostic-therapeutic-center/mri.php
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์. (มปป). การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559, จาก โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เว็บไซต์: http://www.saintlouis.or.th/index.php/interesting/news-actvities-s/80-mri
         โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊คเชียงราย. (2551). เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559, จาก โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊คเชียงราย เว็บไซต์: http://www.overbrook-hospital.com/index.php?option=com_content&view=article&id=101:-mri-&catid=1:2010-09-12-14-38-15




 ผู้จัดทำ : นางสาวอัชนิดา พันสุภะ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น